- ความหมายของสมาธิ คือ ตั้งใจมั่นอยู่ในเรื่องที่ต้องการเพียงเรื่องเดียว ไม่คิดฟุ้งซ่านออกไป และต้องมีในกิจการทุกอย่าง
- วัตถุประสงค์ สมาธิต้ิองมีการหัดให้แข็งแรง เพราะสมาธิที่มีอยู่ตามธรรมดายังไม่พอ ดิ้นรนกวัดแกว่งง่าย หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรืออาตยนะทั้งหก วัตถุประสงค์ของการหัดทำสมาธิคือ 1) เพื่อฝึกใจให้มีพลังสมาธิมากขึ้นเพื่อใช้ประกอบการงานที่พึงจะทำให้ดีขึ้น 2) เพื่อระงับอารมณ์และกิเลสที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ผู้ฝึกสมาธิดีแล้วจะระงับใจได้ดี ไม่ลุอำนาจของอารมณ์ของกิเลส ความรัก ความชัง ความหลง สามารถสงบใจตัวเองได้ ไม่มาเป็นอันตรายต่อการเรียน การงาน กฎหมายศีลธรรม เพราะเมื่อจิตประกอบด้วยราคะหรือโลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็เป็นจิตที่ลำเอียง ไม่รู้อะไรตามจริง สันนิษฐานให้ถูกตามจริงก็ไม่ได้ กล่าวคือเมื่อจิตมีราคะหรือโลภะอันเป็นกิเลสให้ยึดติดในฝ่ายที่ชอบ เมื่อชอบสิ่งใดแล้วก็ย่อมลำเอียงไปในสิ่งนั้น เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดีโดยมาก เป็นการบังปัญญาคือความรู้เห็นตามความเป็นจริง
- ประเภทของกรรมฐานมีสองแบบ คือ สมถกรรมฐาน แปลว่าที่ตั้งของการงานทางใจซึ่งจะทำให้สงบหรือเป็นสมถะ กับวิปัสนากรรมฐาน แปลว่าที่ตั้งของการงานทางใจอันทำให้เกิดวิปัสสนาคือความรู้แจ้งเห็นจริง ต้องดำเนินสมถกรรมฐานก่อนเพื่อให้จิตสงบจากราคะ จากนั้นดำเนินวิปัสนากรรมฐานเพราะจิตที่ปราศจากความลำเอียงจะพิจารณาดูอะไรจะเห็นแจ่มแจ้งตามจริง
- วิธีการทำสมถกรรมฐาน
- นั่งขัดสมาธิหรือขัดบัลลังก์ขวาทับซ้ายหรือจะนั่งพับเพียงก็ได้สุดแล้วแต่ความสะดวก
- สร้างที่พึ่งของจิตใจเหมือนเป็นแผ่นดินสำหรับเหยีบ โดยการระลึกคุณพระรัตนตรัยคือ พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้จริง พระธรรมเป็นทางปฏิบัติให้สิ้นกิเลสได้จริง และพระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตามพระธรรมจนบรรลุผลได้จริง
- อธิฐานเบญจศีลเพื่อให้ศีลเกิดขึ้นในใจ โดยการตั้งจิตอธิษฐานงดเว้นการฆ่าสัตว์ การลักขโมย การประพฤติผิดในกาม การพูดจามุสา และการเสพสุราของมึนเมาอันเป็นที่เหตุแห่งความประมาท
- กำหนดที่ตั้งมั่นของใจ โดยสามารถตั้งไว้ที่กาย ที่เวทนา ที่จิต หรือที่ธรรมะ ในขั้นต้นให้ใช้ที่ตั้งกายโดยตั้งจิตไว้ที่ลมหายใจเข้าออก มีสติกำหนดลมหายใจหใ้รู้ว่าเข้าหรือออกที่ปลายจมูก จากนั้นกำหนดให้ละเอียดลงไป หายใจเข้ายาวก็ให้รู้ ออกยาวก็ให้รู้ ไม่ต้องบังคับลม เพียงให้รู้ จากนี้พระสูตรสอนให้สำเหนียกคือรู้กายทั้งหมดทั้งส่วนนามกายคือสติขณะนั้นเป็นอย่างไรและรูปกาย มีอิริยาบถอย่างไร จากนั้นหายใจเข้า และรู้กายทั้งหมดอีกครั้ง และหายใจออก จนจิตสงบ ลมหายใจจะละเอียดจนรู้สึกเหมือนไม่หายใจ แต่ไม่ต้องตกใจเพราะยังหายใจอยู่นั่นเอง กำจัดความยินดียินร้ายคือเมื่อประสบอารมณ์กรรมฐานที่น่ายินดีก็ต้องคิดว่านั้นเป็นสัญญาหรือของหลอกทั้งหมด ไม่ใช่ความจริง เมื่อปรากฎนิมิตน่ากลัวก็มีสติรู้ว่าของหลอกเช่นกัน ให้มีสติกลับมาอยู่ในที่ตั้งเสมอ การเจริญสมถกรรมฐานจะตันอยู่แค่นี้ ระดับสูงกว่านี้คือการฝึกวิปัสนากรรมฐาน (ข้อมูลเพิ่มเติมโดยสังเขป)
- คำแนะนำทั่วไป การทำสมาธิต้องมีอาตาปะหรือความเพียร คือ ตั้งใจ และมีสัจจะไม่เหลาะแหละเรื่องกำหนดการทำสมาธิ มีสติคือความกำหนดรู้ระลึกอยู่ลมหายใจปลายจมูกให้มั่นไม่ปล่อยให้สติเลื่อนลอย มีสัมปชัญญะ คือ การตระหนักรู้หรือความรู้ตัวไม่เผลอหลับ
จากการสนทนาระหว่างผู้เขียนกับพระอาพาธรูปหนึ่งที่ รพ.จุฬา ผู้ซึ่งเคยปฏิบัตินิโรธสมาบัติสามวันต่อเนื่องกันได้แนวปฎิบัติต่มาว่าหลังเจริญสมถกรรมถานจนนิ่งแล้วก็ให้ต่อด้วยวิปัสนากรรมฐานในขณะนั้นต่อเนื่องไปเลย ตอนปฎิบัติสมถกรรมฐานอาจต้องถวายชีวิตเพื่อให้ข้ามนิวรณ์ไปได้จนสลบไปหลายรอบฟื้นแล้วปฏิบัติต่อ ท่านเล่าต่อว่าเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติจะรู้สึกหิวทันที