วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กรอบแนวคิดในการวิจัย (Conceptual framework of research)

เป็นการแสดงโครงสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรต้น(ตัวแปรอิสระ)โยงด้วยเส้นลูกศรชี้มายังตัวแปรตาม(ตัวแปรหลัก) ไม่ใช่กิจกรรมหรือขั้นตอนการทำวิจัยหรือขอบเขตการวิจัย--รศ ดร โกศล มีคุณ

ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรแทรกซ้อน (Source: http://nakhonsawanresearch.blogspot.com/2012/03/variable.html)
      2.1 ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (independent variable) เป็นตัวแปรเหตุที่ทำให้ผลตามมา หรือทำให้สิ่งที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะ หรือ แปรสภาพไป เช่น งานวิจัยเรื่อง ผลของน้ำผึ้งในการรักษาแผลเบาหวาน ตัวแปรต้น คือ น้ำผึ้ง ตัวแปรต้นจะมีลักษณะดังนี้
- เป็นตัวแปรเหตุ
- เป็นตัวแปรที่มาก่อน
- เป็นตัวแปรที่จัดกระทำในการทดลอง
- มีลักษณะเป็นตัวทำนาย
- เป็นตัวกระตุ้น
- มีความคงทน ถาวร
      2.2 ตัวแปรตาม (dependent variable) เป็นตัวแปรที่มีผลมาจากตัวแปรต้น ไป เช่น งานวิจัยเรื่อง 
ผลของน้ำผึ้งในการรักษาแผลเบาหวาน ตัวแปรตาม คือ การหายของแผล ซึ่งตัวแปรตามจะมีลักษณะ ดังนี้
- เป็นตัวแปรที่เป็นผล
- เกิดขึ้นภายหลัง
- เกิดขึ้นเองไม่สามารถจัดกระทำได้ในการทดลอง
- เป็นตัวถูกทำนาย
- เป็นตัวตอบสนอง
- เปลี่ยนแปลงได้ง่าย
      2.3 ตัวแปรภายนอก หรือตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous variable) หมายถึง ตัวแปรอื่น ๆ 
นอกเหนือจากตัวแปรต้น ที่มีผลต่อตัวแปรตาม ซึ่งตัวแปรแทรกซ้อนนี้นักวิจัยต้องพยายามควบคุม หรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนหรือตัวแปรภายนอกให้หมดไป หรือให้เหลือน้อยที่สุด เช่น งานวิจัยเรื่อง ผลของน้ำผึ้งในการรักษาแผลเบาหวาน ตัวแปรภายนอกได้แก่ ความลึกของแผล อาหารที่ผู้ป่วย รับประทาน เป็นต้น
จำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
1. ตัวแปรต้นตัวเดียว และตัวแปรตามตัวเดียว
ตัวอย่าง -ความสัมพันธิ์ระหว่างระยะเวลาการทำงานกับการเกิดอุบัติเหตุในขณะทำงาน ของ คนงานโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง
2. ตัวแปรต้นตัวเดียว และตัวแปรตามหลายตัว
ตัวอย่าง -ผลกระทบของการผ่าตัดทำหมันชายต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และพฤติกรรมทางเพศ

3. ตัวแปรต้นหลายตัว และตัวแปรตามตัวเดียว
ตัวอย่าง -ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตายของทารก
-ประสิทธิผลของการให้สุขศึกษาในงานสาธารณสุขมูลฐานโดยใช้หอกระจายข่าว 
เปรียบเทียบกับที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน

4. ตัวแปรต้นหลายตัว และตัวแปรตามหลายตัว
ตัวอย่าง ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และเจตคติของผดุงครรภ์อนามัยกับการให้คำแนะนำเรื่อง พฤติกรรมทางเพศสำหรับสตรีตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร