- กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในกาย โดยลมหายใจเข้าออก, โดยอิริยาบถ, โดยอาการ 32 เช่น เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ หรือผม ขน เล็บ ฟัน ว่าเป็นของปฏิกูล, โดยธาตุทั้งสี่ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ, โดยความเป็นซากศพรูปแบบต่างๆ เช่น เน่าพอง, ขาดกลางตัว ผู้มีตัณหาจริตคือโลภอยากมีอยากเป็นรวมถึงอยากสงบ ให้ใช้กายานุปัสสนาฯ
- เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข)
- จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในจิต (จิตจะอยู่กับความรู้สึกนึกคิด ณ ขณะนั้นเสมอ เช่น นึกขี้เกียจ อิจฉา โกรธ เป็นต้น จึงต้องปฏิบัติโดยตั้งสติระลึกรู้ที่ความรู้สึก) อาจเริ่มต้นโดยการพยายามดูจิตตามหลักอานาปานสติผ่านลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็นการเห็นจิต ถ้าการระลึกรู้ลมหายใจหายไปก็แสดงว่ากำลังฟุ้งซ่านติดอารมณ์อยู่ ผู้มีทิฎฐิจริต เช่น ชอบแสดงความคิด การโต้เถียง เจ้าอุดมการณ์ ให้ใช้จิตตานุปัสสนาฯ สรุปคือให้คอยดูโลภ โกรธ หลง
- ธรรมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการตามมองให้เห็นไตรลักษณ์ในธรรม ได้แก่ อนิจจัง, วิราคะ (การจางคลาย), นิโรธ (ความดับไม่เหลือ) และปฏินิสสัคคะ (การละสละคืนไม่นำมาเป็นของของตน) หรือดูนิวรณ์ 5 ว่าเกิดขึ้น ทำไงจึงหายไป ทำไงจึงไม่เกิดขึ้นอีก
--ดัดแปลงจาก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก