วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

การเลือกวิธีการวิจัยแบบใดไปใช้จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยว่าต้องการคำตอบลักษณะใด เช่น หากต้องการทราบสาเหตุการลาออกของพยาบาลก็ควรใช้การวิจัยเชิงคุณภาพอันได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึกมากกว่าการทำวิจัยแบบเชิงปริมาณ นอกจากนี้การประเมินการทำงานของโครงการฯก็อาจใช้การวิจัยเชิงคุณภาพได้ด้วย กล่าวโดยสรุปคือการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลแนวลึกซึ่งการศึกษาเชิงปริมาณไม่สามารถตอบได้


ตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ
1. การวิจัยเพื่อหาวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานจากการดูดเสมหะน้อยที่สุด งานวิจัยนี้ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกต่อขั้นตอนต่างๆเมื่อได้รับการดูดเสมหะอย่างไร การใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในกรณีนี้ทำให้ทราบถึงความรู้สึกในด้านลึกของผู้ป่วยต่อการรักษาดังกล่าว ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการสำรวจไม่อาจเข้าถึงคำตอบที่แท้จริงของผู้ป่วยได้
2. การวิจัยเพื่อหาสาเหตุที่การควบคุมอุณหภูมิกายในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บต่อระบบประสาทไม่ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้ใช้ “Clinical model” และวิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participate observation) ผลงานวิจัยพบว่าสาเหตุที่อุณหภูมิร่างกายไม่ลดลง เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ตอนกลางคืนผู้ป่วยมักถูกรบกวนจากพยาบาลที่เข้ามาวัดไข้ ทุกๆชั่วโมง ผลงานวิจัยนี้นำไปสู่การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมในที่สุด
--คณะแพทยศาสตร์ศิริราช