วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประเภทของการวิจัย

  • แบ่งตามสาขา
  1. วิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ 
  2. วิจัยสาขาสังคมศาสตร์ ซึ่งรวมถึงเศรษฐศาสตร์ด้วย
(วิจัยสายวิทย์ฯ จะมีลักษณะสำคัญคือ based on fact คือวัดผลการวิจัยได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แต่วิจัยสายสังคม ส่วนใหญ่จะ based on opinion คือใช้แบบสอบถามความคิดเห็น จากนั้นจึงแปลง subjective data เป็น numerical data ด้วยหลักการทางสถิติ--Dr.Jiw)
  • แบ่งตามจุดมุ่งหมาย
  1. วิจัยบริสุทธิ์ (Pure/Basic research) เน้นสร้างองค์ความรู้ระดับทฤษฎี
  2. วิจัยประยุกต์ (Applied research) เน้นนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้จริงในทางปฎิบัติ เช่น R&D
  3. วิจัยปฎิบัติการ (Action research) ซึ่งรวมวิจัยชั้นเรียน (Classroom research) และวิจัยสถาบัน (Institutional research) อยู่ด้วย เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาในชั้นเรียน ปัญหาในสถาบัน
  • แบ่งตามลักษณะข้อมูล
  1. วิจัยเชิงปริมาณ (Quatitative research) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลเชิงตัวเลข
  2. วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลเชิงคุณลักษณะและเชิงบรรยาย 
  • แบ่งตามที่มาของข้อความรู้
  1. วิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research) เป็นการวิจัยแบบใช้ข้อมูลนำไปสู่คำตอบของการวิจัย เป็นการสร้างองค์ความรู้จากการสังเกตหรือการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (observation/experiment) เช่น ศึกษาลักษณะบริการคลาวด์จากหลายผู้ให้บริการและนำมาสรุปสร้าง taxonomy
  2. วิจัยแบบทางการ (Formal research) เป็นการวิจัยแบบใช้หลักตรรกศาสตร์สร้างคำตอบของการวิจัย เป็นการสร้างองค์ความรู้จากวิธีการทางทฤษฎี (theory)
  • แบ่งตามที่มาของข้อมูล 
  1. วิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจแล้วนำมาวิเคราะห์ตีความ
  2. วิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) รวบรวมข้อมูลโดยการควบคุมสภาพแวดล้อมอย่า่งใดอย่างหนึ่งและสังเกตอย่างยุติธรรม
  3. นอกจาก Pure survey และ Pure experiment แล้ว ยังอาจแบ่งได้เป็นกึ่งทดลองกึ่งสำรวจ เช่นวิจัยด้าน HCI (Human Computer Interface) ที่ต้องเขียนโปรแกรมสร้าง UI และประเมินความคิดเห็นผู้ใช้เป็นขั้นสุดท้าย
การวิจัยยังสามารถแบ่งด้วยเกณฑ์อื่นได้อีก เช่น วิธีวิจัย, เวลา เป็นต้น -- รศ. ดร. บุญมี พันธุ์ไทย