วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Balanced Scorecard

Balanced Scorecard เป็นกลยุทธ์ในการบริหารงานสมัยใหม่ และได้รับความนิยมไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย Balanced Scorecard ได้ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อปี 1990 โดย Drs. Robert Kaplan จาก Harvard Business School และ David Norton จาก Balanced Scorecard Collaborative โดยตั้งชื่อระบบนี้ว่า “Balanced Scorecard” เพื่อที่ผู้บริหารขององค์กรจะได้รับรู้ถึงจุดอ่อน และความไม่ชัดเจนของการบริหารงานที่ผ่านมา balanced scorecard จะช่วยในการกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการองค์กรได้ชัดเจน โดยดูจากผลของการวัดค่าได้จากทุกมุมมอง เพื่อให้เกิดดุลยภาพในทุก ๆ ด้าน มากกว่าที่จะใช้มุมมองด้านการเงินเพียงด้านเดียว อย่างที่องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่คำนึงถึง เช่น รายได้ กำไร ผลตอบแทนจากเงินปันผล และราคาหุ้นในตลาด เป็นต้น การนำ balanced scorecard มาใช้ จะทำให้ผู้บริหารมองเห็นภาพขององค์กรชัดเจนยิ่งขึ้น
Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น เมื่อองค์กรได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ Balanced Scorecard เต็มระบบแล้ว Balanced Scorecard จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ “การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ “การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร (nerve center of an enterprise)
Kaplan และ Norton ได้อธิบายถึงระบบ Balanced Scorecard ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้ ดังนี้
“Balanced Scorecard จะยังคงคำนึงถึงมุมมองของการวัดผลทางการเงิน (financial measures) อยู่เหมือนเดิม แต่ผลลัพธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นจะบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรในช่วงที่ผ่านมา บอกถึงเรื่องราวของความสามารถกับอายุของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ แต่มันไม่ได้บอกถึงความสำเร็จขององค์กร ที่จะมีต่อผู้ลงทุนที่จะมาลงทุนระยะยาวโดยการซื้อหุ้นของบริษัท และความสัมพันธ์ของลูกค้า (customer relationships) แต่อย่างใด จะเห็นได้ว่าเพียงการวัดผลทางการเงินด้านเดียวไม่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ใช้เป็นแนวทางและการตีค่าของผลการประกอบการขององค์กร ใช้เป็นข้อมูลที่จะเพิ่มมูลค่าขององค์กรในอนาคตและสร้างแนวทางสำหรับ ลูกค้า (customers), ผู้ขายวัตถุดิบหรือสินค้า (suppliers), ลูกจ้าง (employees), การปฏิบัติงาน (processes), เทคโนโลยี (technology), และ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
Balance Scorecard จะทำให้เราได้เห็นภาพขององค์กรใน 4 มุมมอง และนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือวัดผล โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ มุมมองทั้ง 4 ดังกล่าว ประกอบด้วย
1.       The Learning and Growth Perspective เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, การพัฒนาระบอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น =>เรามองว่าเป็นการพัฒนาต้นน้ำ
2.       The Business Process Perspective เป็นมุมมองด้านกระบวนการทำงานภายในองค์กรเอง เช่น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ, การจัดโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ, การประสานงานภายในองค์กร, การจัดการด้านสายงานผลิตที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น =>เรามองว่าเป็นการพัฒนากลางน้ำ
3.       The Customer Perspective เป็นมุมมองด้านลูกค้า เช่น ความพึงพอของลูกค้า, ภาพลักษณ์, กระบวนการด้านการตลาด, การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น  =>เรามองว่าเป็นการพัฒนาปลายน้ำ
4.       The Financial Perspective เป็นมุมมองด้านการเงิน เช่น การเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างผลิตน้อย, การหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ เป็นต้น  =>เรามองว่าเป็นการพัฒนา return จากปลายน่ำกลับสู่ต้นน้ำ
Balance Scorecard (BSC) นั้นได้รับการพัฒนามาโดยตลอด ทำให้ภาพของ BSC จากเพียงเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อวัดและประเมินผลองค์กร ไปสู่การเป็นเครื่องมือเชิงระบบสำหรับการวางแผนและบริหารยุทธศาสตร์ (Strategic Planning) โดยผู้พัฒนาเครื่องมือนี้ (Norton และ Kaplan) ยืนยันหนักแน่นว่า ความสมดุล (Balance) ในการพัฒนาองค์กรนั้น สามารถวัด และประเมินได้จากการมองผ่านมุมมองของระบบการวัดและประเมินผลใน 4 ด้านหลัก คือ
  1. มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F
  2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C
  3. มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)
  4. มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L
ดังนั้น BSC จึงเป็นเสมือนเครื่องมือหรือกลไกในการวางแผนและบริหารกลยุทธ์ที่มีการกำหนดมุมมองทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาองค์กร จนบรรลุแผนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ในที่สุด
 มุมมองทุกด้านจะมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นศูนย์กลาง และในแต่ละด้านจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ
- วัตถุประสงค์ (Objective) คือสิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการที่จะบรรลุในแต่ละด้าน
- ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators)คือ ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน และตัวชี้วัดเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละด้านหรือไม่
- เป้าหมาย (Target)คือ เป้าหมายหรือตัวเลขที่องค์กรต้องการจะบรรลุในตัวชี้วัดแต่ละประการ
- แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรม (Initiatives) ที่องค์กรจะจัดทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น โดยในขั้นนี้ยังไม่ใช่แผนปฏิบัติการที่จะทำ แต่เป็นเพียงแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เบื้องต้นที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
คำว่าสมดุล (Balance) ใน BSC หมายถึงอะไร
ด้วยเหตุที่หลายครั้งผู้พัฒนาและติดตั้ง BSC ในแต่ละองค์กรนั้น มุ่งแต่จะพยายามเติมเต็มมุมมองการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน (C-L-I-F) เท่านั้น โดยละเลยประเด็นที่ว่า แม้ว่าจะทำให้ทั้ง4 มุมมองนั้นครบถ้วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความสมดุลตามความมุ่งหมายของ BSC จะเกิดขึ้นได้     ความสมดุลนี้พึงต้องระลึกไว้อยู่เสมอในขณะพัฒนาและติดตั้ง BSC ว่าความสมดุลตามความมุ่งมาดคาดหมายของ BSC คือ ความสมดุล (Balance) ระหว่าง
  • จุดมุ่งหมาย (Objective) : ระยะสั้นและระยะยาว (Short - and Long - Term)
  • การวัดผล (Measure) : ทางด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (Financial and Non-Financial)
  • ดัชนีชี้วัด (Indicator) : เพื่อการติดตามและการผลักดัน (lagging and Leading)
  • มุมมอง (Perspective) : ภายในและภายนอก (Internal and External)
ซึ่งแน่นอนว่า หาก BSC ที่ทำการพัฒนาขึ้นและใช้ในองค์กร ไม่ได้พยายามทำให้เกิดความสมดุลดังกล่าวข้างต้น ก็ย่อมคาดหวังผลประโยชน์จากการทำ BSC ไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

