วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยี 3G (& 4G)

สถานการณ์ในแต่ละประเทศ
  • ญี่ปุ่นประกาศใช้เชิงพาณิชย์เป็นที่แรกในปี 2544 ตามด้วยอังกฤษ และเกาหลีใต้ ออสเตรเลีย อเมริกา และยุโรป ตามลำดับ
  • กัมพูชาเปิดให้บริการ 3G ในปี 2549 โดยมีผู้ให้บริการ 4 รายแต่ค่าบริการและมือถือมีราคาแพงเมื่อเทียบกับรายได้ประชาชน จึงมีผู้ใช้น้อย
  • ลาวให้บริการ 3G ครั้งแรกในปี 2551 แต่ปัญหา 3G ในลาวคือมี Infra และ App พร้อมแต่ขาด Content ภาษาลาวรวมทั้งค่าบริการและค่าอุปกรณ์มือถือยังแพงไป
  • เวียดนามประกาศให้ใบอนุญาต 3G ไตรมาสสอง 2552
  • สถาณการณ์ในไทย กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เริ่มดำเนินการโครงการ 3G ตั้งแต่ปี พศ 2548 และปัจจุบันกำลังส่งเรื่องให้กรรมธิการกฤษฎีกาตีความอำนาจและหน้าที่ของกทช. ในการออกใบอนุญาต 3G จากนั้นจึงจะเริ่มการประมูลใบอนุญาตการจัดสรรคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G (ในช่วงคลื่นความถี่ 2.1 GHz) ได้ ในประเทศญี่ปุ่นกับสิงค์โปรจะไม่ใช้วิธีการประมูลอย่างไทยซึ่งเหมือนอังกฤษและเยอรมันโดยจะคัดเลือกจากข้อเสนอเรื่องคุณภาพการให้บริการเป็นหลัก (ตรวจสอบสถานการณ์ล่าสุดในหัวข้อด้านล่าง)
  • ในปี ค.ศ. 2010 เทคโนโลยี 3.9G ที่ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงถึง 150 Mbps ชื่อ Long Term Evolution (LTE) กำหนดจะเปิดใช้งานในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกที่เริ่มอิ่มตัวกับความเร็วของ 3G ขั้นต้น (แบบ HSPA ให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงสุดที่ 21 Mbps ถ้าเป็น HSPA+ จะให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลถึง 28 Mbps) รวมทั้ง สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน และวงการโทรคมนาคมของหลาย ๆ ประเทศ ขณะนี้ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยี LTE สู่ LTE Advance ที่ให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูงถึง 500 Mbps หรือ เทคโนโลยี 4G; LTE เป็นเทคโนโลยีที่กลืน WiMax เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานทำให้ WiMax ถูกทดแทนด้วย 4G ในที่สุด
โอเปอร์เรเตอร์ไทย
  • บริษัท ทีโอที เป้าหมายหลักวันนี้คือต้องการยืดเวลาการประมูล 3G ของกทช.ออกไปให้นานที่สุด เพื่อให้บริการ 3G ของตัวเองมีเวลาสร้างฐานลูกค้า โดยเริ่มปฐมบทในวันที่ 3 ธ.ค. เปิดให้บริการในกทม.และปริมณฑลก่อน บริการดังกล่าวเป็นลักษณะ MVNO (mobile virtual network operator: a company that provides mobile phone service but does not have its own licensed frequency allocation of radio spectrum, nor does it necessarily have all of the infrastructure required to provide mobile telephone service.) ผ่านบริษัท สามารถ ไอโมบาย, Loxley, บริษัท 365 คอมมูนิเคชั่น จำกัด, IEC และ เอ็ม คอมมูนิเคชั่น บนคลื่นความถี่ 1900 MHz และ 2100 MHz ซึ่ง MVNO ทั้งหมดไม่สามารถให้บริการจริงได้ในวันเปิดตัวดังกล่าวเนื่องจากปัญหาหลายประการที่ต่างกันไป (TOT 3G ใช้ย่านความถี่ในการให้บริการคือ 1965-1980 MHz และ 2155 – 2170 MHz โดยมีความกว้างแถบคลื่น (Bandwidth) 15+15 MHz ตามมาตรฐานของ 3G คือ 1920-1980 MHz. และ 2110-2170 MHz โดยมีความกว้างแถบคลื่น (Bandwidth) 60+60 MHz ซึ่งระบบ 3G ของทีโอทีถือเป็น 3G ของแท้ที่ใช้ความถี่ย่านมาตรฐานต่างจากโอเปอเรเตอร์รายอื่นที่ทดสอบหรือให้บริการในวงจำกัดขณะนี้)
  • บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะเป็นผู้ให้บริการรายเดียวที่มีสองเทคโนโลยี 3G คือ CDMA / EV-DO ซึ่งได้ให้บริการเป็นเวลาหลายปีมาแล้วภายใต้ชื่อ แคท ซีดีเอ็มเอ (แต่ให้บริการอยู่ 51 จังหวัดยกเว้นภาคกลาง ซึ่งกำลังดำเนินการซื้อกิจการของบริษัทฮัทช์ซึ่งให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบซีดีเอ็มเอใน 25 จังหวัดภาคกลาง โดยฮัทช์ต้องอัพเกรดระบบให้เป็นซีดีเอ็มเอ อีวีดีโอ รองรับการใช้งาน 3จี) ด้วยความเร็ว 3.1Mbps กับเทคโนโลยี WCDMA บนความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ที่จะประมูลไลเซ่นส์ กทช. กสท จะต้องสูญเสียรายได้ หากเอกชน เช่น AIS ประมูลใบอนุญาต 3 Gได้ แล้วย้ายฐานลูกค้าเดิมที่อยู่ภายใต้บริการ 2 G ซึ่งเป็นการรับสัมปทานจาก กสท ไปยังบริการ 3 G
  • ทรูมูฟเป็นโอเปอเรเตอร์อีกรายที่ต้องการ 3G บนความถี่มาตรฐาน เพราะทุกวันนี้ได้แค่ทดสอบและเปิดให้ทดลองใช้โดยอาศัยความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ของกสท ซึ่งคาราคาซังไม่สามารถเปิดบริการเชิงพาณิชย์เก็บเงินได้ เนื่องจากต้องผ่านการพิจารณาคณะกรรมการตามพรบ.ร่วมทุนปี 2535 ทรูมูฟเป็นโอเปอร์เรเตอร์สัญชาติไทยที่เหลืออยู่เพียงรายเดียว และปลายปี 2556 สัมปทานคลื่นความถี่ของ กสท จะหมดสัญญา ทำให้ กสท และทรูต้องคืนคลื่นความถี่นี้ให้ กสทช ไปประมูลใหม่
  • ดีแทคเป็นโอปอเรเตอร์ที่จะมีความถี่ 3G สองย่านคือ 850 เมกะเฮิรตซ์ที่เปิดทดลองให้ใช้อยู่ในปัจจุบันและ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ในอนาคตที่ได้จากการประมูล โดยย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ เป็นบริการ HSPA ที่เปิดให้กลุ่มเป้าหมายทดสอบอยู่ ซึ่งการใช้งานอยู่ในระดับน่าพอใจอย่างมาก เหลือแต่เพียงขั้นตอนตามพรบ.ร่วมทุนปี 2535 เท่านั้นที่ยังทำให้ไม่สามารถเก็บค่าบริการได้ 
  • ปัจจุบันโอเปอร์เรเตอร์ายใหญ่อย่าง AIS ได้เปิดให้บริการ 3G ในปี 2551 ด้วยคลื่นความถี่ 900 MHz (HSPA) สำหรับ AIS แต่ประสิทธิภาพยังไม่ดีเท่าของ DTAC และในกลางเดือน มค. 2553 ได้ร่วมมือกับ TOT ในการให้บริการ 3G ซึ่ง TOT ได้ให้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน ธค ปีที่แล้วผ่าน MVNO
      แม้หลายโอเปอเรเตอร์จะมีย่านความถี่ของตนให้บริการ 3G โทรศัพท์มือถือ 3G ส่วนใหญ่ทั่วโลกรองรับย่านความถี่ 2.1 GHz การที่ต้องซื้อเครื่องโทรศัพท์ที่รองรับย่านความถี่อื่นเพื่อใช้บริการของโอเปอเรเตอร์เฉพาะรายเป็นการจำกัดผู้ให้บริการทำให้เกิดผลเสียต่อผู้บริโภค ดังนั้นเหล่าโอเปอเรเตอร์จึงต้องประมูลคลื่นความถี่นี้
    ความคืบหน้าอย่างเป็นทางการล่าสุดของไทย
    • พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) กล่าวถึงความคืบหน้ากระบวนการออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ว่ากรอบระยะเวลาน่าจะจัดให้มีการประมูลได้เสร็จสิ้นภายในเดือนก.ย.ที่จะถึงนี้ โดยระหว่างเดือนมิ.ย.-พ.ค. จะเป็นการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและจัดเตรียมกฏกติกาที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการแข่งขัน หลังจากนั้นคาดว่าจะประกาศหลักเกณฑ์การออกใบอนุญาต 3G ลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วเริ่มกระบวนการประมูลจากเดือน ส.ค.- ก.ย.นี้
