วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย (สมาคมสมาพันธ์ TFIT)

ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 โดยการรวมตัวของกลุ่มสมาชิกสมาคมอุตสาหกรรม ICT ด้านต่างๆ ดังนี้
1. สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT)
2. สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(CAT)
3. สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย(ATCI)
4. สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(ATSI)
5. สมาคมเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ(INA)
6. สมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทย(ATCM)
7. สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TSEP)
8. สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA)
9. สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย(TAGGA)
10. สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย ( ELAT )
11. สมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์เกมไทย ( TGA )
12. สมาคมดิจิทอลคอนเทนท์ไทย ( DCAT )

โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

AUN

ASEAN University Network

แรงขับและแรงต้าน Cloud computing

Off-premise cloud: economical cost saving + scalability
VERSUS
On-premise cloud: security+IT personal resistance due to control&job loss

การพูดเพื่อไม่สร้างประโยชน์

พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย
ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
--หลวงปู่ทวด

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การแปลหนังสือภาษาอังกฤษ

สำหรับตำราวิชาการถ้าแปลคำต่อคำเพื่อคงไว้ซึ่งลีลาการใช้คำพูดของต้นฉบับอาจจะทำให้อ่านยาก ควรพยายามแปลให้อ่านรู้เรื่องโดยเกลาประโยคใหม่ตามความจำเป็น ชื่อเฉพาะก็เขียนคำอ่านเป็นภาษาไทยและใส่ภาษาอังกฤษไว้ในวงเล็บ การใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตฯ ก็ต้องรู้จักอลุ่มอล่วยทั้งหมดทั้งปวงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการอ่านได้นั่นเอง

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของ"ธรรมะ"

1.ธรรมชาติ คือ สิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามธรรมดา เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ต้นไป สัตว์ เหล็ก คอมพิวเตอร์
2.ธรรมดา คือ ความเป็นจริงของธรรมชาติหรือความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น ต้นไม้เกิดจากเมล็ดหรือการต่อกิ่งโตด้วยปุ๋ยอากาศแสงแดดและน้ำ มนุษย์เกิดขึ้นมาก็ต้องตายในที่สุด เหล็กที่อุณภูมิห้องจะมีสภาพเป็นของแข็ง คำว่าสัจธรรมมักเป็นคำพ้องของคำว่าธรรมชาติและบางครั้งของธรรมดา
3.ธรรมจริยา คือ มนุษย์เป็นธรรมชาติและอยู่ภายใต้กฎธรรมดา มนุษย์ที่ต้องการชีวิตที่ดีก็ต้องปฏิบัติถูกต้องสอดคล้องกับธรรมชาติและธรรมดานั่นคือข้อพึงปฏิบัติของมนุษย์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติและธรรมดาเพื่อให้ได้ประโยชน์ เช่น การใช้ไฟซึ่งเป็นธรรมชาิติและเกิดจากเชื้อเพลิงและมีความร้อนซึ่งเป็นธรรมดา เมื่อนำมาใช้หุงข้าวโดยไม่ลวกตนเองก็คือข้อปฏิบัติที่เรียกว่าธรรมจริยา หน้าที่ ศีล สมาธิ ปัญญา ล้วนเป็นธรรมจริยา
4.ธรรมเทศนา คือ ความจริงที่มีอยู่แล้วถูกค้นพบโดยพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนต่างๆ ที่เป็นสื่อไปถึงความหมายของธรรมะใน 3 ความหมายแรก
--ปอ.ปยุตโต

ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบโดยสมบูรณ์

คนจนเห็นคนรวยมีทุนมาแต่กำเนิด ถ้าคนรวยทำ 1 คนจนที่มีโยนิโสมนัสสิการก็จะต้องทำให้มากกว่า 1 --ปอ.ปยุตโต

สร้างความสุขในการทำงาน

ให้มองการทำงานเป็นการฝึกพัฒนาตน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ต้องฝึก งานยิ่งยากยิ่งได้ฝึกมาก สนุกกับการเรียนรู้จากการทำงาน(คิดได้แบบนี้ก็เกิดวิริยะหรือความเพียร เกิดขันติคืออดทนเพื่อแ้ก้ปัญหาให้ได้ เกิดสมาธิเพราะชอบงานที่ทำเพราะเห็นประโยชน์ของงานและถูกกับนิสัย และเกิดปัญญาคือเห็นชัดแจ้งในวิธีการแก้ปัญหา) เห็นความแตกต่างในคน บางคนเข้ามาแบบสว่าง บางคนเข้ามาแบบมืด--ปอ.ปยุตโต

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คาถาเวลานอนไม่หลับ

หายใจเข้าออกภาวนาว่า"หลับก็ช่างไม่หลับก็ช่าง" แม้ไม่หลับพอรุ่งเช้าก็ไม่เครียดเพราะถือว่าได้พักใจแล้วแม้กายอาจไม่พัก--ปอ.ปยุตโต

เวลาแต่ละขณะอย่างให้ผ่านไปเปล่า

ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรบางอย่างบ้างไม่มากก็น้อย--ปอ.ปยุตโต

มนุษย์มิได้ประเสริฐโดยกำเนิด

มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก ฝึกแล้วจะเประเสริฐได้

เหตุปัจจัย

สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ต้องการผลอย่างไรก็ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้องของผลนั้นๆ

ปัญญาและทรัพย์

พระพุทธเจ้าตรัสว่าปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ ผู้มีทรัพทย์แต่ขาดปัญญาจะรักษาทรัพทย์ไว้ไม่ได้ ตรงกันข้าม ผู้มีปัญญาแต่ไม่มีทรัพทย์สามารถหาทรัพย์ได้

ทรัพย์ยิ่งใช้ยิ่งหมด ปัญญายิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม

ทรัพย์สินเงินทองเป็นเครื่องเอื้อความสุขแต่มิใช่เป็นเครื่องประกันความสุข

การตอบแทนพระคุณพ่อแม่ที่ถูกต้อง

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้ให้บิดามารดาขี่ไว้บนบ่าเลี้ยงดูท่านอย่างดีจนสิ้นชีพก็ยังไม่ใช่ถือว่าเป็นการตอบแทนพระคุณท่าน การตอบแทนพระคุณท่านที่ถูกต้องคือการทำให้บิดามารดาให้เกิดศรัทธา ศีล จาคะ(เสียสละบำเพ็ญประโยชน์) และปัญญา(เข้าใจหลักธรรม) โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

โรคสมาธิสั้น

หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่สมาธิเสียไป อยู่ไม่นิ่ง สามารถสังเกตได้ 3 ลักษณะ คือ 1. สมาธิสั้น ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิได้นาน เช่น อ่านหนังสือ วาดภาพ 2. อยู่ไม่นิ่ง ซุกซน ซึ่งจะสร้างปัญหาในการดูแลให้กับพ่อ แม่ ครู 3. หุนหันพลันแล่น ซึ่งเกิดจากเด็กไม่มีสมาธิ จึงแสดงพฤติกรรมไปโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อยากทำอะไรก็จะทำเลย และหากโดนขัดใจ ก็จะแสดงพฤติกรรมหงุดหงิด และจะเกิดเป็นปัญหากับคนรอบข้างตามมาเพราะความไม่เข้าใจ ซึ่งการวินิจฉัยจะต้องดูหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน ไม่สามารถสรุปได้เลยเพียงแค่ดูอาการ 3 ประการนี้ ควรสังเกตอาการและตัดสินใจในช่วงวัยประถมจะเหมาะสมที่สุด หากเป็นในช่วงวัยอนุบาล ความซุกซนอยู่ไม่นิ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ

โรคสมาธิสั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ส่วนระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับว่ามีเรื่องอื่นแทรกซ้อนหรือไม่เพราะบางรายพบโรคอื่นโดยเฉพาะโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ไม่สามารถเขียนได้ หรือเรียนรู้ช้า บางรายจึงต้องแก้ไขปัญหาหลายๆอย่างไปพร้อมกัน นอกจากยาแล้วอาจต้องใช้การปรับพฤติกรรมร่วมด้วย--ไทยรัฐ

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พระพุทธเจ้าสรรเสริญ

คนที่ก้าวหน้าในธรรม แต่ีไม่สรรเสริญคนที่รักษาระดับธรรมไว้ได้ ไม่ต้องพูดถึงคนที่ถดถอยในธรรม--ปยุตโต

สังคมที่สุขสบาย

สังคมที่สุขสบายมักโน้มเอียงไปในทางประมาท ผู้นำต้องหาอุบายมาทำให้คนในชุมชนไม่ประมาท--ปยุตโต

งาน

งานยิ่งยากยิ่งทำให้ฝึกตนได้มาก ถ้าถอยจะไปพร้อมความทุกข์

วิธีทำงานให้มีความสุขและมีประสิทธิภาพคือทำงานอย่างเห็นคุณค่าต่อชีวิตต่อสังคมบนพื้นฐานของวิริยะ จิตตะ(อุทิศใจให้) วิมังสา(ทำงานด้วยปัญญา) มิใช่ทำเพราะเป็นเงื่อนไขของการได้ค่าตอบแทน

--ปยุตโต

บทความที่เกี่ยวข้อง: http://drjiw.blogspot.com/2010/08/blog-post_27.html

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

หลักนิติศาสตร์ vs หลักรัฐศาสตร์

หลักนิติศาสตร์ คือ หลักที่ว่าด้วยกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ นำมาใช้เมื่อเกิดความไม่สงบ หรือนำมาใช้ในการตัดสินการกระทำความผิดของบุคคลในรัฐาธิปัตย์ หลักนิติศาสตร์ เป็นหลักการที่ถูกต้อง เพราะมีตัวบทกฎหมาย อันได้ชื่อว่าเป็นกฎ รองรับอยู่ จึงเป็นการบังคับแบบตรงไปตรงมาตามตัวบทกฎหมาย

หลักรัฐศาสตร์ คือ หลักการปกครองบ้านเมือง และประชาชนในรัฐาธิปัตย์ให้อยู่ได้อย่างสงบสุข เป็นหลักที่ต้องอาศัยความเมตตาเป็นที่ตั้ง เช่นการเจรจาแทนที่จะจับกุมทันที ต่างจากหลักนิติศาสตร์ ที่อาศัยอุเบกขา ความเป็นกลางเป็นที่ตั้ง การแก้ปัญหาโดยหลักรัฐศาสตร์จึงหมายถึงการพยายามแก้ปัญหาให้ทุกฝ่ายมีความพอใจ  และให้ความขัดแย้งและปัญหาทางการเมืองยุติลงโดยให้บุคคลและสังคมเสียหายน้อยที่สุด  การแก้ปัญหาเยี่ยงนี้อาจจะนำไปสู่ความสงบสุขและความยุติธรรมอย่างแท้จริง  แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของลายลักษณ์อักษรและหลักการกฎหมาย  ในบางครั้งอาจจะเป็นการละเมิดความถูกต้องแต่ก็เป็นการละเมิดที่นำไปสู่ผลประโยชน์โดยรวม เมื่อศาลวินิจฉัยด้วยหลักรัฐศาสตร์จะได้ยินวลีว่า"ศาลเห็นสมควรให้..."

เช่นคดีซุกหุ้นหนึ่ง ถามว่าถ้าพูดถึงตัวบทกฎหมายแล้ว ผิดหรือไม่ ผิดแน่นอน ถ้าใช้หลักนิติศาสตร์ ฟันโทษลงไปเลย แต่ในขณะนั้น ศาลใช้หลักรัฐศาสตร์นำหลักนิติศาสตร์ โดยมองว่า หากลงโทษตามหลักนิติศาสตร์แล้วบ้านเมืองจะเสียหาย จะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมาก ศาลจึงใช้หลักรัฐศาสตร์นำนิติศาสตร์ อย่างไรก็ตามการใช้หลักรัฐศาสตร์อย่างฟุ่มเฟือยจะเป็นผลเสียหรือการสร้างศรีธนชัยให้เกิดขึ้นอย่างมากมายในบ้านเมือง

อีกตัวอย่างคือ การจลาจลที่เกิดขึ้นนั้นทุกคนมีความผิด  แต่ถ้าจะต้องมีการลงโทษตามตัวบทกฎหมายก็จะไม่มีวันสิ้นสุดและมีแต่จะนำไปสู่ความขัดแย้งเสียหายยิ่งขึ้น  จึงต้องแก้ปัญหาด้วยหลักรัฐศาสตร์ด้วยการให้ทุกอย่างจบสิ้นลง  ทั้งๆ ที่หลายอย่างที่กระทำนั้นเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย  ตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ  คำสั่ง 66/2523 และ 65/2525 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เข้ามามอบตัวนั้น  เป็นการใช้หลักรัฐศาสตร์เข้ามาแก้ปัญหา  เท่ากับเป็นการยกเว้นความผิดทั้งหมด  และในการนี้เป็นการใช้อำนาจฝ่ายบริหารซึ่งศาลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย  นี่คือการใช้หลักรัฐศาสตร์ที่นำไปสู่ผลบวก

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณธุรกิจ

  • ผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นต้องไม่ทำธุรกิจแข่งกับบริษัทที่ตนบริหารหรือถือหุ้น
  • บริษัทต้องไม่ให้ผู้บริหารกู้ยืมเงิน

ภาพวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์


วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คำสอนหลวงปู่ดุลย์

  • วาจาไม่ควรเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น ไม่คล้อยตามที่จะพูดโจมตีผู้อื่น
  • ถ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และการฆ่าสัตว์ที่จะเป็นอาหารนั้นไม่ได้ทำเพื่อเจาะจงให้เรา และได้มาโดยบริสุทธิ์ ก็สามารถฉันเนื้อสัตว์ได้ ถ้าจะฉันเจอาจทำให้การปฏบัติธรรมติดขัดได้เพราะหาฉันได้ยาก มิเช่นนั้นฉันได้ก็ควรอนุโมทนาด้วย
  • เมื่อความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นได้อย่างไร
  • อย่าติดกับนิมิต การเห็นนิมิตเป็นจริง แต่นิมิตที่ถูกเห็นไม่จริง ให้เห็นการเห็นนิมิตเพื่อกำจัดนิมิตเพื่อก้าวหน้าในขั้นต่อไป
  • ไม่ทิ้งไม่เห็น ทิ้งหมดจึงเห็น

ยุงมองคนยังไง

ยุงรู้ว่ามีคนจากการดมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากนั้นติดตามคนด้วยกลิ่นตัวคน

น้ำท่วมประกันรับผิดชอบไหม

กรณีรถยนต์
ถ้าเป็นประกันชั้น 1 และในคู่มือกรมธรรม์ไม่เขียนว่ายกเว้นภัยธรรมชาติ ประกันต้องจ่ายค่าซ่อมให้เรา
แต่ถ้าเขียนไว้ว่ายกเว้น แต่เราขับรถประมาทตกลงไปตรงที่น้ำท่วมแบบนี้เกิดจากความประมาทไม่ใช่ภัยธรรมชาติ ประกันก็ต้องรับผิดชอบ

กรณีอสังหาฯ
ถ้าทำประกันวินาศภัยเฉพาะอัคคีภัย ก่อนอุทกภัยมา รีบจ่ายเบี้ยเพิ่มเพื่อให้คุ้มครองน้ำท่วมก็ทำได้

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความกังวล

ความกังวลคือการใช้จินตนาการในทางที่ผิด

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วม

ทำให้เครียดเพราะความไม่ชัดเจนว่าน้ำจะมาหรือไม่มาท่วมหมู่บ้าน ทำให้ต้องอยู่บ้านตั้งรับตลอดเวลา ไปไหนไม่ได้

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

วลีของ Steve Jobs

  • You can't just ask customers what they want and then try to give that to them. By the time you get it built, they'll want something new.
  • It's really hard to design products by focus groups. A lot of times, people dont know what they want until you show it to them.
  • That's been one of my mantras - focus and simplicity. Simple can be harder than complex: You have to work hard to get your thinking clean to make it simple. But it's worth it in the end.
  • The only way to do great work is to love what you do. If you haven't found it yet, keep looking. Don't settle.

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รายงานน้ำท่วมรายวัน

ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.)

http://disaster.go.th/dpm/flood/flood.html

วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ธรรมลังการ

ไม่มีการประดับตกแต่งใดจะงามเท่าการประพฤติธรรม เรียกว่า ธรรมลังการ

ความตายเป็นสิริมงคล

คนระลึกถึงความตายก็หมดปัญหาที่จะไปคิดฆ่าใคร คิดเข็ญคนอื่น คิดเบียดเบียนคนอื่น คิดอิจฉาพยาบาทคนอื่น

รู้มากยากนาน

คนที่รู้มากทำให้ลังเลมากเรียกว่ารู้มากยากนาน

คนมีบุญ

เป็นสุขเมื่อตอนตื่น สดชื่นเมื่อตอนสาย สบายเมื่อตอนเพล เยือกเย็นเมื่อตอนค่ำ ปฎิบัติธรรมเมื่อตอนกลางคืน

ศาสนาพุทธ

ไม่ใช่ศาสนาแห่งการชวนเชื่อ แต่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลและปัญญา

บัณฑิต

ผู้เป็นบัณฑิตย่อมไม่ดูถูกคนแม้ตนเองจะรู้มากกว่าและย่อมไม่เป็นผู้โอ้อวด --ละครทงอี

วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

Peer review

Peer-reviewed papers are papers passed through a process of evaluation involving qualified individuals within the relevant field. Two types of peer reviews apply :
  1. Anonymous peer review (Blind review): reviewers do not know the identity of author
  2. Open peer review: opposite to anonymous peer review

IEEE conference naming and sponsorship policies

Sponsorship policy
   http://www.ieee.org/portal/pages/iportals/aboutus/whatis/policies/p10-1.2.xml#10.1.2
that defines conference naming
   http://www.ieee.org/portal/pages/iportals/aboutus/whatis/policies/p10-1.16.17.18.xml#10.1.16

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

ตั้งมาตรฐานให้สูงไว้ แม้ทำไม่ได้ก็มีมาตรฐานในระดับหนึ่งแล้ว

“Aim for the moon. If you miss, you may hit a star.”

Lemma

Lemma is a proven proposition which is used as a stepping stone to a larger result rather than as a statement in-and-of itself.--wikipedia

Predicate logic

Predicate logic is the generic term for symbolic formal systems like first-order logic, second-order logic, many-sorted logic or infinitary logic. This formal system is distinguished from other systems in that its formulae contain variables which can be quantified. Two common quantifiers are the existential ∃ ("there exists") and universal ∀ ("for all") quantifiers. The variables could be elements in the universe under discussion, or perhaps relations or functions over that universe.--wikipedia

Discrete mathematics

Discrete mathematics is the study of mathematical structures that are fundamentally discrete rather than continuous. In contrast to real numbers that have the property of varying "smoothly", the objects studied in discrete mathematics – such as integers, graphs, and statements in logic – do not vary smoothly in this way, but have distinct, separated values. Discrete mathematics therefore excludes topics in "continuous mathematics" such as calculus and analysis. Discrete objects can often be enumerated by integers. More formally, discrete mathematics has been characterized as the branch of mathematics dealing with countable sets (sets that have the same cardinality as subsets of the natural numbers, including rational numbers but not real numbers).--wikipedia

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

การประเมินคุณภาพการศึกษา

  • สกอ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) ทำหน้าที่กำหนดกรอบมาตรฐานในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (นั่นคือกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติหรือ TQF) ซึ่งทำทุกปีโดยมหาลัยเป็นผู้ประเมินตนเองตามกรอบมาตรฐานที่กำหนดเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก
  • สมศ (สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)) ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ทำทุก 5 ปี
จากกรณีที่คณะทำงานกลุ่มคณาจารย์สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ยื่นหนังสือขอยกเลิก TQF สกอ.ยันไม่ยกเลิก ระบุถ้าไม่มีจะยิ่งฉุดรั้งมาตรฐานอุดมศึกษาไทยในสายตานานาชาติ และ นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า คงยกเลิก TQF ไม่ได้ เพราะจะทำให้อุดมศึกษาไทยไม่สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้ และที่ว่า TQF กับการประเมินของ สมศ. ซ้ำซ้อนกันก็ไม่เป็นความจริงแต่เป็นการประเมินเป็นคนละส่วนที่มีความสอดคล้องและต้องทำไปพร้อมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น

องค์การมหาชน

  • องค์การมหาชนปรากฏในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ 
  • ความมุ่งหมายของการมีองค์การมหาชนขึ้นมา ก็เพื่อให้เป็นองค์กรของรัฐอีกประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ แต่เป็นนิติบุคคลต่างหากตามกฎหมาย มีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการและการงบประมาณของตนเอง และดำเนินการตามวัตถุประสงค์เฉพาะที่กำหนดไว้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง องค์การมหาชนซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่ไม่ใช่หน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจนั้น ก็เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เพราะมีความเป็นอิสระและมีอำนาจตัดสินใจได้ทั้งในด้านการบริหาร การจัดการ และการเงินของสำนักงาน ทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน ให้ลุล่วงตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการบริหารตามสายการบังคับบัญชา ของระบบราชการ
  • กิจการที่อยู่ในวัตถุประสงค์ขององค์การมหาชนนั้นอาจมีหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำกิจการเกี่ยวกับเศรษฐกิจหรือหรือสังคม เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ การศึกษา (เช่น มหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนมัธยม) วัฒนธรรม (เช่น พิพิธภัณฑ์บางแห่ง) การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของชุมชน หรือทางด้านเศรษฐกิจ
  • ต้องเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โดยมีสิทธิหน้าที่ สามารถกระทำนิติกรรม มีทรัพย์สิน และงบประมาณที่เป็นของตน
  • ดำเนินกิจกรรมเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งอาจเพื่อประโยชน์ในทางปกครอง หรือการอุตสาหกรรมและการค้า
  • องค์การมหาชนอาจสร้างขึ้นได้โดยรัฐหรือโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ได้ มีระยะเวลาที่กำหนดให้ดำเนินการก็ได้ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรผู้สร้าง 
  • จะต้องมีการกำหนดกิจกรรมให้กระทำโดยเฉพาะ
  • ตัวอย่างขององค์การมหาชนคือ สมศ หรือสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

สิ่งที่ควรจัดให้เกิดขึ้นกับ พนง ในองค์กร

บริษัท McKinsey ได้ทำปัจจัย 4 ที่พนักงานใฝ่ฝันในองค์กร ดังนี้ 1. Trust: พนง.ต้องรู้สึกว่าเขาเชื่อในองค์กรที่ทำ -บริษัทต้องมีภาพลักษณ์เป็นที่ประจักษ์ 2. Hope: พนง.ต้องรู้สึกว่าเขามีความหวังในการทำงาน - บริษัทต้องไปต่อได้ ไม่ง่อนแง่น การเลื่อนตำแหน่งดูมีความหวัง 3. Competent: พนง.ต้องการรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ - งานต้องพอดีความสามารถ เขาจะไม่ฟุ้งซ่านว่าทำงานนี้ไม่ได้ 4. Worth: พนง.ต้องการรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า - ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว --ถอดรหัสธุรกิจ คุณพอใจ พุกกะคุปต์

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

อัตราเงินเฟ้อ

ดูจากอัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภค ที่คอลัมน์รองสุดท้ายของตารางใน
http://www.indexpr.moc.go.th/price_present/cpi/data/index_47.asp?list_month=12&list_year=2553&list_region=country

M.Phil.

An M.Phil. is a lesser degree than a Doctor of Philosophy (Ph.D.), but in many cases it is considered to be a more senior degree than a taught Master's degree, as it is often a thesis-only degree. --wikipedia

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

อนุญาโตตุลาการ (arbitrator)

คือ บุคคลที่สามซึ่งอาจเป็นบุคคลเดียวหรือหลายคนที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันให้ทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาเรียกว่า "สัญญาอนุญาโตตุลาการ" ในการดำเนินกระบวนพิจารณาอนุญาโตตุลาการจะเปิดโอกาสให้คู่กรณีพิพาทแสดงข้อเรียกร้องและข้อต่อสู้พร้อมทั้งนำพยานหลักฐานต่าง ๆ มาสืบเพื่อรับฟังข้อเท็จจริง ตลอดจนสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาตามวัน เวลา และสถานที่ตามที่คู่กรณีพิพาทตกลงกันได้ รวมทั้งคู่กรณีพิพาทสามารถตกลงกันกำหนดวิธีพิจารณาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพื่อใช้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาแก่ข้อพิพาทได้ และเมื่อรับฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในการดำเนินกระบวนพิจารณาแล้ว อนุญาโตตุลาการจึงมีคำวินิจฉัยข้อพิพาทได้

การอนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาททางแพ่ง โดยคู่กรณีตกลงกันไว้ด้วยการทำเป็นสัญญาเรียกว่า "สัญญาอนุญาโตตุลาการ" มีใจความเป็นการเสนอข้อพิพาทของตนที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชึ้ขาด ไม่ว่าจะมีการกำหนดตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการไว้ในคราวนั้นด้วยหรือไม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการจึงเกิดขึ้นด้วยความยินยอมพร้อมใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายด้วยการมอบอำนาจให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยข้อพิพาทดังกล่าว ส่วนการมอบอำนาจเช่นว่าอาจกระทำกันโดยตกลงกันในสัญญาอนุญาโตตุลาการนั้นเลยหรือในสัญญาอื่น ๆ ต่างหาก เช่น สัญญาที่คู่สัญญานั้นตกลงทำขึ้นเพื่อกิจการระหว่างกันและจะถือว่าข้อสัญญาต่างหากนี้นับเข้าเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการเช่นกัน --wikipedia

วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

ค่านิยมของคนไทย

ตามเขาว่าเก่ง ทำเองว่าโง่
--รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข

Grounded theory

Grounded theory (GT) is a systematic methodology in the social sciences involving the generation of theory from data. It is mainly used in qualitative research, but is also applicable to quantitative data.

Grounded theory is a research method that operates almost in a reverse fashion from traditional research and at first may appear to be in contradiction to the scientific method. Rather than beginning with a hypothesis, the first step is data collection, through a variety of methods. From the data collected, the key points are marked with a series of codes, which are extracted from the text. The codes are grouped into similar concepts in order to make them more workable. From these concepts, categories are formed, which are the basis for the creation of a theory, or a reverse engineered hypothesis. This contradicts the traditional model of research, where the researcher chooses a theoretical framework, and only then applies this model to the phenomenon to be studied.--wikipedia

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

อาจารย์ควรเป็นทั้งตาน้ำและลำธาร

ตาน้ำคือทำวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อถ่ายทอดให้ผู้เรียน ส่วนลำธารคือการสอนหนังสือส่งผ่านความรู้จากหลายๆ แหล่งให้ผู้เรียน

การรับรองคุณภาพการศึกษาของสถาบันการศึกษา

สาขาวิชาที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ควรต้องผ่านการตรวจประเมินคุณภาพโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) มิเช่นนั้นจะไม่มีอะไรเพื่อสร้างความมั่นใจให้ตลาดแรงงานถึงรับรองคุณภาพของบัณฑิตที่ผลิตออกไป

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

กลอนเตือนสติ

--หนังสือการเมืองแบบหมาๆ โดย ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทำไมหลายคนชอบคบคนที่มีเพื่อนเยอะ

และไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนที่มีเืพื่อนน้อย เหตุผลคือการคบคนที่มีเื่พื่อนเยอะทำให้ตนรู้สึกว่าได้รับการยอมรับจากคนกลุ่มใหญ่นั่นเอง เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการการยอมรับ ทำนองเดียวกับการคบคนที่มีอำนาจทำให้ตนเองรู้สึกปลอดภัยได้รับการยอมรับไปพร้อมๆ กับคนที่มีอำนาจนั้นด้วย

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

มะเร็ง


  • อาจเกิดจากพันธุกรรมหรือสัมผัสกับสารพิษเช่นยาฆ่าแมลง จึงอย่าสัมผัสมาก ในดินยังมีแบคทีเรียที่ทำให้เป็นมะเร็งในกระเพาะได้ ต้องกินยาฆ่าเชื้อ และควรล้างผักให้สะอาดเสมอ
  • ขั้นแรกต้องตัดก้อนเนื้อมะเร็งก่อนจากนั้นอาจบำบัดด้วยเคมี จะหายขาดในกรณีมะเร็งเม็ดเลือด แต่มะเร็งประเภทอื่นต้องรักษาร่วมกับวิธีอื่น
  • เคมีบำบัดจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลง ผู้ป่วยจึงควรอยู่ห่างแหล่งเชื้อโรคเช่นสถานที่คนพลุกพล่าน
  • ถ้ามีอาการไข้สูงถึง 38 องศาเมื่อไรให้รีบพบแพทย์ ดังนั้นผู้ป่วยควรซื้อปรอทวัดไข้ติดตัวไว้
  • หรือถ้ามีจ้ำเลือดตามผิวหนัง เป็นเพราะเกร็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย ให้รีบพบแพทย์
--คลื่นวิทยุจุฬา

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

R&D

งานวิจัยและพัฒนา คือ งานวิจัยที่มุ่งเน้นนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ในการพัฒนากระบวนการผลิต กระบวนการบริการ การพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาชุมชน การจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยไม่มุ่งหวังที่ผลงานตีพิมพ์ ดังนั้นนักวิจัยควรทำงานวิจัยตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย--สกว.


R คือ การวิจัย
D คือ การนำผลการวิจัยมาพัฒนาให้เป็นรูปธรรม เช่น เป็นต้นแบบในระดับต่างๆ จนถึงระดับ Scale up prototype และระดับ Massive products ที่มีการนำไปใช้งานจริง หรือการนำผลการวิจัยไปพัฒนากระบวนการผลิตการบริการ

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โยนิโสมนัสิการ

คือคิดอย่างแยบคายเพื่อมองหาความจริงและหรือมองหาประโยชน์ให้ได้จากทุกสิ่งทุกสถานการณ์ที่เจอ อย่าแค่มองเพื่อให้เกิดความยินดียินร้ายให้ชอบและเกลียดให้สุขและทุกข์ ตัวอย่างเช่น มองหาประโยชน์จากความตายทำให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ -- ปอ ปยุตโต

ปัญญา

คือการรู้แจ้ง รู้จริง ไม่ใช่รู้ผิวเผิน --ปอ ปยุตโต

อาชีพ

มีสองประเภท
  1. เพื่อตอบสนองกฏธรรมชาติคือปัจจัยสี่ เช่น อาชีพขายอาหาร เสื้อผ้า ขายที่อยู่อาศัย แพทย์
  2. เพื่อตอบสนองกฏมนุษย์เพื่อให้ทำกฎธรรมชาติได้สำเร็จ เช่น รับราชการ
--ปอ ปยุตโต

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

LDL vs HDL

  • โคเลสเตอรอล (Cholesterol) แบบ LDL เป็นไขมันเลว จะสะสมในผนังหลอดเลือดด้านในทำให้อักเสบ แตก ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในที่สุด
  • โคเลสเตอรอลแบบ HDL เป็นไขมันดี
  • ไตรกลีีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) จะทำให้ LDL มีขนาดเล็กลง ส่งผลให้เกาะผนังเลือกได้ดีขึ้น ทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดมากขึ้น ดังนั้นมีไตกลีเซอร์ไรด์มากๆ ไม่ดี

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

นับถือเทวดาถูกต้องไหมตามหลักศาสนาพุทธ

พุทธศาสนาไม่ได้ล้มล้างความเชื่อเรื่องเทวดา แต่ท่าทีในการนับถือเทวดาที่ถูกต้องคือไม่ไปอ้อนวอนเอาอกเอาใจ เพราะเทวดา เช่นพระพรหม เปรียบเสมือนท่านผู้ใหญ่ผู้มีคุณธรรมความดีเป็นผู้มีภูมิธรรมถูมิปัญญาสูงกว่าผู้อื่นโดยเฉลี่ย จึงเคารพนัำบถือได้เหมือนนักถือผู้ใหญ่ผู้มีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา มีการแผ่เมตตาให้เทวดาเหมือนสรรพสัตว์ทั้งหลาย แต่ไม่ไปหวังผลดลบรรดาลจากท่าน บทสวดชุมนุมเทวดาแท้จริงคือการเรียกเมตตาเทวดาซึ่งถือว่ายังเป็นปุถุชนมีโลภโกรธหลง ว่าถึงเวลาฟังธรรมแล้วขอให้มาร่วมฟังธรรมด้วยกัน--ปอ ปยุตโต

ความกรุณาที่จริงจัง

ถ้าไม่มีความกรุณาที่จริงจังก็จะไม่มีความเพียรพยายามที่จะช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์--ปอ ปยุตโต

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทำอะไรอย่าเกินตัว

คนยืนเขย่งไม่มั่นคงฉันท์ใด การทำอะไรเกินตัวก็ไม่มั่นคงฉันท์นั้น เช่น การใช้จ่ายที่เกินฐานะจะทำให้ขาดความมั่นคงทางการเงิน

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กำลัง

กำลังในทางพระพุทธศาสนาคือความเป็นอิสระ หมายถึงเป็นอิสระจากกิเลส เช่น ไม่ขี้เกียจก็จะสามารถทำงานลุล่วงไปได้เป็นการแสดงว่าเรามีกำลังจริง และการมีกำลังที่ยิ่งกว่าคือการสามารถไปช่วยเหลือผู้อื่นได้ ดังเช่น พระพุทธเจ้า หลังจากเป็นอิสระจากกิเลสแล้วก็มีกำลังมหาศาลในการออกเผยแพร่ศาสนาไปในวงกว้าง--ปอ ปยุตโต

คนแข็งแรงคนอ่อนแอ

คนแข็งแรงทุกข์ยากสุขง่าย คนอ่อนแอสุขยากทุกข์ง่าย--ปอ ปยุตโต

การแสดงความคิดเห็นอย่างถูกต้อง

การแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่แสดงตามใจเรื่อยเปื่อย ต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ดังนั้นผู้แสดงความคิดเห็นที่มีประสิทธิภาพสมเหตุสมผลต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้ทำการศึกษามาเป็นอย่างดี มิเช่นนั้นจะเป็นกานแสดงความชอบหรือไม่ชอบมากกว่า--ปอ ปยุตโต

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คนรู้ธรรมกับมีธรรม

คนรู้ธรรม คือ คนที่รู้ธรรมะแต่อาจปฎิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
คนมีธรรม คือ คนปฎิบัติธรรม
บางคนรู้ธรรมแต่ไม่มีธรรม
--พุทธทาส

วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

สมถกรรมฐาน 40 กอง

http://www.vimokkha.com/krammathan.htm

จำเก่ง VS. คิดเก่ง

"จำเก่ง"ทำได้แค่ที่คนอื่นทำไว้  "คิดเก่ง"ทำได้ดีกว่าคนอื่นไม่มีที่สิ้นสุด

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

อุปกิเลส 16

กิเลส หรือเครื่องเศร้าหมองของจิต มีตัวหลักอยู่ 3 ตัว คือ
  • โลภะ คือ ความโลภ ความอยากได้ ความเพลิดเพลินยินดี ความยึดเหนี่ยวทางใจ
  • โทสะ คือ ความโกรธ ความขัดเคืองใจ ความเศร้า ความเสียใจ ความกลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย
  • โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง อวิชชา
กิเลส 3 ตัวนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดอกุศลทั้งมวล เปรียบเสมือนมารดาให้กำเนิดบุตร (เรียกว่าเป็นอกุศลเหตุ หรืออกุศลมูล) และได้แตกลูกแตกหลานออกมาอีก เรียกว่าเป็น อุปกิเลส 16 โดยพระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก เล่ม 4 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ วัตถูปมสูตร อธิบาย อุปกิเลส ๑๖ ดังต่อไปนี้

