ไตรจีวร, อังสะ, บริขาร
- จีวร คือ ผ้าห่ม เรียกว่า อุตราสงค์ ทำหน้าที่เป็นเสื้อโค้ต
- สบง คือ ผ้านุ่ง เรียกว่า อันตรวาสก ทำหน้าที่เป็นกางเกง
- สังฆาฏิ คือ ผ้าซ้อน (ปัจจุบันใช้พาดบ่า) ทำหน้าที่เป็นผ้าคลุมสำหรับป้องกันความหนาวในฤดูหนาว เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ เช่น ห่มแทนจีวร ทำเป็นผ้ากันแดดได้ ปัจจุบันพระสงฆ์ไม่ได้ใช้ห่มซ้อนกับจีวรเหมือนก่อน ด้วยอยู่ในในถิ่นที่อากาศไม่หนาวจนเกินไป แต่พับแล้วพาดเก็บไว้บนบ่าเพื่อความสะดวกในเวลาเดินทาง จนกลายเป็นผ้าพาดบ่าไป
- อังสะ เป็นผ้าที่มีลักษณะเหมือนสไบเฉียงของผู้หญิง มีวัตถุประสงค์เหมือนเสื้อกล้ามหรือเสื้อชั้นใน ใช้สวมใส่ขณะอยู่ตามลำพังหรือทำงานเพื่อไม่ให้ดูเปลือยกายท่อนบน สมัยพุทธกาลไม่ปรากฏว่ามีการใช้ผ้าอังสะ อังสะไม่รวมอยู่ในบริขาร 8
- บริขาร อ่านว่า บอริขาน หมายถึงเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็นของภิกษุซึ่งมี 8 อย่าง เรียกว่าอัฐบริขาร (อ่านว่า -อัดถะ) แปลว่าบริขาร 8 คือสบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อน) บาตร มีดโกน เข็ม ประคดเอว ธมกรก (ที่กรองน้ำ)