    • กทช. อัพเกรดโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G เป็น 3.9 G ความเร็วเพิ่มขึ้น 20 เท่า: พันเอกนที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการ 3G เปิดเผยว่า หลังจากที่คณะกรรมการ 3G ได้หารือในที่ประชุมเรื่องการเปิดให้บริการโครงข่ายระบบ 3G นั้น ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันที่จะอัพเกรดหรือเพิ่มขีดความสามารถโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3G ให้มีความเร็วสูงขึ้นอีก 20 เท่า คือปรับเป็นระบบ 3.9 G เนื่องจากมองว่าระบบโทรศัพท์ 3G ค่อนข้างล้าสมัยไปแล้วในปัจจุบัน ประกอบกับประเทศไทยมีศักยภาพของระบบโทรคมนาคมเพียงพอที่จะเปิดให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์ระบบ 3.9 G ได้ โดยหลังจากนี้ จะเปิดรับฟังความคิดเห็นหลักเกณฑ์และราคาใบอนุญาตจากทุกภาคส่วนในเดือนมิถุนายนและกรกฏาคมนี้ พร้อมออกใบอนุญาตโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3.9 G จำนวน 3 ใบให้แล้วเสร็จในเดือนกันยายน และมั่นใจว่าจะสามารถเปิดให้บริการโครงข่าวโทรศัพท์ระบบ 3.9G ทั่วประเทศได้ภายในสิ้นปี 53 นี้อย่างแน่นอน
    • 4 มิ.ย.2553 กทช. และ ประธานคณะกรรมการ 3.9 จี จัดประชุมวาระพิเศษ และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพิจารณาแนวทางการอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอเอ็มที (IMT หรือ 3G and beyond) โดยนำหัวข้อในการพิจารณาให้ใบอนุญาต(ไลเซนส์) ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอเอ็มที บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ ครอบคลุมการให้บริการระบบ 3จี- 3.9จี ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ 3จีแล้ว รวมทั้งได้เปิดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อยจากผู้ประกอบการ และผู้บริโภคแล้วเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา นำเสนอต่อที่ประชุม กทช. เพื่อพิจารณา ซึ่ง กทช.ศึกษาการให้ใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไอเอ็มที มา 5 ปีแล้ว การที่ กทช. ออกใบอนุญาตครอบคลุมเทคโนโลยีระบบ 3จี-3.9จี จะทำให้ผู้ประกอบการลงทุนทำโครงข่ายตั้งแต่ 3.5จี -3.9จี เพราะการอัพเกรดเทคโนโลยีจาก 3.5จี เป็น 3.9จี ทำได้ง่ายและใช้ต้นทุนน้อยกว่า เบื้องต้นคณะกรรมการ 3จี กำหนดมูลค่าคลื่นความถี่จากรูปแบบการให้ใบอนุญาต 3จีของ 69 ประเทศ กว่า 159 ใบอนุญาต อยู่ที่ 80% หรือราคาประมาณ 1-1.3 หมื่นล้านบาท คิดจากมูลค่าคลื่นความถี่จริง สำหรับประเทศไทย คาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท กรรมการ กทช. กล่าวด้วยว่า วาระที่คณะกรรมการ 3จี จะนำเสนอให้กทช.พิจารณา ประกอบด้วย คลื่นความถี่ที่จะให้ใบอนุญาต จำนวนใบอนุญาต วิธีการอนุญาต มูลค่าใบอนุญาต กระบวนการอนุญาต และสิทธิ หน้าที่ เงื่อนไขผู้รับใบอนุญาต โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในวันนี้
    • การประมูลใบอนุญาตจะต้องเกิดขึ้นในเดือน กย 53 นี้ มิเช่นนั้นอาจต้องรออีก 1-2 ปี เพราะปลายปีจะมีการออก กม. การควบรวม กทช และ กสช เป็น กสทช ทำให้คณะทำงานการออกใบอนุญาต 3G เป็นโมฆะไป ซึ่งจะต้องใช้เวลา 1-2 ปีกว่า กสทช จะลงตัวพร้อมดำเนินงานเรื่องการออกใบอนุญาตต่อ
    • 23 ก.ย. ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งศาลให้ กทช. ระงับการออกใบอนุญาตคลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ IMT ย่าน 2.1 GHZ หรือ 3G ต้องรอกฎหมายเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสร็จคาดว่าภายในปีนี้ เพราะเมื่อมี กสทช.แล้วก็ต้องกฎหมายเกี่ยวกับกิจการโทรคมนามตามมาอีก ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกพอสมควร
    • หลังพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม หรือ พ.ร.บ.กสทช. ผ่านการพิจารณาจากสภาฯ เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายน ล่าสุดเมื่อ19 ธ.ค. 2553 มีการประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว และภายใน 180 วัน จะมีการตั้งคณะกรรมการ กสทช. เพื่อทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติคลื่นความถี่ โดยเฉพาะการออกใบอนุญาตให้บริการโทรศัพท์ 3G บนเครื่อง 2.1 กิกกะเฮิร์ทซ  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. กล่าวว่า หลัง พ.ร.บ.นี้มีผลบังคับใช้ ทำให้ กทช.ต้องรักษาการเป็น กสทช.และต้องทำหน้าที่ที่ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าว  เลขาธิการกทช. (ในฐานะเลขาธิการ กสทช.) ยังมีประกาศเรื่องการเปลี่ยนแปลงสำนักงานกสทช. ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงานและลูกจ้าง และเงินงบประมาณ ของสำนักงาน กทช. ไปเป็นของสำนักงาน กสทช. ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป (โดยความในมาตรา 56 มาตรา 60 และมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื้นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้บัญญัติให้มีสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) โดยมี เลขาธิการ กสทช.รับผิดชอบงานของสำนักงาน กสทช. และให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หนี้ พนักงานและลูกจ้าง และเงินงบประมาณ ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติที่มีอยู่ไปเป็นของสำนักงาน กสทช. ดังนั้นในการติดต่อกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาตินับตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2553 ขอให้ติดต่อกับสำนักงาน กสทช. เลขที่ 87 ถนนพฤลโยธิน ซอย 8 (ซอยสายลม) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 022710151-60 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งขาติต่อไป") 'ถ้าตลาดมีการแข่งขันที่สมบูรณ์แล้ว กสทช. ก็จะลดความสำคัญลง ถ้าตรงไหนที่ไม่เสรีและเป็นธรรม กสทช.ก็จะเข้าไปจัดการ สิ่งที่สำคัญคือการปฏิบัติหน้าที่ตามพ.ร.บ.ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้มีองค์กรกำกับดูแลเพียงองค์กรเดียว'
    • กสท. โทรคมนาคม เจ้าของสัมปทานสั่งระงับบริการ "dtac 3g" เหตุเพราะ Dtac นำ 850 MHz มาให้บริการเชิงพาณิชย์เพราะไม่มีคำว่า "ฟรี" อยู่ใน http://www.dtac.co.th/iphone/plan/index.html ในขณะที่ True มีดังปรากฎใน http://www.truemove.com/3g/3g_mifi.html
