วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

ความกล้าแสดงออกกำลังทำลายระบบอุปถัมภ์

  • ความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง คือระบบอุปถัมภ์ ผู้อาวุโสอุปถัมภ์ผู้น้อย (seniority) ผู้น้อยอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เอ็นดูผู้น้อย
  • การศึกษาสมัยใหม่มีค่านิยมเลียนแบบตะวันตกโดยส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก ซึ่งการกล้าแสดงออกทางความคิดเป็นเรื่องที่ดีทำให้ประเทศพัฒนาเร็ว แต่ถ้าขาดการให้คำแนะนำอย่างระมัดระวัง ความกล้าแสดงออก จะแรงจนกลายเป็นความก้าวร้าวต่อผู้ใหญ่ นำมาซึ่งความเสื่อมทางระบบอุปถัมภ์หรือศีลธรรม ผู้น้อยก้าวร้าว ผู้ใหญ่จึงเหินห่าง

วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

ทอดกฐินกับทอดผ้าป่า

  • ทอดกฐิน จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอนแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น นั่นคือ 1 เดือนหลังออกพรรษา 
    • หมายเหตุ วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) และวันออกพรรษา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8)
    • เหตุที่ทรงอนุญาตกฐิน: ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ วัดพระเชตวัน เขตพระนครสาวัตถี มีพระภิกษุชาวเมืองปาฐา (อยู่ด้านทิศปัจฉิม ในแคว้นโกศล) ประมาณ 30 รูป ล้วนถือธุดงควัตรทั้ง 13 ข้อ อาทิเช่น อารัญญิกังคธุดงค์ คือถือการอยู่ป่าเป็นวัตร, ปิณฑปาติกังคธุดงค์ คือถือการบิณฑบาตเป็นวัตร, และเตจจีวริกังคธุดงค์ คือถือผ้า 3 ผืน (ไตรจีวร) เป็นวัตร เป็นต้น อันมีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความตั้งใจจะพากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ซึ่งจำพรรษาในเมืองสาวัตถี แต่ต้องเดินทางไกล พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ ก็เผอิญถึงฤดูกาลเข้าพรรษาเสียก่อน เดินทางต่อไปไม่ได้ พระภิกษุเหล่านั้นจึงตกลงกันอธิษฐานใจอยู่จำพรรษา ณ เมืองสาเกต ตลอดไตรมาส ภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาด้วยมีใจรัญจวนว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใกล้ๆ ระยะทางห่างเพียง 6 โยชน์ แต่ก็ไม่ได้เฝ้าพระองค์ ครั้นล่วง 3 เดือน ออกพรรษาทำปวารณาเสร็จแล้ว ก็เดินทางไปเมืองสาวัตถีโดยเร็ว การที่พระผู้มีพระภาคทั้งหลายทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลายนั้น เป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้นพระพุทธองค์ได้ตรัสถามถึงสุขทุกข์และความก้าวหน้าแห่งการปฏิบัติธรรม ด้วยพระสุรเสียงที่เปี่ยมด้วยพระเมตตา พระภิกษุเหล่านั้นต่างพากันกราบทูลให้ทรงทราบถึงความลำบากตรากตรำในระหว่างเดินทางของตน เพราะอยู่ในช่วงฤดูฝน มีจีวรเก่า พากันเดินเหยียบย่ำโคลนตม จีวรเปรอะเปื้อนโคลนเปียกชุ่มด้วยน้ำฝน พระพุทธองค์ทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น และเห็นว่า “กฐินตฺถาโร จ นาเมส สพฺพพุทฺเธหิ อนุญฺญาโต” การกรานกฐินนี้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ได้ทรงอนุญาตมา ดังนั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว รับผ้ากฐินของผู้มีจิตศรัทธาถวายได้ เมื่อได้รับแล้วมีความสามัคคีร่วมกันทำให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย จะได้รับอานิสงส์หรือความยกเว้นในการผิดพระธรรมวินัย 5 ประการ นางวิสาขามหาอุบาสิกาได้ทราบพระบรมพุทธานุญาต และได้ถวายผ้ากฐินเป็นบุคคลแรก
    • วันที่รับกฐินได้ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาครบ 3 เดือนอยู่อย่างน้อย 5 รูป และแต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น
    • เนื่องจากกฐินทำได้เพียงปีละครั้ง จึงจัดว่าเป็นทานที่ทำได้ยาก นอกจากนี้ยังเป็นรูปแบบทานที่พระพุทธเจ้าทรงริเริ่มเองโดยไม่ได้มีอุบาสกอุบาสิการใดมาขอให้มี
  • ทอดผ้าป่า คล้ายกับการทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจํากัด คือสามารถทำได้ทุกฤดูกาล ไม่จำกัดเวลา คือทำได้ตลอดทั้งปี และวัดหนึ่งๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