[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหนเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
  1. อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง] (คืออยากได้ของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน โดยไม่ถูกทำนองคลองธรรม - ธัมมโชติ) 
  2. โทสะ [พยาบาท ปองร้ายเขา] 
  3. โกธะ [โกรธ] 
  4. อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้ มีโอกาสเมื่อไหร่เอาคืน] 
  5. มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน ไม่รู้จักบุญคุณคน] 
  6. ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า ไม่รู้ที่สูงที่ต่ำ] (คือการตีเสมอผู้อื่น คิดว่าเราก็แน่เหมือนกัน - ธัมมโชติ) 
  7. อิสสา [ริษยา] 
  8. มัจฉริยะ [ตระหนี่ ไม่ใช้แม้ในสิ่งจำเป็น] 
  9. มายา [มารยา เจ้าเล่ห์] 
  10. สาเฐยยะ [โอ้อวด] (คือการพูดยกตนด้วยสิ่งที่ไม่เป็นจริง - ธัมมโชติ) 
  11. ถัมถะ [หัวดื้อ ว่านอนสอนยาก ยึดความคิดตัวเองมากจนเกิดปัญหาเมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น] 
  12. สารัมภะ [แข่งชิงดีชิงเด่น] 
  13. มานะ [ถือตัว สำคัญว่าตนสูงยิ่งใหญ่] 
  14. อติมานะ [ดูหมิ่นผู้อื่นว่าต้อยต่ำ ไม่เก่ง น่าเกลียด] 
  15. มทะ [มัวเมากับรูป รส กลิ่น เสียง อบายมุข] 
  16. ปมาทะ [เลินเล่อ] (ความประมาท ความเผลอ ความขาดสติ - ธัมมโชติ) 
เหล่านี้เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต จิตที่มีอุปกิเลสเป็นจิตอกุศลและเป็นบาป
--http://www.oknation.net/blog/Nirvana-Thailand/2008/10/10/entry-1

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

การปล่อยวาง

คือไม่ทุกข์ไปกับสิ่งไม่ชอบใจ แต่ไม่ได้หมายความว่านิ่งเฉยวางทุกอย่างไม่พยายามทำอะไรทั้งสิ้น ที่ถูกคือต้องพยายามทำให้ดีให้ถูกให้ควรที่สุด จากนั้นหากผลไม่เป็นไปตามต้องการต้องปล่อยวางไม่ไปทุกข์กับมัน

ความก้าวร้าว

คือการแสดงออกเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นให้เป็นทุกข์

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

เหตุใดบรรพชิตไม่ควรเป็นคนรับใช้ของคนอื่น

พระพุทธเจ้าสอนว่าบรรพชิตไม่ควรเป็นคนรับใช้ของคนอื่นเพราะไม่เหมาะสมและอาจโดนสั่งให้ทำกรรมชั่ว

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นผู้มีศีลหรือปัญญา

  • มีศีลหรือไม่ รู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน
  • มีปัญญาหรือไม่ รู้ได้ด้วยการสนทนากัน

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

สิ่งรบกวนขณะเจริญภาวนา

เช่น ขณะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิแล้วได้ยินเสียงหรือมีลมมากระทบ จิตน้อมไปฟังเสียงหรือรู้ลมแล้ว ให้ไปกำหนดรู้ว่ามีเสียงมากระทบหูหรือลมกระทบผิว อย่าบังคับจิตให้มาอยู่ที่การเดินหรือลมหายใจ มิเช่นนั้นจะไม่ใช่วิปัสสนา

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

หายเบื่อ

เบื่อ เพราะติดเบื่อ ถ้าทิ้งเบื่อ จะหายเบื่อ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

กุศลวิตก 3

  1. เนกขัมมสังกัปป์ (หรือ เนกขัมมวิตก) คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะหรือโลภะ
  2. อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา ซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ ผู้มีพยาบาทวิตกมักนำความโกรธมาคิดบ่อยๆ
  3. อวิหิงสาสังกัปป์ (หรือ อวิหิงสาวิตก) คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลาย โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือกรุณาซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของการวิจัย

  • แบ่งตามสาขา
  1. วิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ 
  2. วิจัยสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งรวมถึงเศรษฐศาสตร์ด้วย
(วิจัยสายวิทย์ฯ จะมีลักษณะสำคัญคือ based on fact คือวัดผลการวิจัยได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แต่วิจัยสายสังคม ส่วนใหญ่จะ based on opinion คือใช้แบบสอบถามความคิดเห็น จากนั้นจึงแปลง subjective data เป็น numerical data ด้วยหลักการทางสถิติ--Dr.Jiw)
  • แบ่งตามจุดมุ่งหมาย
  1. วิจัยบริสุทธิ์ (Pure/Basic research) เน้นสร้างองค์ความรู้ระดับทฤษฎี
  2. วิจัยประยุกต์ (Applied research) เน้นนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้จริงในทางปฎิบัติ เช่น R&D
  3. วิจัยปฎิบัติการ (Action research) ซึ่งรวมวิจัยชั้นเรียน (Classroom research) และวิจัยสถาบัน (Institutional research) อยู่ด้วย เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาในชั้นเรียน ปัญหาในสถาบัน
  • แบ่งตามลักษณะข้อมูล
  1. วิจัยเชิงปริมาณ (Quatitative research) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลเชิงตัวเลข
  2. วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลเชิงคุณลักษณะและเชิงบรรยาย 
  • แบ่งตามที่มาของข้อความรู้
  1. วิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) เป็นการวิจัยแบบใช้ข้อมูลนำไปสู่คำตอบของการวิจัย เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการสังเกตหรือการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (observation/experiment) เช่น ศึกษาลักษณะบริการคลาวด์จากหลายผู้ให้บริการและนำมาสรุปสร้าง taxonomy
  2. วิจัยแบบทางการ (Formal research) เป็นการวิจัยแบบใช้หลักตรรกศาสตร์สร้างคำตอบของการวิจัย เป็นการสร้างองค์ความรู้จากวิธีการทางทฤษฎี (theory)
  • แบ่งตามที่มาของข้อมูล 
  1. วิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจแล้วนำมาวิเคราะห์ตีความ
  2. วิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) รวบรวมข้อมูลโดยการควบคุมสภาพแวดล้อมอย่า่งใดอย่างหนึ่งและสังเกตอย่างยุติธรรม
  3. นอกจาก Pure survey และ Pure experiment แล้ว ยังอาจแบ่งได้เป็นกึ่งทดลองกึ่งสำรวจ เช่นวิจัยด้าน HCI (Human Computer Interface) ที่ต้องเขียนโปรแกรมสร้าง UI และประเมินความคิดเห็นผู้ใช้เป็นขั้นสุดท้าย
การวิจัยยังสามารถแบ่งด้วยเกณฑ์อื่นได้อีก เช่น วิธีวิจัย, เวลา เป็นต้น -- รศ. ดร. บุญมี พันธุ์ไทย

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

กลยุทธ์ทางการตลาดบน Social media

  1. Content curation คือการแยกแยะจัดกลุ่มเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันในเรื่องเดียวกันเพื่อนำมาสื่อสารแบ่งปันผ่านเครือข่ายที่สนใจในเรื่องนั้นๆ
  2. Viral marketing คือการบอกต่อๆ 
ส่วนใหญ่ผู้ใช้ Facebook และ Twitter นิยมกด links เพื่อรับข้อมูลหรือข่าวสารจากเพื่อนบนเครือข่ายมากกว่าการกดจากป้ายโฆษณาหรือ Banner ดังนั้น Viral marketing จึงเหมาะสมกว่าแบบแรกที่อาจเป็นการตื้อนำเสนอมากเกินไป และยังสามารถนำไปสู่ Social commerce แบบ Groupon ได้--trueLife magazine Vol.10

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

From Analog TV to Digital TV

  • Analog TV คือระบบรับและแพร่สัญญาโทรทัศน์แบบอนาล็อกที่ใช้อยู่เป็นส่วนใหญ่ในไทย
  • Digital TV ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษ set top box ข้อดีคือความคมชัดและจำนวนช่องสัญญาณที่เพิ่มขึ้นมากกว่าใน analog tv เช่น TrueVisions ซึ่งแพร่สัญญาณดิจิตอลในระดับ HD
  • Internet TV เช่น บริการ tv2.truelife.com, youtube (ซึ่งจริงๆ youtube ควรเรียกว่า Video On Demand/VoD มากกว่าเพราะไม่ใช่การถ่ายทอดสด) มี Mobile applications หลายตัวสร้างขึ้นสำหรับดู Internet TV เช่น TrueVisions on Mobile HD สำหรับ iPhone, SPB TV (ดูได้หลายช่องทั่วโลกและสนับสนุน VoD ด้วย) สำหรับ BlackBerry, Flixter (ใช้ดู movie previews) สำหรับ Android, Youtube for WP7 สำหรับ Windows phone นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่สนับสนุน Internet TV เช่น LG 3D TV และ Google TV ที่เป็นทั้งบริการและผลิตภัณฑ์
  • Interactive TV เช่น tv.truelife.com/g2 ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนสามารถร่วม chat ได้