แผนที่กลยุทธ์(Strategy Map) และ BSC

สิ่งที่คนในองค์กรจะเข้าใจเป้าหมายขององค์กรได้ง่าย ก็คือการ สร้าง map หรือ road map ที่แสดงเป็นขั้นตอนหรือเส้นทางที่จะดำเนินงาน  ซึ่งแผนการดำเนินงานขององค์กรภาวะที่มีข้อจำกัดและมีการแข่งขัน จึงต้องเป้นแผนที่กลยุทธ์ หรือแผนยุทธศาสตร์  การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของมุมมองทั้ง 4 และความสมดุลทั้ง 4 BSC ยังให้ความสำคัญต่อความเชื่อมโยงมุมมอง (Perspective) โดยนำเสนอใน 2 รูปแบบคือ
  แบบความสัมพันธ์ (Relation)
  แบบลำดับความสำคัญ (Priority) 
ทำไมองค์กรจึงจำเป็นต้องมีการนำ Balanced Scorecard มาใช้
จากผลการสำรวจบริษัทในประเทศสหรัฐฯ ของ CFO Magazine เมื่อปี 1990 พบว่า มีเพียง 10% เท่านั้นที่องค์กรประสบความสำเร็จด้านการใช้แผนกลยุทธ์ ทั้งนี้องค์กรส่วนใหญ่พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ดังนี้
1.       The Vision Barrier (อุปสรรคด้านวิสัยทัศน์) มีพนักงานที่เข้าใจถึงแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ตนเองทำงานอยู่เพียง 5%
2.       The People Barrier (อุปสรรคด้านบุคลากร) พบว่ามีพนักงานระดับผู้จัดการเพียง 25% ที่ให้ความสำคัญและบริหารงานตามแผนกลยุทธ์
3.       The Resource Barrier (อุปสรรคด้านทรัพยากร) พบว่ามีจำนวนองค์กรถึง 60% ที่ไม่ได้บริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
4.       The Management Barrier (อุปสรรคด้านการจัดการ) มีผู้บริหารองค์กรมากถึง 85% ที่ให้เวลาในการประชุมสนทนาในเรื่องแผนกลยุทธ์น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อเดือน

จากอุปสรรคข้างต้น เกิดจากบุคลากรในทุกระดับไม่เข้าใจ หรือมองเห็นภาพของแผนกลยุทธ์ขององค์กร ดังนั้นการทำงานจึงไม่สอดคล้องกับแผน ซึ่งในส่วนนี้เองที่ BSC จะช่วยให้ผู้บริหารได้มองเห็นภาพและเส้นทางที่กำหนดไว้ในแผนได้ชัดเจน บุคลากรทุกคนสามารถรับรู้ถึงกิจกรรมที่ตนเองจะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนระยะการพัฒนารูปแบบของ Balanced Scorecard สำหรับแต่ละองค์กร ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร แต่โดยทั่ว ๆ ไป ถ้าองค์กรนั้นมีการเขียนแผนธุรกิจอยู่เดิมแล้ว ก็อาจจะใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 6 เดือน
ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Balanced Scorecard 
    • ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน
    • ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานได้สอดคล้องกันตามแผน
    • ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร
    • ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม
    •  เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน 
    • สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล
อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts/317967

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เดินไปตามความฝันของคุณ อย่ายอมให้ใครขโมยมันไปได้