Ontology

As part of knowledge engineering, ontology is A formal explicit description of concepts (classes) in a domain of discourse, properties of each concept, and (role) restrictions on properties. Ontology is composed of machine-interpretable definitions (i.e. ชื่อคลาสดต่างๆที่ประกอบกันเป็น ontology) of basic concepts in the domain and relations among them. To share common understanding of the structure of information among people or software agents is one of the more common goals in developing ontologies. (For example, suppose several different Web sites contain medical information or provide medical e-commerce services. If these Web sites share and publish the same underlying ontology of the terms they all use, then computer agents can extract and aggregate information from these different sites. The agents can use this aggregated information to answer user queries or as input data to other applications.) Information ontologies are normally described by means of visual languages, so that they can be easily understood by humans. A Mind Map is a good example of this type of visual language. Ontology is typically created with OWL (Web ontology language) automatically generated by using Protege tool, which can facilitate greater machine interpretability of Web content.

Source of reference: http://protege.stanford.edu/publications/ontology_development/ontology101-noy-mcguinness.html

Representation or specification of knowledge.

วิธีการประเมิน ontology ที่สร้างขึ้นมี 3 วิธี
  1. Application คือลองนำไปพัฒนาระบบจริง
  2. Data คือลองนำข้อมูลมาจัดเก็บลง ontology ว่าจัดเก็บได้ครบถ้วนหรือไม่
  3. Expert คือให้ผู้เชี่ยวชาญ 2-3 คนประเมิน
ภาษาที่ใช้ในการเขียน ontology คือ OWL และโปรแกรมสำหรับเขียน OWL คือ Protege freeware