"in a civil union" และ "in a domestic partnership"

เป็นชื่อเรียกรูปแบบการแต่งงานของเพศเดียวกันในต่างประเทศที่มีกฏหมายรองรับการแต่งงานในเพศเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2554

สภาไอซีที

ในอนาคตจะมีสภาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทยที่จะมาดูแลการออกใบอนุญาตใบประกอบวิชาชีพในสายอาชีพไอซีทีซึ่งครอบคลุมวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่อยู่ในการควบคุมของสภาวิศวกรที่ดูแลเฉพาะวิศวกรรมควบคุมอันได้แก่ วิศวกรรมโยธา เครื่องกล อุตสาหการ ไฟฟ้า และเคมี ตัวอย่างผลกระทบด้านบวกในอนาคตคือการประมูลงานของหน่วยงานภาครัฐจะมีการระบุใน TOR ว่าต้องมีผู้ร่วมโครงการประมูลที่มีใบประกอบวิชาชีพ นอกจากนี้สภาไอซีทีอาจเข้ามาควบคุมอัตราเงินเดือนของสายอาชีพด้านไอซีทีนี้ด้วย

ตามกระแส VS. ตามความพอเพียง

ผู้บริโภคตามกระแสต้องการสร้างภาพลักษณ์เพื่อได้รับการยอมรับ ในขณะที่ผู้บริโภคตามเหตุผลความจำเป็นจะได้รับอรรถประโยชน์และความสบายที่คุ้มค่า

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

จริต

  1. ผู้มีโทสะจริต มักโกรธง่าย ตระหนี่ แก้ด้วยการเจริญเมตตาและเพ่งกสิน
  2. ผู้มีราคะจริต มักมีความอยากง่าย ติดง่าย ชอบความสวยงาม ถือตัว แก้ด้วยการเจริญอสุภะกรรมฐาน
  3. ผู้มีโมหะจริต มักหลงง่าย เชื่อง่าย แก้ด้วยการเจริญอานาปานสติและหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่ม
  4. ผู้มีสัทธาจริต มักเชื่ออะไรง่ายๆ ไร้เหตุผล งมงาย เกิดปิติง่าย
  5. ผู้มีพุทธิจริต เฉลียวฉลาดรู้เท่าทันเหตุการณ์ และมีปฎิภาณไหวพริบดี เชื่อมันตนเองสูง ให้เจริญมรณานุสสติกรรมฐาน
  6. ผู้มีวิตกจริต  ตัดสินใจไม่เด็ดขาด คิดตรองอยู่อย่างนั้น ไม่กล้าตัดสิน
    --http://www.luangporruesi.com/413.html

    วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา

    • ในมุมมองแรกประกอบด้วย ธรรมะ (ความจริงที่มีอยู่แล้วและพระพุทธเจ้าค้นพบและแสดงไว้) + พระวินัย (บัญญัติเพื่อความสันติสุข) โดยวินัยอุปมาเหมือนแก้วใส่น้ำดื่มและธรรมะอุปมาเหมือนน้ำในแก้วสำหรับดื่ม
    • ในอีกมุมมองหนึ่งพระพุทธศาสนาประกอบด้วย ปริยัติ (คือชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้), ปฎิบัติ (ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้), และปฏิเวธ (เป็นความรู้ทะลุตลอดที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป)

    วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    พระสูตรกับพระอภิธรรม

    พระสูตรจะยึดบุคคลและเหตุการณ์เป็นหลัก ส่วนพระอภิธรรมจะเป็นหลักธรรมล้วนๆ หรืออาจคัดลอกมาจากพระสูตรบางบทที่ลึกซึ้งอยู่แล้วก็มี

    ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่ถูกต้อง

    ไม่ได้หมายถึงการเพิกเฉยต่อสิ่งอันสมควรทุกอย่าง เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าหรือจีวรสกปรกที่ไม่ซักหรือแม้แต่ไม่สวมเสื้อผ้าโดยอ้างว่าไม่ยึดติด เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเพราะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีต่อบุคคลรอบข้าง และแท้จริงความคิดเช่นนี้ถือเป็นการยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ความไม่ยึดมั่นที่ถูกต้อง หมายถึง ไม่สุขทุกข์ไปกับสิ่งรอบข้าง แต่ยังคงต้องรักษาและปฎิบัติหน้าที่ตนเองให้ถูกให้ควร --ปอ.ปยุตโต

    สรุปโดยผู้เรียบเรียงว่า "ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่ถูกต้องคือการไม่หลงไปยึดมั่นกับความไม่ยึดมั่นถือมั่น"

    วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    พระพุทธไม่ได้ศักดิ์สิทธิ

    แต่ความศักดิ์สิทธิเกิดจากเทวดาที่ปกปักษ์คุ้มครองพระพุทธรูปนั้น--ปอ ปยุตโต

    การเคารพ

    มงคลสูตรกล่าวว่าบูชาคนที่ควรบูชา ซึ่งได้แก่ ผู้มีศีลหรือคุณธรรมมากกว่า และผู้มีบุญคุณ ทั้งนี้อายุไม่เกี่ยวข้อง เช่น อุบาสิกาที่สูงอายุสามารถไหว้พระสงฆ์ที่อายุน้อยได้เพราะความมีศีลมากกว่า นอกจากนี้ บางครั้งเราอาจไหว้หรือแสดงความเคารพด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อบุคคลที่เราต้องการความเมตตากรุณาจากเขาผ่านความอ่อนน้อม

    วัฒนธรรมไทยสอนให้เด็กไหว้ผู้ใหญ่เพราะถูกสอนต่อๆ กันมา ไม่ใช่ไหว้เพราะคิดพิจารณาแล้วด้วยปัญญาขัดกับหลักกาลามสูตร แต่ที่สอนให้ทำๆ กันเช่นนั้นเพราะในโลกโลกีย์ผู้น้อยมักต้องพึ่งผู้ใหญ่ จึงไหว้เพื่อหวังว่าจะได้รับการเมตตา นี่ไม่พิจารณาถึงการไหว้คนวัยเดียวกันที่ไหว้เพราะเป็นการทักทายกันหรือเพื่อให้เกียรติกันและกัน แต่ในโลกุตรซึ่งคือสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ เพราะไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่สมมติกันเอง จะไม่ไหว้กันตามอายุ เช่น หากพระพุทธเจ้าไหว้ใครผู้นั้นจะเศียรหลุด แต่ไหว้กันที่ระดับคุณธรรม ซึ่งปกติผู้บวชก่อน พรรษามากกว่าก็จะมีระดับคุณธรรมสูงกว่านั่นเอง ในอีกกรณีหนึ่งที่ควรไหว้คือไหว้เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดาและพี่รวมถึงครูอาจารย์ หรือไหว้เพื่อขอบคุณในสิ่งของหรือน้ำใจความช่วยเหลือที่ได้รับ นอกจากนี้การไหว้ยังเป็นการขอคมาด้วย


    ผลกรรมแห่งการเคารพบูชา

    ในส่วนที่ไม่ใช่การไหว้ เช่น ภิกษุชรา กับ ภิกษุที่เป็นพระอรหันต์แต่ไม่ชรา พระพุทธเจ้าให้เลือกถวายอาสนะแก่ภิกษุชราก่อน

    วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    วันมาฆปูรณมีบูชา

    "วันมาฆบูชา" เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่มหาสังฆสันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการคือ
    1. พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
    2. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
    3. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้อภิญญา 6
    4. วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
    โอวาทปาฏิโมกข์ที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาคือ การละชั่วทั้งปวง ทำดีทุกประการ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้วปราศจากกิเลส --ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/วันมาฆบูชา


    18 กุมภาพันธ์ 2554 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

    วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    อกุศลและกุศลสามารถเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

    • กุศลที่เป็นปัจจัยของอกุศล เช่น เมื่อทำบุญแล้วเกิดความเป็นตัวตนดูถูกผู้อื่นที่ไม่ทำบุญ
    • อกุศลที่เป็นปัจจัยของกุศล เช่น องคุลีมารได้ดวงตาเห็นธรรมตอนกำลังตามทำร้ายพระพุทธเจ้า อกุศลที่กำลังทำทำให้ฉุกคิดได้
    --ดัดแปลงจากเทศนาธรรมของท่าน ปอ ปยุตโต

      วัฒนธรรมแสวงหาปัญญา

      ไทยเรามีวัฒนธรรมเมตตา ดังจะเห็นได้จากการต้อนรับชาวต่างชาติที่น่าประทับใจ แต่ยังขาดวัฒนธรรมแสวงหาปัญญา ซึ่งเกิดจากการฝึกให้เยาวชนคิดบ่อยๆ เช่น เหตุใดจึงต้องการซื้อของที่ร้องขอจากพ่อแม่ ซึ่งการจะคิดได้หรือการสร้างปัญญาต้องมีข้อมูลที่เกิดจากความจำได้เป็นพื้นฐาน เมื่อคิดเป็นก็ทำให้ระดับการเรียนรู้สูงขึ้น จากแค่จำได้ เป็นเข้าใจทะลุปุโปร่งแบบโยนิโสมนัสิการ นำไปสู่ระดับสอนให้คนอื่นเข้าใจได้ตามที่เราต้องการ และขั้นสูงสุดคือสามารถทำให้ผู้อื่นเชื่อได้--ปอ ปยุตโต

      วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

      ปวารณา

      หมายถึง การตักเตือนซึ่งกันและกันโดยฝ่ายถูกตักเตือนต้องไม่ถือโทษโกรธฝ่ายที่ตักเตือน ปกติพระสงฆ์จะทำการมหาปวารณากันในวันออกพรรษา--ว.วชิรเมธี

      หน้าที่

      ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตน ถ้าไม่ทำหน้าที่ของคนก็ิมิอาจถือว่าเป็นคน ไม่ทำหน้าที่ของครูก็ไม่ถือว่าเป็นครู เป็นต้น

      วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

      How does geolocation work? How well does it work?