จากบทความเรื่อง "Follow your Dreams"
เด็กชายอายุ 16 ปี คนหนึ่ง ชื่อว่ามอนตี้
ซึ่งคุณครูสั่งให้เขียนเรียงความเรื่อง " โตขึ้นอยากเป็นอะไร "
มอนตี้ก็เขียนบรรยายไป 7 หน้ากระดาษถึงความฝันของเขา
ที่จะเป็นเจ้าของคอกม้า พร้อมด้วยบ้านพื้นที่ 4,000 ตารางฟุต
บนเนื้อที่ 200 เอเคอร์
เขาบรรยายพร้อมกับวาดแผนผังแสดงรายละเอียดไว้ทุกๆ ส่วน
แต่เมื่อเขานำไปส่ง กลับได้คะแนน " F "
และคุณครูเรียกให้ไปพบหลังเลิกเรียน
หลังเลิกเรียน มอนตี้ ก็เข้าไปพบคุณครู
และถามว่าทำไมเรียงความของเขาจึงได้ " F "
ก็ได้รับคำตอบว่าสิ่งที่เขาเขียนนั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เพราะมันต้องใช้เงินมากมาย
เกินกว่าฐานะของครอบครัวของมอนตี้จะสามารถทำได้
แม้ว่ามอนตี้จะชี้แจงให้ฟังว่ามันเป็นแค่ความฝันของเขา
แต่คุณครูไม่รับฟัง และขอให้มอนตี้ไปเขียนเรียงความมาใหม่
โดยขอให้เขียนถึงเรื่องที่มันพอจะเป็นไปได้บ้าง แล้วจะแก้คะแนนให้
มอนตี้ก็กลับบ้าน และนำปัญหานี้ไปปรึกษากับพ่อของเขา
ซึ่งพ่อของเขาก็ให้คำตอบว่า " เรื่องนี้พ่อคงช่วยอะไรลูกไม่ได้
มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกเอง แต่พ่อมีความรู้สึกบางอย่างว่า
การตัดสินใจของลูกครั้งนี้ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ต่ออนาคตของลูกอย่างแน่นอน"
มอนตี้ ใคร่ครวญกับเรื่องนี้อยู่เป็นสัปดาห์
ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจได้ เขานำเรียงความเรื่องเดิมไปส่งคุณครู
พร้อมกับพูดว่า " ให้คะแนน F กับผมก็แล้วกัน
ผมจะรักษาความฝันของผมไว้ "
มอนตี้เล่าเรื่องนี้ให้กับผู้มาเยือนเขาฟังพร้อมกล่าวว่า
"ที่ผมเล่าเรื่องนี้ให้พวกคุณฟัง เพราะว่าขณะนี้
คุณกำลังนั่งอยู่หน้าเตาผิงในบ้านพื้นที่ 4,000 ตารางฟุต
ซึ่งตั้งอยู่กลางคอกม้าเนื้อที่ 200 เอเคอร์
และเรียงความ 7 หน้ากระดาษนั้นได้ใส่กรอบเรียงอยู่เหนือเตาผิงนี้"
และเขาได้เล่าต่อว่า " สิ่งที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ
ในฤดูร้อนเมื่อสองปีที่แล้วคุณครูคนเดิมพาเด็กนักเรียน 30 คน
มาพักค้างแรมที่นี่เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
ก่อนจากไปท่านพูดกับผมว่า มอนตี้ สมัยครูเป็นครูของเธอ
ครูคงเป็นนักขโมยความฝัน ครูเสียใจนะที่
ครูได้ขโมยความฝันของเด็กๆ ไปตั้งมากมาย
แต่ครูก็ดีใจที่เธอไม่ยอมให้ครูขโมยความฝันของเธอ"
*****************************
อย่าปล่อยให้น้ำลายราคาถูก
มาทำลายความฝันราคาแพงของเราไป
และอย่าเอาแต่ฝัน ลงมือทำให้เป็นจริงด้วย

ความดัดจริตของสังคมไทย

1. คนดี = คนที่แต่งตัวดี
คนเลว = คนที่แต่งตัวไม่ดี
2. คนทำงานเก่ง แต่นำเสนอไม่เก่ง = ไม่เก่ง
คนทำงานไม่เก่ง แต่นำเสนอเก่ง = เก่ง
3. คนที่พูดมากกว่าทำ = คนฉลาด
คนที่ทำมากกว่าพูด = คนโง่
4. คนพูดเก่ง = คนเก่ง
คนฟังเก่ง = คนไม่เก่ง
5. คนดี = คนรวย มีคนนับหน้าถือตา
คนไม่ดี = คนจน ไม่น่านับถือ
6. คนจบ ดร. = ฉลาด
คนจบ ป.4 = โง่
7. พูดภาษาอังกฤษได้ แต่ทำงานไม่เป็น
= ผู้บริหาร เงินเดือนสูง
พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ทำงานเก่ง
= พนักงานระดับล่าง เงินเดือนน้อย
8. จบปริญญาจากเมืองนอก = เก่ง
จบปริญญาในเมืองไทย = ธรรมดา
9. ขับรถหรู แต่ยังอยู่ห้องเช่า = รวย
นั่งรถเมล์ แต่มีบ้านของตัวเอง = จน
10. ใช้ iPhone รุ่นล่าสุด = คนรวย
ใช้มือถือตกรุ่น = คนจน
ก็เพราะแบบนี้ คนสมัยนี้จึงแยกไม่ออกว่า ” อะไรดี อะไรเลว ”