การนำไปใช้งานนั้น เมื่อเรายัดเอา ontology ไปให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลแล้ว เราก็จะส่งข้อมูลให้มันนำไปเปรียบเทียบและใช้ความรู้นั้นทำการเชื่อมโยงโดยนำเอา keywords จากข้อมูลที่คนส่งคำถามเข้าไป แล้วอนุมานออกมาเป็นผลสรุปนำเสนอให้กับคนที่ป้อนข้อมูลถามระบบอีกที  - การอนุมาน(Inference) ไม่ใช่การดึงข้อมูลจากเงื่อนไขตรงๆ แบบ query ในฐานข้อมูล แต่การอนุมานจะใช้หลักความสัมพันธ์ของ class ต่างๆ มาประกอบกัน โดยที่ข้อมูลเงื่อนไขนำเข้านั้นจะครบหรือไม่ครบก็ได้ มันก็ยังสามารถประมวลผลเพื่อนุมานได้ นอกจากนี้มันยังมี rule มาช่วยในการอนุมานอีกด้วยทำให้มันมีความเป็นอัจฉะริยะมากกว่าเดิมมาก เช่น คนป้อนข้อมูลนำเข้า ป้อนแค่ profile ของของตนเอง ซึ่งจะป้อนครบหรือไม่ก็ตาม ระบบก็จะนำไปประมวลผลเพื่ออนุมานตามความรู้ที่มันมี(ontology) แล้วสรุปมาเป็นคำเสนอแนะ หรือช่วยคนตัดสินใจบางอย่าง เช่น ถ้าระบบนี้เป็นระบบให้คำเสนอแนะเกี่ยวกับสุขภาพ มันก็อาจให้ข้อมูลว่าคนที่ป้อนข้อมูลมานั้นมีสุขภาพเป็นอย่างไร มีความเสี่ยงเป็นโรคอะไรไหม และเสนอว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้น ซึ่งถ้าเป็นฐานข้อมูลปกติคงต้องเก็บข้อมูลมากมายมหาศาลเพื่อรองรับทุกๆ เงื่อนไข และเสนอผลลัพธ์จาก algorithm ที่ผู้เขียนโปรแกรมเขียนขึ้น ถ้าจะให้เก่งขึ้นอีกก็ต้องแก้รื้อโปรแกรมใหม่ แม้จะเพิ่มข้อมูลด้านสุขภาพเพิ่มเติมก็ต้องทำโปรแกรมใหม่ แต่ถ้าใช้ ontology ตัวโปรแกรมไม่ต้องแก้ แค่เราเพิ่มความรู้เข้าไปใน ontology หรือเพิ่ม rule เข้าไปใน ontology คอมพิวเตอร์ก็จะฉลาดขึ้นทันที ตัวอย่างที่ดีมากๆ อีกตัวอย่าง คือ กรณีที่เรามีความรู้ว่า A เป็นพี่ชาย B และ C เป็นลูกของ B ถ้าเป็นฐานข้อมูล เราก็จะ query ก็ได้ข้อมูลเพียงเท่านี้ ไม่มากกว่านี้ จะถามว่าใครเป็นหลานใครจะใช้ query ธรรมดาก็ไม่ได้ข้อมูลเพราะไม่ได้เก็บข้อมูลเอาไว้ ถ้าจะให้คอมฯ ตอบคำถามนี้ได้ก็ต้องไปเขียนโปรแกรมเพิ่ม งั้นถ้าในเวลาต่อมาเกิดมีคนถามอีกว่าใครเป็นลุง(uncle) จากฐานข้อมูลก็ไม่มีอีก ถ้าจะแก้ไขฐานข้อมูลเลยก็อาจถึงขั้นต้องออกแบบฐานข้อมูลใหม่เพื่อรองรับคำถามใหม่ๆ เหล่านี้ ทั้งๆ ที่มีข้อมูลพื้นฐานพออยู่แล้ว หรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก็ไปแก้โปรแกรมใหม่อยู่ดี แบบนี้แสดงว่าคอมพิวเตอร์มันไม่ฉลาด อนุมานไม่เป็น แต่หากเราเขียน rule เข้าไปเพิ่มจากฐานความรู้เดิมที่มีอยู่ คำถามพวกนี้สามารถตอบได้ทันที โดยไม่ต้องไปรับแก้ ontology เพียงแต่เขียน SWRL สร้าง rule ใหม่ๆ ได้ตลอด

สรุป SWRL คือภาษาที่ใช้เขียน rules ที่ใช้หาข้อสรุป (อนุมาน) โดยอาศัยความรู้ที่อยู่ใน ontology และยังเป็นภาษาที่ใช้สืบค้นข้อมูลใน ontology ได้ด้วย

Rule engine ที่ใช้ประมวลผล SWRL ก็คือ JESS

และถ้าต้องการพัฒนา Java application ที่ใช้ ontology สามารถใช้ Jena เป็น Java framework ในการ access ontology และทำงานร่วมกับ JESS ได้ทันที

--http://mrkrich.blogspot.com

Corpus = a collection of written and spoken language stored on computer and used for language research  เช่น UMLS (Unified Medical Language System)

Inference = The process by which a conclusion is inferred from multiple observations, called inductive reasoning.



วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

ข้อคิด

  1. ประเมินคุณค่าของการให้ อภัย ให้สูง
  2. ฟังให้มากแล้วจะได้คู่สนทนาที่ดี
  3. ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง หากมีใครตำหนิและรู้แก่ใจว่าเป็นจริง
  4. ยามทะเลาะกัน ผู้ที่เงียบก่อนคือผู้ที่มีการอบรมสั่งสอนที่ดี
  5. ชีวิตนี้ฉันไม่เคยต้องทำงานเลยสักวัน ทุกวันเป็นวันสนุกหมด
  6. เป็นหน้าที่ของเราที่จะพูดให้คนอื่นเข้าใจ ไม่ใช่หน้าที่ของคนอื่นที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราพูด
  7. ฟันร่วงเพราะมันแข็ง ส่วนลิ้นยังอยู่เพราะมันอ่อน
  8. ระลึกถึงความตายวันละ 3 ครั้ง ชีวิตจะมีสุข มีอภัย มีให้
  9. ถ้าติดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดต่อๆ ไปก็ผิด
  10. จงเป็นน้ำครึ่งแก้วตลอดชีวิต เพราะเรียนรู้เพิ่มเติมได้ตลอด
  11. ต้องสลายตัวตนมานะอัตตา จะทำให้สามารถเรียนรู้ปัญญาใหม่ๆ ได้

