วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

ระดมคิดหรือแยกคิดดี

ในการประชุมระดมความคิดเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือทางออกที่ดีนั้น สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องมีความรู้พื้นฐาน และความชำนาญบา้ง อย่างน้อยก็เพียงพอที่จะช่วยกันเสริม หรือเติมให้การประชุมได้บรรลุเป้าหมาย
สำหรับประเด็นเรื่องมารยาทในการประชุมระดมคิดนั้นก็มีอยู่ว่า ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนมีสิทธิ์และเสรีภาพในการนำ เสนอความคิดทุกชนิด ซึ่งความคิดนั้นๆ อาจจะ "แปลก แตกต่าง เกินเลย ล้น ขาด" สักเพียงใดก็มีสิทธิ์จะถูกนำเข้า้มาพิจารณาได้ทั้งนิ้สมาชิกผู้เู้ข้า้ร่วมประชุมจะต้องไม่ใ่ชคำวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นเวลาเสนอความคิดในเชิงส่วนตัว หรือส่งเสียงยี้ หรือแสดงอาการเลิกคิ้ว หรือส่ายหน้า ฉีกหน้า หรืออาการใดๆ ที่จะทำ ให้คนอื่นๆ รู้สึกขยาดที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็นของตัว มีหลักฐานการทดลองที่ส่อแสดงให้เห็นว่า การระดมความคิดนั้น มิได้เป็นกิจกรรมที่ดีในการก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรคที่ดีี่มาช่วยในการแก้ปัญหาเสมอไป งานวจิยัของ A. Furnham แหง่ ภาควิชา Business Psychology ของ University College ที่ลอนดอน เมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้แสดงให้เห็นว่า
  1. ในกรณีที่ปัญหานั้นๆ มีคำ ตอบถูกหรือผิดชัดเจน เช่นปัญหาคณิตศาสตร์ หรือปริศนาอักษรไขว้ การระดมคิดจะช่วยให้งานนั้นสำ เร็จลุล่วงไปได้อย่างถูกต้อง ดีกว่าการแยกคิด แต่ก็จะใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่าด้วย โดยเขาได้เปรียบเทียบจำ นวนข้อที่คน 5 คนช่วยกันทำ แล้วถูก กับจำนวนข้อที่คนๆ เดียวทำแล้วถูกเช่นกัน เขาพบว่า่โดยเฉลี่ยแล้ว คน 5 คนจะแก้ปัญหาได้ถูกต้องมากกว่า่การที่จะให้คนๆ เดียวแก้แต่คน 5 คนก็จะใช้เวลานานกว่าที่จะให้คนๆ เดียวทำ ถึง 40%
  2. สำหรับปัญหาที่หน่วยงานต่างๆ เผชิญอยู่เป็นประจำ นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบถูกหรือผิดชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นบริษัทอยากจะรู้ว่าผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งของบริษัทใช้ทำ ประโยชน์ใดได้บ้าง หรือคำ ถามที่ว่าหากคนทุกคนบนโลกนี้ตาบอดหมด แล้วอะไรจะเกิดขึ้น เป็นต้น Furnham พบว่า เมื่อเผชิญกับปัญหาทำนองนี้ คนๆ เดียวจะเสนอความคิดเห็นได้มากมายรูปแบบกว่า่คนหลายคนที่ระดมกันคิด และโดยเฉลยี่แลว้คณุ ภาพของความคิดเห็นของคนทั้งกลุ่มก็ดีพอๆ กับความคิดเห็นของคนๆ เดียว Furnham ยังสังเกตพบต่อไปอีกว่า่สมาชิกที่มีความสามารถสูงสุดของกลุ่มมีบทบาทมากที่สุดในการสรุปตัดสินใจครั้งสุดท้ายทุกครั้งไป
สรุปว่า การระดมคิดนั้นไม่เหมาะที่จะใช้ในการแก้ปัญหาที่มีคำตอบคลุมเครือที่ไม่ถูกหรือผิดอย่างโจ่งแจ้ง แต่เ่หมาะสำหร้ับปัญหาที่มีคำตอบเป็นดำหรือขาวชัดเจนทั้งนี้ถึงแม้จะมีการเสียเวลามากกว่าการแยกคิดก็ตาม