    • เมื่อเวลา 17.30น. ของวันที่ 16 ตุลาคม 2555 กสทช แถลงข่าวสรุปผลการประมูล3G และทั้ง 3 บริษัทผู้ร่วมประมูล ได้เลือกช่วงความถี่เรียบร้อยแล้ว ผลการเคาะประมูลปรากฎว่า ใบที่สูงสุด 4,950 ล้านบาท โดย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AIS)  เสนอราคาสูงสุด 14,625 ล้านบาท บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด  (dtac) และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (true) เสนอราคาเท่ากันคือ 13,500  ล้านบาท สิทธิในการเลือกย่านความถี่ตามลำดับ คือ AIS , True และ Dtac  (ทั้งนี้บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด (true ) เป็นผู้จับสลากได้เลือกย่านความถี่ก่อน dtac) สรุปการเลือกช่วงคลื่นความถี่:
      • บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด เลือกย่าน 1920 MHz – 1935 MHz และ 2110 MHz – 2135 MHz 
      • บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด เลือกย่าน  1935 MHz – 1950 MHz และ 2125 MHz – 2140 MHz 
      • บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด  เลือกย่าน 1950 MHz – 1965 MHz และ 2140 MHz – 2155 MHz  ซึ่งเป็นช่วงคลื่นกลางๆ ของ 3G spectrum ถัดไปคือช่วงคลื่นของ TOT ประกบอยู่ เพื่อลดสัญญาณรบกวนกับ Spectrum อื่นที่ไม่ใช่ 3G
    ทำความรู้จัก 3G
    • 1G คือระบบ Analog เสียงจะแหลมกว่าระบบ Digital ชุด Handset หนัก 1 กก (รุ่น 470 ให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายโดยองค์การโทรศัพท์ฯ) รับส่งข้อความไม่ได้
    • 2G คือระบบ Digital นอกจากเสียงแล้วยังรับส่งข้อความได้ที่ความเร็วประมาณ 200 Kbps
    • 3G เหมือน 2G แต่เร็วกว่าประมาณ 10X  จึงรับส่งข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วย เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้งานด้าน E-learning, GPS, Telemedicine, Remote Home-Security Monitoring และล่าสุดถ่ายทอดทาง Skynews เป็นการใช้ซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนมือถือ iPhone ทำหน้าที่เป็น Remote controller ในการควบคุมการเคลื่อนที่ของรถยนต์ตำรวจไร้คนขับ เครื่อง hanset ส่วนใหญ่ที่มีกล้องอยู่ด้านหน้าจะรองรับระบบ 3G แล้วเพราะใช้สำหรับทำ Video call ซึ่งต้องอาศัย 3G
    ประโยชน์ของ 3G
    1. การขยายโครงสร้างพื้นฐานของระบบ 3G ง่ายกว่าการเดินสายโทรศัพท์มาก เพราะอย่างหลังต้องขออนุญาต อบต อบจ ฯ (เนื่องด้วยการปกครองแบบกระจายอำนาจ) ในขณะที่อย่างแรกสามารถติดตั้งเสารในโรงเรียน หรือที่ๆ เหมาะสมได้
    2. 3G ที่ไทยกำลังจะใช้เป็นคลื่นความถี่ 2.1 GHz จึงใช้กำลังส่งต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องมะเร็ง เพราะคลื่นความถี่สูงทำให้ต้องติดตั้งเสาสัญญาณใกล้ๆ กันจึงใช้กำลังส่งที่ต่ำได้ ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G ระบบ 2.6 GHz
