วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

Digital economy

 Digital Economy ในความหมายของ British Computer Society (BCS) 
“The digital economy refers to an economy that is based on digital technologies, although we increasingly perceive this as conducting business through markets based on the internet and theWorld Wide Web. The digital economy is not limited to traditional business modelsIt encompasses every aspect of modern life; entertainment, health, education, business to banking, the ability of the citizen to engage with government and society to stimulate new ideas and help influence political and social change. Digital networking and communication infrastructures provide a global platform over which people and organizations devise and employ new business strategies, interact, communicate, collaborate and seek information regardless of time and location.”

ผ่านกฎหมายเพิ่ม 8 ฉบับรวด-สั่งยุบ “กทค.-กสท.” (ไทยรัฐ 7 ม.ค. 2558)
ครม.เห็นชอบร่างกฎหมายอีก 8 ฉบับรวมของเดิม 2 เป็น 10 ฉบับ ผลักดัน “เศรษฐกิจดิจิตอล” เต็มสูตร ยุบคณะกรรมการ กทค.-กสท. ตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้เงินนำส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจากกสทช. 50%
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลจำนวน 8 ฉบับ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเร่งผลักดันการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอลให้เสร็จภายในปี 2558 ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นความจำเป็นที่ต้องทำ ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้ใคร แต่ทำเพื่อประโยชน์ของชาติ ขณะเดียวกัน ยังปรับปรุงการทำงานของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมความพร้อมการประมูลคลื่นความถี่ 4 จี
ด้าน ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ร่างกฎหมายที่ ครม.เห็นชอบในครั้งนี้มี 8 ฉบับ ซึ่งเมื่อรวมกับก่อนหน้านี้เห็นชอบไปแล้ว 2 ฉบับแล้ว คือ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมจะรวมเป็น 10 ฉบับ โดย 8 ฉบับล่าสุด คือ 1.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้การอุดหนุนงานวิจัยและพัฒนา โดยให้กู้ยืมหรือช่วยเหลือและจัดสรรงบให้หน่วยงานรัฐ เอกชนและประชาชน
2.ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดบทบาทของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้จัดทำนโยบายในแต่ละภาคส่วนของการใช้ความถี่วิทยุในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามที่คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้กำหนด เพื่อให้งานมีความสอดคล้องกันในภาพรวม
ขณะเดียวกัน กำหนดให้การบริหารงานด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดเดียว คือ กสทช.เพื่อให้สอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีหลอมรวม นอกจากนี้ มีข้อกำหนดให้ส่งเงินค่า ธรรมเนียมจากใบอนุญาตของ กสทช.เข้ากองทุนพัฒนาดิจิตอลฯ 50% ด้วย
3.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีเนื้อหาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ มีสถานะเป็นนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ให้ทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในงานด้านการพัฒนาระบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน
5.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการตรวจสอบ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย ครอบคลุมความผิดที่เกิดจากคอมพิวเตอร์โดยตรง
6.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อวางแผนการจัดการปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการทำสงคราม การโจมตีโดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการกระทำความผิด
7.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และรวบรวมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน และ
8.ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยมีคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลแห่งชาติ และตั้งสำนักงานขึ้นมาดูแล ในรูปแบบองค์การมหาชน เพื่อรับผิดชอบและผลักดันงานต่างๆให้สำเร็จ
ด้านนายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ รวม 8 ฉบับ ว่า ในส่วนการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. นั้น ไม่ได้ยกเลิก กสทช.เพียงยกเลิกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อให้เหลืออำนาจหน้าที่บอร์ด กสทช.เพียงชุดเดียวเท่านั้น ส่วนประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อนำไปประมูลนั้นจะต้องนำหารือคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานก่อน เพื่อให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ.


วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

ช่างหัวมัน

เป็นคำของพุทธทาส
แปลว่า รู้ก็สักแต่ว่ารู้ ได้ยินสักแต่ว่าได้ยิน เห็นสักแต่ว่าเห็น ฯ ทำให้ไม่มีตัวเราอยู่ตรงนั้น อันนำไปสู่สุญตาได้ในที่สุด
นั่นคือพุทธวจนว่า ตถตา แปลว่า เช่นนั้นเอง

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

กรรม สุข ทุกข์

เจตนา(ความตั้งใจ) เป็น กรรม แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน  เจตนาถือเป็นสังขาร(การปรุงแต่ง)ในขันธ์5
เหยียบมด ถ้าไม่มีเจตนา เป็นแค่กิริยา ไม่ใช่กรรม

กรรมมีแดนเกิดคือผัสสะ แต่ถ้าผัสสะนั้นไม่มีเจตนาก็ไม่มีกรรมเกิดขึ้น เจตนาเป็นการควบคุมให้เกิดผัสสะ

กรรมแปลว่าการกระทำ แต่ถ้าจะอ่านหน้านี้เข้าใจต้องคิดต่อว่ากรรมจะนำมาซึ่งวิบากกรรมหรือผลของการกระทำด้วย นั่นคือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับเรา

ผัสสะเกิดจากอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) อายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) และวิญญาน(วิญญานทางตาทางหูทางจมูกฯ)

สิ่งเหล่านี้เป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่เรา
ดังนั้นกรรม นอกจากคนอื่นบันดาลให้ไม่ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆ เราก็ไม่ใช่เป็นผู้บันดาลด้วยเพราะผัสสะไม่ใช่เรา แต่ถ้าพูดภายใต้อวิชชา เราเป็นผู้ทำกรรมสร้างกรรม ซึ่งถ้าเห็นผิดแบบนี้จะไม่ได้เป็นโสดาบัน ที่ถูกคือกรรม(การกระทำ ไม่ใช่ผลของกรรมคือวิบากกรรม)ไม่มีใครบันดาลรวมทั้งตัวเราและไม่ได้เกิดเองลอยๆ กรรม=ผัสสะ+เจตนา

ส่วนสุขทุกข์คือเวทนา เวทนามีผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนาตามหลักปฏิจจะสมุปบาท 

ถ้าเราทุกข์เพราะมีใครตีเรา คนๆนั้นไม่ใช่ผู้บันดาลวิบาก(=ผลของ)กรรมให้เราเป็นทุกข์ เขาเป็นแค่ธาตุดินน้ำลมไฟ ซึ่งเป็นองค์ประกอบคืออายตนะภายนอกที่ทำให้เกิดผัสสะอันเป็นแดนเกิดแห่งกรรมของเขา(ถ้าเขามีเจตนา)และกรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบากกรรมคือผลของกรรดำ(ทุกข์)หรือขาว(สุข)
เราทำกรรมดี คือ เรามีเจตนาดี (เช่นตั้งใจจะทำทาน) และทำให้เกิดผัสสะ (คือใช้ร่างกายจัดหาสิ่งของมาทำกิจกรรมการให้ทาน) อันทำให้เกิดวิบากกรรมดี การตัดผัสสะคือการตัดกรรมและวิบากกรรมคือกระจายออกด้วยการมองผัสสะให้เป็นอนิจจัง เช่น เห็นคนสวยอีกไม่นานก็เสื่อมสลาย

การเจริญสมาธิไม่ใช่กรรมดำที่นำไปนรกและขาที่พาไปสวรรค์ว เป็นกรรมไม่ดำไม่ขาวเพราะเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น

กายที่เกิดมาเป็นผลของกรรมเก่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับกายนี้เช่นโดนคนทำร้ายก็เป็นผลของกรรมเก่า เจตนาที่มีขึ้นต่างๆเป็นกรรมใหม่

จะดับกรรมต้องปฏิบัติมรรคมีองค์แปด จะได้ทำให้องค์ประกอบของผัสสะไม่ครบก็ไม่สามารถเกิดกรรมได้

มโน คือ วิญญาณ คือ จิต คือ ความรู้ตัว  วิญญาณมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา วิญญาณไม่ใช่ตัวเรา อวิชชาทำให้วิญญาณไปเกาะ รูป เวทนา สัญญา หรือสังขาร เสมอเปรียบเหมือนลิงเกาะเกี่ยวต้นไม้ ถ้าหมดอวิชชา จะไม่มีวิญญาณที่จะไปเกาะสร้างภพสร้างชาติใหม่ ก็เข้าสู่วิมุตคือหลุดพ้น
-----

รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ เกี่ยวกับเรื่องกรรม
ภิกษุ ท. ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ...... คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็น กรรมเพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในนรกมีอยู่, กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉานมีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเองคือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ; ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรมอย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ; อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓ - ๔๖๔/๓๓๔.

วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

เวลาฟังธรรม

ห้ามใส่รองเท้า หมวก ร่ม ถืออาวุธ นั่งสูงกว่าพระ

วิบากกรรมอย่างเบาของหมู่สัตว์

ภิกษุ ท. ! ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) ที่เสพทั่วแล้ว
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อ
กำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งปาณาติบาตของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า
วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ มีอายุสั้น.

ภิกษุ ท. ! อทินนาทาน (ลักทรัพย์) ที่เสพทั่วแล้ว
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อ
กำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.

วิบากแห่งอทินนาทานของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า
วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ความเสื่อมแห่งโภคะ.

ภิกษุ ท. ! กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม)
ที่เสพทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก
เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า
วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ ก่อเวรด้วยศัตรู.


ภิกษุ ท. ! มุสาวาท (คำเท็จ) ที่เสพทั่วแล้ว
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อ
กำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งมุสาวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า
วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การถูกกล่าวตู่ด้วย
คำไม่จริง.

ภิกษุ ท. ! ปิสุณวาท (คำยุยงให้แตกกัน) ที่เสพ
ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก
เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งปิสุณวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า
วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การแตกจากมิตร.

ภิกษุ ท. ! ผรุสวาท (คำหยาบ) ที่เสพทั่วแล้ว
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก เป็นไปเพื่อ
กำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า
วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ การได้ฟังเสียงที่
ไม่น่าพอใจ.

ภิกษุ ท. ! สัมผัปปลาวาทิ (คำเพ้อเจ้อ) ที่เสพ
ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก
เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งผรุสวาทของผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่า
วิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อวาจาที่ไม่มีใคร
เชื่อถือ.

ภิกษุ ท. ! การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ที่เสพ
ทั่วแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อนรก
เป็นไปเพื่อกำเนิดดิรัจฉาน เป็นไปเพื่อเปรตวิสัย.
วิบากแห่งการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ของ
ผู้เป็นมนุษย์ที่เบากว่าวิบากทั้งปวง คือวิบากที่เป็นไปเพื่อ
ความเป็นบ้า (อุมฺมตฺก).

อฏฺฐก. อํ. ๒๓/๒๕๑/๑๓๐.

พระห้ามรับเงิน

ห้ามใส่เงินตอนตักบาตร ให้ฝากไว้กับไวยาวัจกร เมื่อพระต้องการอะไรค่อยไปขอจากไวยาฯ ซึ่งไวยาฯก็จะช่วยตรวจสอบความเหมาะสมอีกครั้ง

พระและโยมใส่รองเท้าได้ตอนตักบาตร

พระไม่ควรให้พรเมื่อรับบาตรเสร็จ

การตอบแทนบุญคุณบิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้ว

ทำจิตให้มีกำลังคือปราศจากนิวรณ์ห้าก่อนแผ่เมตตาด้วยบุญที่เกิดจากทานศีลภาวนา

การถอดเครื่องช่วยหายใจ

ถอดเสร็จผู้ป่วยค่อยๆ จากไปตามธรรมชาติเอง จึงไม่ใช่อนันตริยกรรมกรณีเป็นพ่อแม่เรา และเพราะเราไม่มีเจตนาฆ่า พระพุทธเจ้าตรัสว่าเจตนาคือกรรม ถ้าไม่มีเจตนาก็ไม่บาป