      It depends on the device, and its way of connecting to the Internet.

      If the device is a desktop computer, without any wireless connections, the IP address is used to determine the device's location, and the measurement is rather crude.

      To determine the location of a laptop or other wireless device, Opera may in addition send the following data from nearby Wi-Fi access points: MAC address (uniquely identifies the hardware) and signal strength (tells how far away it is). A database of known Wi-Fi access points, together with measured signal strength, makes it possible to give rather precise location information. The success of this method depends largely on the concentration of known access points.

      If the device is connected to a mobile telephone network, location data may include cell IDS of the cell towers closest to you, and their signal strength. If the device is GPS-enabled, the location may be obtained via GPS.

      Any or all of the above methods may be used to determine the device's location, if the device has sufficient connectivity. In what follows, we refer to this data as the "location data". --Opera's Help page

      วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

      How does Facebook get its revenue?

      Facebook makes its revenue through advertising. Facebook takes your private information and markets it to companies that will manipulate their ads to relate to your likes and interests. The developer behind the largest names on Facebook ( Farmville, Poker, Cafe World, etc.) is the largest purchaser of Facebook's self-serve ads. These advertisement are displayed in the sidebar of most pages of the site which includes user profiles, events, groups, Facebook pages and third-party applications. Recently, Facebook also generates a large amount of revenue form Facebook Gift Shop, which enables users to send virtual gifts to one another.

      สถิติ: ความหมาย

      Statistics are facts which are obtained from analysing information expressed in numbers. ดังนั้นสถิติจึงหมายถึงสารสนเทศที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาเพื่อประโยชน์ในการตีความ

      วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

      Knowledge is power.

      Data => Information => Knowledge => Wisdom (ปัญญา)
      Information flow (อุปมาเป็นสมอง) leads Material flow (which is the traidition meaning of Logistics) (อุปมาเป็นแขนขา) เพื่อทำให้เกิด Productivity (ผลิตภาพ) เช่น การส่งของรวดเร็วแต่ไม่ถูกต้อง คือ material ถูกแต่ information ผิด




      วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

      อดทนต่อเพื่อนร่วมงาน

      -เกิดเป็นคนต้องทนให้เขาด่า อย่าตอบโต้ก็จะหยุดไปเอง เพราะไม่มีใครอยากเตะหมาตา
      -พวกนินทาคือพวกกินของเน่า เห็นเขากินของเน่ากันอยู่อย่าเข้าไปร่วมกิน
      -คนอาจไม่โกรธคนที่อยู่สูงกว่าเพราะความกลัวในอำนาจ คนอาจไม่โกรธคนที่อยู่สูงเท่ากันเพราะความแข่งดีจึงต้องกลบเกลื่อนความโกรธ คนที่ไม่โกรธคนที่อยู่ต่ำกว่าทั้งที่โกรธได้โดยไม่ต้องกลัวเกรงอันใดพระพุทธองค์จึงทรงยกย่องที่สุด

      วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

      Cause marketing

      การตลาดเพื่อสังคม คือ การตลาดที่คำนึงถึงไม่เพียงกำไรและความพึงพอใจของลูกค้า แต่รวมถึงสังคมที่ดีขึ้นอีกด้วย

      วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

      เงินเฟ้อปี 2554

      ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่าอัตราเงินเฟ้อที่จะสูงมากประมาณการไว้ที่4-5%  เพราะการขึ้นเงินเดือนในทุกระดับของรัฐบาล ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ รวมไปถึงผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ ราคาน้ำมัน รวมไปถึงราคาสินค้าเกษตรที่สูงมาก แต่เกษตรกรกลับได้ประโยชน์น้อยเพราะไม่สามารถผลิตพืชผลออกมาขายได้มากนัก เพราะพื้นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ผ่านมา

      วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

      Social media

      1. Social networking e.g. Facebook, Myspace, Linkedin, Friendster
      2. Social collaboration e.g. Wikis, blogs, instant messaging, collaborative office, and crowdsourcing
      3. Social publishing e.g. YouTube, flickr
      4. Social feedback e.g. feedback feature on YouTube, flickr, Digg, Amazon
      --Gartner 2011

      วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

      ธรรมะของเวลา

      • สิ่งใดก็ตามเมื่อเกิดขึ้นย่อมแตกดับ จึงกล่าวได้ว่า"เวลา"เป็นผู้กลืนกินได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
      • อย่าปล่อยเวลาแม้ชั่วขณะให้ผ่านไปโดยไร้ค่า--ปอ ปยุตโต

      คนมีความสุข(ทางโลก)มักเสื่อม

      เมื่อคนมีความสุข มักเฉื่อย มักหยุดพัก ทำให้ประมาทในชีวิต ความประมาทเป็นปัจจัยแห่งความเสื่อม--ปอ ปยุตโต

      ความรู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วหรือผ่านไปช้า

      คนที่รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วคือ คนที่งานยุ่ง, คนที่กำลังมีความสุข
      คนที่รู้สึกว่าเวลาผ่านไปช้าคือ คนที่งานว่างงาน, คนที่กำลังทุกข์, คนที่กำลังรอคอยอะไรบางอย่าง, คนที่มีความหวังกับบางสิ่งบางอย่าง

      หมดบุญไปไหน

      คนหนึ่งทำบาปมาตลอดชีวิต แต่ก่อนตายได้ทำทาน ขณะตายนึงถึงทานที่ทำ จึงไปเกิดเป็นเทวดาอยู่ 5,000 ปี ต่อมาเมื่อเทวดาองค์นี้ใกล้จะหมดอายุขัยในอีก 7 วัน วิมานหม่นหมอง ก็กลัวตนเองต้องลงนรกเพราะเคยทำบาปมามากจึงไปหาพระพุทธเจ้า ๆ ได้ให้คาถามาบทหนึ่งให้ภาวนาตลอดเวลา เทวดาได้ทำตาม เมื่อเทวดาหมดอายุขัยจึงไปเกิดเป็นเทวดาให้ชั้นสูงขึ้นไป

      วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554

      พรปี 2554

      จงหวังในสิ่งที่ดีที่สุด และจงพร้อมสำหรับสิ่งที่เลยร้ายที่สุด

      วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

      ระดมคิดหรือแยกคิดดี

      ในการประชุมระดมความคิดเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือทางออกที่ดีนั้น สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องมีความรู้พื้นฐาน และความชำนาญบา้ง อย่างน้อยก็เพียงพอที่จะช่วยกันเสริม หรือเติมให้การประชุมได้บรรลุเป้าหมาย
      สำหรับประเด็นเรื่องมารยาทในการประชุมระดมคิดนั้นก็มีอยู่ว่า ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนมีสิทธิ์และเสรีภาพในการนำ เสนอความคิดทุกชนิด ซึ่งความคิดนั้นๆ อาจจะ "แปลก แตกต่าง เกินเลย ล้น ขาด" สักเพียงใดก็มีสิทธิ์จะถูกนำเข้า้มาพิจารณาได้ทั้งนิ้สมาชิกผู้เู้ข้า้ร่วมประชุมจะต้องไม่ใ่ชคำวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นเวลาเสนอความคิดในเชิงส่วนตัว หรือส่งเสียงยี้ หรือแสดงอาการเลิกคิ้ว หรือส่ายหน้า ฉีกหน้า หรืออาการใดๆ ที่จะทำ ให้คนอื่นๆ รู้สึกขยาดที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตัว มีหลักฐานการทดลองที่ส่อแสดงให้เห็นว่า การระดมความคิดนั้น มิได้เป็นกิจกรรมที่ดีในการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรคที่ดีี่มาช่วยในการแก้ปัญหาเสมอไป งานวจิยัของ A. Furnham แหง่ ภาควิชา Business Psychology ของ University College ที่ลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้แสดงให้เห็นว่า
      1. ในกรณีที่ปัญหานั้นๆ มีคำ ตอบถูกหรือผิดชัดเจน เช่นปัญหาคณิตศาสตร์ หรือปริศนาอักษรไขว้ การระดมคิดจะช่วยให้งานนั้นสำ เร็จลุล่วงไปได้อย่างถูกต้อง ดีกว่าการแยกคิด แต่ก็จะใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่าด้วย โดยเขาได้เปรียบเทียบจำ นวนข้อที่คน 5 คนช่วยกันทำ แล้วถูก กับจำนวนข้อที่คนๆ เดียวทำแล้วถูกเช่นกัน เขาพบว่า่โดยเฉลี่ยแล้ว คน 5 คนจะแก้ปัญหาได้ถูกต้องมากกว่า่การที่จะให้คนๆ เดียวแก้แต่คน 5 คนก็จะใช้เวลานานกว่าที่จะให้คนๆ เดียวทำ ถึง 40%
      2. สำหรับปัญหาที่หน่วยงานต่างๆ เผชิญอยู่เป็นประจำ นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบถูกหรือผิดชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นบริษัทอยากจะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งของบริษัทใช้ทำ ประโยชน์ใดได้บ้าง หรือคำ ถามที่ว่าหากคนทุกคนบนโลกนี้ตาบอดหมด แล้วอะไรจะเกิดขึ้น เป็นต้น Furnham พบว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาทำนองนี้ คนๆ เดียวจะเสนอความคิดเห็นได้มากมายรูปแบบกว่า่คนหลายคนที่ระดมกันคิด และโดยเฉลยี่แลว้คณุ ภาพของความคิดเห็นของคนทั้งกลุ่มก็ดีพอๆ กับความคิดเห็นของคนๆ เดียว Furnham ยังสังเกตพบต่อไปอีกว่า่สมาชิกที่มีความสามารถสูงสุดของกลุ่มมีบทบาทมากที่สุดในการสรุปตัดสินใจครั้งสุดท้ายทุกครั้งไป
      สรุปว่า การระดมคิดนั้นไม่เหมาะที่จะใช้ในการแก้ปัญหาที่มีคำตอบคลุมเครือที่ไม่ถูกหรือผิดอย่างโจ่งแจ้ง แต่เ่หมาะสำหร้ับปัญหาที่มีคำตอบเป็นดำหรือขาวชัดเจนทั้งนี้ถึงแม้จะมีการเสียเวลามากกว่าการแยกคิดก็ตาม

      เทวดาหรือพรหมกลับมาเกิดใหม่แล้วมีสิทธิลงนรกไหม

      1. เป็นไปได้ ถ้าเทวดานั้นไม่ใช่ พระโสดาบัน ว่าเมื่อเทวดากลับลงมาเกิดใหม่สร้างบาปมากขึ้นแล้วตกนรก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ 2 อย่าง คือ
      - การกระทำ (กรรม)ในปัจจุบัน ถ้าเกิดมาแล้วทำบาปกรรมมากๆ เวลาตอนตายจิตมัว. หมองก็ทำให้ก็ลงนรกได้ หรือถ้าทำบาปหนักๆ ฆ่าพ่อแม่ตัวเอง ตอนตายก็ดิ่งลงไปนรกเลย
      - บุญเก่าหมดหรือบุญยังไม่ส่งผล เวลาตอนปัจจุบันจะทำบาปใหญ่ที่มีผลส่งให้เขาตกนรก ก็ทำไป ไม่มีอะไรมาช่วย แต่ถ้าเขามีบุญเก่าอยู่มากๆ เวลาจะทำกรรมหนักๆที่ทำให้ตกนรก ก็จะมีอะไรมาขัดขวางไม่ให้ทำกรรมหนักนั้น เช่น เทวดามาดลใจหรือมีคนมาช่วยชี้แนะให้ไปถูกทาง บุญที่ทำให้เกิดมาเจอพระพุทธศาสนา มีหลาย อย่างเช่น สร้าง วิหาร สร้างพระพุทธรูปและให้ธรรมทาน สร้างพระไตรปิฎก พอเกิดมาอีกชาติก็จะเจอพระพุทธศาสนา อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพุทธ ทำให้รู้วาอะไรบาปอะไรบุญ

      2. ถ้าเทวดานั้นเป็นโสดาบัน จะเป็นไปไม่ได้ว่าเมื่อกลับลงมาเกิดแล้วจะตกนรกอีก (พระโสดาบันคือพระอริยเจ้าผู้บรรลุธรรมขั้นต้น) พระโสดาบันจะเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติก็จะบรรลุอรหันต์
      - กรรมปัจจุบัน ของ พระโสดาบัน จะไม่ยอมทำผิดศิล 5 ....รักษาศิลยิ่งกว่ารักษา ชีวิต เมื่อปัจจุบันไม่ทำผิดศิล ก็ไม่เป็นเหตุให้ตกนรกอีก
      - บุญเก่าส่งผล บุญเก่าใหญ่ๆที่มีคือ บุญของการเคยเจริญวิปัสนาจนบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน
      ใครก็ตามที่เคยทำบาปต่างๆไว้ เช่นอดีตชาติเคยฆ่าคนตาย เมื่อได้เป็นโสดาบันแล้ว จะไม่ตกนรก ทางนรกยกเว้นให้ แต่ผลของกรรมจะมาส่งผลตอนมีชีวิตแทนการตกนรก เช่น ร่างกายจะเจ็บป่วยต่างๆ

      พรหมสามารถบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้

      เทวดาและพรหมสามารถ บรรลุธรรมเป็น พระอริยเจ้าได้และเป็นพระอรหันต์ได้
      เรื่องเทวดาบรรลุธรรม ถ้าไปอ่านในพระไตรปิฏกจะมีบอก บางตอน พระพุทธเจ้าเทศน์โปรด แล้วเหล่าเทวดาพรหมนับหมื่นบรรลุธรรม

      การสร้างบุญกุศล ย่อแล้วมี 3 อย่าง คือ ทาน, ศิล, ภาวนา
      ทาน 
      เทวดาก็ทำทานได้ เราคงเคยได้ยินว่า เทวดาแปลงกายมาเป็นใส่บาตรพระธุดงค์ ผมคิดว่า การบำเพ็ญบารมีด้านทานหรือการเกิดเป็นคนสามารถทำทานได้ดีกว่า ตอนเกิดเกิดเป็นเทวดา...... เพราะว่าเมืองมนุษย์เต็มไปด้วยความทุกยากลำบากและโอกาสการทำทานก็ทำได้ง่าย มีทั้ง คน เกิด แก่ เจ็บ ตาย คนจน คนทุกข์มีปัญหา การสร้างโน่นนี่ก็มีมาก อย่างเมืองสวรรค์สบายแล้วอะไรต่างก็มีครบ อยากได้อะไรก็ใช้พลังจิตเนรมิตเอา โอกาสทำทานจึงมีไม่มากเท่าเมืองมนุษย์ ของเมืองมนุษย์ไม่อย่างนั้นเนรมิตไม่ได้ ต้องอาศัยคนช่วยกัน เช่น สร้างโบรถวิหาร สร้างพระ ทำธรรมทาน ต่างๆ

      ศิล 
      ปกติเทวดา "เป็นผู้ มีหิริโอตัปปะ" คือ ละอายต่อการทำบาป แต่เทวดาบางพวกทำบาปก็มี เช่น พวกเทวดาที่เป็นมารต่างๆ
      เทวดาชั้นสูงๆรักษาศิล 227 ข้อ

      ภาวนา
      เทวดาหรือพรหมก็ภาวนาได้ และสามารถภาวนาจนบรรลุธรรมได้ ใครตอนเป็นมนุษย์ได้เป็นพระอริเจ้าขั้นอนาคตมีผล พอตายไป ก็จะไปอยู่ชั้นพรหม แล้วไม่ลงมาเกิดอีก พอไปเป็นพรหม ก็จะบรรลุอรหันต์ที่ชั้นพรหมเลย

      สรุป

      เมื่อเรา เกิด เป็น เทวดา ไม่ว่าจะ ชั้นไหนก็ตาม สามารถที่จะ สร้างบารมี สะสมบุญต่อได้ ขึ้นไปได้อีก
      แต่ สาเหตุ ที่ เหล่าเทวดา จะชอบ มาบำเพ็ญ ที่ โลกมนุษย์ มากกว่า เพราะ บนสวรรค์ มันสบายเกินไป ไม่ค่อยเห็นทุกข์ หรือไม่เห็นทุกข์เลยด้วยซ้ำไป ทำให้ค้อนข้าง ที่ ยาก และ นานมากกว่าจะ ทำให้เรา บรรลุสัจธรรมแห่งความเป็นจริง คือ นิพพาน แต่ ถ้ามาเกิดบนโลก ใบนี้ ย่อม มี เหตุ ให้เกิด แห่ง ทุกข์ เต็มไปหมด ทำให้เมื่อเรา เจริญปัญญา ย่อมเข้าใจ เหตุแห่งทุกข์ และ วิธีที่จะดับ ทุกข์ ได้ง่าย มากกว่า ที่จะอยู่บนสวรรค์ แล้ว สบาย