    3. การลงทุน 3G ของโอเปอร์เรเตอร์ไทย จะใช้งบประมาณสองหมื่นห้าพันล้านบาทต่อเจ้าต่อปี ดังนั้นสำหรับใบอนุญาตที่จะประมูลกัน 4 ไลเซนส์ รัฐจะได้ประโยชน์ในรูปแบบภาษีนำเข้ากับภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าเทคโนโลยี (ประมาณสองหมื่นห้าพันล้านบาทต่อเจ้า) และค่าไลเซนส์ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการจ้างแรงงานเพื่อสร้างโครงข่ายซึ่งจะใช้เวลาประมาณสิบปีจึงครอบคลุมทั้งประเทศ เงินจ้างดังกล่าวจะเข้าไปหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยไหลจากผู้รับจ้างไปยังอาชีพอื่นๆ เช่นอาชีพที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ เป็นการกระจายรายได้ ช่วยสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจของคนไทยด้วยกันเอง และในระหว่างการสร้างโครงข่ายนี้เองจะทำให้ผู้ให้บริการ 2G อย่าง TOT ยังได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการ Roaming ก่อนที่จะถูกแย่งฐานลูกค้าในระยะยาว กล่าวคือถ้าผู้ใช้นำมือถือระบบ 3G ไปใช้ในจังหวัดที่ยังไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน 3G เช่น อยุธยา ก็ต้องทำ Roaming โดยมาเกาะที่ระบบเครือข่าย 2G เพื่อให้ใช้งานได้ มิได้ทำให้ TOT กับ CAT สูญเสียลูกค้าอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด (TOT & CAT เป็น Telco ที่เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของไทย และเป็นผู้ให้สัมปทานโอเปอร์เรเตอร์ในไทยในการเข้าใช้โครงข่ายดังกล่าว) ดังที่ได้พยายามออกมาคัดค้านการประมูลดังกล่าว ความจริงทั้ง TOT และ CAT ได้คลื่นความถี่สำหรับ 3G ไปตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว แต่ยังไม่นำไปสร้างประโยชน์เท่าที่ควร โดยเฉพาะ TOT
    ข้อควรพิจารณาของ 3G
    1. ในอเมริการมีองค์กร CFIUS คอยควบคุมกิจการที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ รวมถึงกิจการอินเทอร์เน็ตและ 3G ประเทศไทยควรพิจารณาประเด็นนี้เช่นกัน
    2. ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ควรใช้เทคโนโลยี 3G เมื่อมีความพร้อมเชิงเศรษฐกิจและเล็งเห็นว่าจะก่อประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมให้แก่ตัวผู้บริโภคเอง
    3. กทช ได้มีการควบคุมประเด็นการมีอำนาจเหนือตลาดหรือการผูกขาดโดยกำหนดให้เครือข่ายใหม่ของโอเปอร์เรเตอร์รายใหญ่ต้องยอมให้เครือข่ายย่อยของโอเปอร์เรเตอร์รายย่อยมาเชื่อมต่อเพื่อเป็นทางผ่านไปยังเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ยังมีการควบคุมเรื่องราคาค่าบริการถ้ามีการละเมิดจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทันทีทำให้โครงสร้างพื้นฐาน 3G ที่ได้ลงทุนไปสูญเปล่า
    4. ตาม พรบ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พศ 2544 กำหนดใบอนุญาตเป็นสามประเภท 1) Internet 2)แบบมีและไม่มีโครงข่าย และ 3) แบบมีโครงข่ายซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตห้ามเป็นต่างด้าว (DTAC & AIS จะถูกกีดกันไปโดยปริยาย) กรณี 3G เป็นประเภทที่สาม ต่างชาติจึงไม่สามารถมายึดครองพื้นที่ 3G ของไทยได้
    --อ้างอิงจากนิตยสาร Marketeer, Manager Online, บทให้สัมภาษณ์ทางวิทยุรัฐสภาของคุณอนันต์ วรธิติพงศ์ (สมาชิกวุฒิสภา & อดีตนายกสมาคมโทรคมนาคม) และ พลตำรวจตรีเกริก กัลยาณมิตร (ส.ว.สรรหา) และนสพ.ฐานเศรษฐกิจ, นสพ.เดลินิวส์, นสพ.มติชน

    ประโชน์ของการประมูล 3G --กรุงเทพธุรกิจ

    LTE advance เป็นเทคโนโลยี 4g ความเร็ว 3 Gbps downstream และ 1.5 Gbps upstream ใช้เสาอากาศ 8 เสาในอุกรณ์พกพา เช่น Galaxy 4 ส่วน cell site ทำหน้าที่เป็น internet gateway
    เริ่มติดตั้งใช้งานแล้วโดยบาง Carrier (บ้านเราเรียกว่า operator) ในอเมริกาเหนือ