การเตรียมตัวตาย

ก่อนตายสติปัญญา(อินทรีย์)จะแก่กล้า ให้ทำอานาปานสติอยู่กับลมหายใจจะละสังโยชน์ห้าเบื้องต่ำ คือเครื่องพัวพันผูกรัด ได้

  • ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่
    • 1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง
    • 2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    • 3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่นการถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย
    • 4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ
    • 5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ
  • ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่
    • 6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน
    • 7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย
    • 8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน
    • 9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน
    • 10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

ละนันทิ

คือละความเพลิน คือการที่จิตไปผูกติดกับอารมณ์ เช่น ผูกโกรธ หรือเพลินกับคำยกยอ เพลินกับความสวยงามของธรรมชาติ ของสวยให้มองเห็นว่าไม่สวย ของน่ากินให้มองว่าไม่น่ากิน เช่นคิดว่าถ้าเคี้ยวแล้วคายออกมาจะไม่น่ากิน ของขยะแขยงต้องมองให้เป็นธรรมดา ทั้งของสวยและไม่สวยมองให้เป็นอุเบกขา
ขณะเพลินจะมีอารมณ์(สิ่งหน่วงจิตผ่านทางอายตนะ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู) เช่น ให้อุปาทานเข้าไปจับ เพราะอารมณ์เป็นฐานที่ตั้งของวิญญาน อันเป็นเหตุให้เกิดภพ

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม

สติปัฏฐานบริบูรณ์ เพราะอานาปานสติบริบูรณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้ ?

[หมวดกายานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ว่าเป็นกายอันหนึ่งๆ ในกายทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดเวทนานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้ระงับ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าวการทำในใจเป็นอย่างดีต่อลมหายใจเข้าและลมหายใจออกทั้งหลายว่า เป็นเวทนาอันหนึ่งๆ ในเวทนาทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

[หมวดจิตตานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราไม่กล่าวอานาปานสติ ว่าเป็นสิ่งที่มีได้แก่บุคคลผู้มีสติอันลืมหลงแล้ว ไม่มีสัมปชัญญะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ ในสมัยนั้น.

ปล จิตเห็นจิต คือ วิญญาณเห็นวิญญาณ แต่วิญญาณเกิดดับตลอดเวลา ดังนั้นวิญญานปัจจุบันจึงเป็นผู้เห็นวิญญานที่เพิ่งดับไป เช่นตอนกลับมารู้ตัวว่าเมื่อกี้เพิ่งรู้สึกเจ็บหรือเพิ่งคิดเรื่องใดๆ อีกนัยหนึ่งคือ เนื่องจากวิญญาณต้องเกาะที่ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในสี่ขันธ์ที่เหลือตลอดเวลาตามที่ศาสดาตรัส การเห็นจิตในจิตจึงไม่ใช่การนำจิตไปเกาะกับจิต แต่เป็นการใช้ปัญญารู้ว่ามีบางสิ่งที่ไปรู้ลมเข้าออกอยู่ สิ่งนั้นคือวิญญาณนั่นเอง

[หมวดธัมมานุปัสสนา]
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยใด ภิกษุ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;
ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนั้น เป็นผู้เข้าไปเพ่งเฉพาะเป็นอย่างดีแล้ว เพราะเธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสทั้งหลายของเธอนั้นด้วยปัญญา.
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ภิกษุนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้.
ภิกษุทั้งหลาย! อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าทำสติปัฏฐานทั้งสี่ให้บริบูรณ์ได้.
พุทธวจน อานาปานสติ หน้า ๓๐
(ภาษาไทย) อุปริ. ม. ๑๔/๑๕๖/๒๘๙.

สรุป กายานุปัสสนา คือ เราเป็นผู้รู้คอยดูลมหายใจ เวทนานุปัสสนา คือ เห็นสุขทุกข์ จิตตานุปัสสนา คือ เห็นผู้รู้ที่กำลังดูลมหายใจ ธรรมานุปัสสนา คือ เห็นผู้รู้ที่กำลังดูลมหายใจเกิดดับ(คือจิตไปคิดเรื่องอื่น)หรือเห็นลมหายใจเข้าในที่สุดก็ดับและเปลี่ยนเป็นลมหายใจออกเกิดขึ้นแทน

การที่ตาเห็นรูปแล้วเราไม่ปรุงแต่งต่อยังถือว่าเป็นกายานุปัสสนาคือรู้ว่าตาเห็นหรือเห็นก็สักแต่ว่าเห็น

อริยมรรคมีองค์ 8

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็ อริยสัจ คือหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้เอง องค์แปด คือ
ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)
ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)
วาจาชอบ (สัมมาวาจา)
การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)
อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ)
ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ)
ความระลึกชอบ (สัมมาสติ)
ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ)
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่า การงานชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันบาปทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่บังเกิดขึ้นแล้ว, นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสตินำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.
ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุ ว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส ในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขาแล้วแลอยู่, นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.
 ปฐมธรรม หน้า ๒๙๕
(ภาษาไทย) มหา. ที. ๑๐/๒๓๑/๒๙๙.

ปฏิจจสมุปบาท


ปฏิจจสมุปบาท คือ การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน

อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจสี่
สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง
นามรูป คือ มหาภูตทั้งสี่หรือดินน้ำลมไฟ(รูป) เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ(=การกำหนดไว้ในใจ) (นาม)
"เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" แปลว่าเพราะมีการรับรู้จึงมีตาหูจมูกฯ ไม่ได้หมายความว่าเพราะมีการรับรู้จึงมีลูกตากลมๆเกิดขึ้นมีจมูกที่อยู่บนหน้าฯ เปรียบเหมือนวัตถุที่ไม่มีตอนไม่มีแสง แต่พอมีแสงจึงมีวัตถุนั้นปรากฎขึ้น ถ้าเราไม่มีการรับรู้ลูกตาก็เป็นแค่ก้อนเนื้อ
ตัณหา คือ ความพอใจ
ภพ คือ สถานที่เกิด
ชาติ คือ การเกิด
สฬายตนะ(อายตนะภายใน) คือ ทวารต่างๆ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ตรงข้ามกับอายตนะภายนอก(รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์)
อุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่น คิดเอาเองว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
โสกะ คือ เศร้า
ปริเทวะ คือ ร้องไห้
อุปายาสะ คือ ความคับแค้นเคืองใจ

ความคิดคือสัญญา(ความจำ)กับสังขาร(การปรุงแต่ง)

เมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสายปฏิจสมุปบาทในนัยของอริยสัจสี่จะหลุดพ้นได้ เช่น เห็นอุปทานเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เห็นตัณหาเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป 

ใครเวียนไหว้ตายเกิด

ไม่ใช่วิญญาณ ๆ เกิดดับตลอดเวลา
สิ่งที่เวียนไหว้ตายเกิดคือ สัตว์ เป็นสัตว์ผู้มีอวิชชา หลงไปยึดกับขันธ์ทั้ง 5
การหลุดพ้นจากสังสารวัฎอันยาวนาน(น้ำตาของพวกเรามากกว่าน้ำในมหาสมุทร)ต้องไม่ยึดมั่นในขันธ์ห้าคือละอุปาทานในขันธ์ห้าเช่นเดียวกับพระอรหันต์ ซึ่งทำได้ด้วยมรรคมีองค์แปด
สัตว์ที่หมดอวิชชาแล้วด้วยมรรคมีองค์แปดเรียกว่า วิมุติญาณทัสสนะ
วิมุติญาณทัสสนะ เกิดไม่ปรากฎ เสื่อมไม่ปรากฎ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ นี่คือภาวะที่เรียกว่านิพพาน


อ้างอิงคำแปลมาจาก






วันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2558

พระไตรปิฎก VS พุทธวจนปิฎก

พุทธวจนปิฎกจะตัดเล่มที่เป็นพระอภิธรรมปิฎกออกเพราะเชื่อว่าเป็นคำของสาวก จึงเหลือรวมเพียง33เล่ม