วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ลายเซ็นต์ที่มีผลทางกฎหมาย

1.ลายเซ็นต์จริง
ข้อความอาจให้ผู้อื่นเขียนให้ แต่ลายเซ็นต์ต้องเป็นลายเซ็นต์จริง จะเป็นลายเซ็นต์ที่สแกนส่งเมลมาแล้วพิมพ์ออกมาใช้ไม่ได้เพราะจะมีน้ำหนักอ่อน แต่ถ้าเขียนหนังสือไม่เป็นสามารถใช้ลายนิ้วมือแทนลายเซ็นต์ได้แต่ควรมีพยานเซ็นต์ด้วยสองคน หรือกรณีพิการไม่มีลายนิ้วมือสามารถใช้เครื่องหมายกากบาทหรือตราปั้มได้และต้องมีพยานเซ็นต์ตามปกติด้วยอีกสองคน ถ้าถูกบังคับให้เซ็นต์จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะทันที

2.ลายเซ็นต์ดิจิทัล
จะมีผลทางกฎหมายก็ต่อเมื่อสามารถใช้ระบุตัวตนผู้เป็นเจ้าของลายเซ็นต์ได้ และเป็นระบบลายเซ็นต์ดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ เช่น หากมีการถูกเปลี่ยนแปลงข้อมูลของลายเซ็นต์ ขณะสร้างลายเซ็นต์ดิจิทัล ข้อมูลส่วนตัวต้องอยู่ในความควบคุมทั้งหมดของเจ้าของเท่านั้น เจ้าของจะต้องรู้ได้

ลายเซ็นต์ดิจิทัลไม่นิยมใช้กับนิติกรรมที่มีมูลค่ามาก เช่น การซื้อขายที่มีมูลค่าเกินหนึ่งล้านบาท และยังไม่สามารถใช้ในการโอนมรดก โอนอสังหาฯ และเรื่องครอบครัว เช่น การหย่า

--curadio