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

อย่าส่งจิตออกนอก

จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย มีผลเป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นมรรค มีผลเป็นนิโรธ
--หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

ตักบาตรพระล้านครั้ง

ไม่เท่ายื่นอาหารให้พ่อแม่เพียงครั้งเดียว

จดหมายที่ส่งแล้วไม่มีผู้รับ

ก็ส่งกลับไปยังผู้ส่งฉันใด เปรียบเหมือนคำพูดด่าทอที่เราไม่รับ ก็กลับไปหาผู้พูดฉันนั้น

สุนัขไล่กัดเนื้อ

สุนัขวิ่งวนไล่กัดเนื้อที่ผูกอยู่บนหลัง กัดเท่าไรก็ไ่ม่โดน วิ่งวนไม่จบไม่สิ้น น่าสงสาร เปรียบเหมือนผู้ตกเป็นทาสกระแสวัตถุนิยม ถูกหลอกให้เสพค่านิยมแทนที่จะเสพคุณภาพบนความพอเพียง จึงต้องก้มหน้าก้มตาทำงานเพื่อไล่ซื้อวัตถุตามกระแสไม่จบไม่สิ้นเพื่อให้ตนทันสมัยที่สุด ไล่งับความทันสมัยทั้งชีวิตก็ไม่มีทางตามทัน
ความเจริญทางวัตถุนำมาซึ่งความโลภและความเสื่อมในศีลธรรมของประชาสังคม

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสีู่้

  1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในกาย โดยลมหายใจเข้าออก, โดยอิริยาบถ, โดยอาการ 32 เช่น เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ หรือผม ขน เล็บ ฟัน ว่าเป็นของปฏิกูล, โดยธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ, โดยความเป็นซากศพรูปแบบต่างๆ เช่น เน่าพอง, ขาดกลางตัว ผู้มีตัณหาจริตคือโลภอยากมีอยากเป็นรวมถึงอยากสงบ ให้ใช้กายานุปัสสนาฯ
  2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข)
  3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในจิต (จิตจะอยู่กับความรู้สึกนึกคิด ณ ขณะนั้นเสมอ เช่น นึกขี้เกียจ อิจฉา โกรธ เป็นต้น จึงต้องปฏิบัติโดยตั้งสติระลึกรู้ที่ความรู้สึก) อาจเริ่มต้นโดยการพยายามดูจิตตามหลักอานาปานสติผ่านลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็นการเห็นจิต ถ้าการระลึกรู้ลมหายใจหายไปก็แสดงว่ากำลังฟุ้งซ่านติดอารมณ์อยู่ ผู้มีทิฎฐิจริต เช่น ชอบแสดงความคิด  การโต้เถียง เจ้าอุดมการณ์ ให้ใช้จิตตานุปัสสนาฯ สรุปคือให้คอยดูโลภ โกรธ หลง
  4. ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในธรรม ได้แก่ อนิจจัง, วิราคะ (การจางคลาย), นิโรธ (ความดับไม่เหลือ) และปฏินิสสัคคะ (การละสละคืนไม่นำมาเป็นของของตน) หรือดูนิวรณ์ 5 ว่าเกิดขึ้น ทำไงจึงหายไป ทำไงจึงไม่เกิดขึ้นอีก
--ดัดแปลงจาก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

นัตถิ สันติ ปรมัง สุขัง

นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ แปลว่า สุขอื่นจากความสงบ   ย่อมไม่มี

ที่มา: พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓

                     นตฺถิ  ราคสโน  อคฺคิ         นตฺถิ  โทสสโม  กลิ
                     นตฺถิ  ขนฺธาทิสา  ทุกฺขา     นตฺถิ  สนฺติปรํ  สุขํ.

                    " ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี, โทษเสมอด้วย
                     โทสะ ย่อมไม่มี, ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์
                     ย่อมไม่มี,    สุขอื่นจากความสงบ   ย่อมไม่มี."