วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ ปี 2540 (Economic Bubble หรือ Bubble Economy)

มีสาเหตุมาจาก
1.ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ คือ ระบบกลไกเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่ผิดพลาด
2.ปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ พฤติกรรมของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน (การจัดหาแหล่งเงินทุนและการบริหารสินเชื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพ, พฤติกรรมของผู้บริหารสถาบันการเงินที่มีการบริหารงานในลักษณะที่คอร์รัปชั่น), พฤติกรรมการระดมทุนของธุรกิจ เกิดขึ้นเนื่องจากมีความผิดพลาดในการระดมทุนคือมีการกู้มาก จากทั้งในและนอกประเทศ ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนสูง, และ ธนาคารแห่งประเทศไทยบกพร่องในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินโดยได้เปิดเสรีทางการเงินโดยให้สถาบันการเงินสามารถกู้เงินจากต่างประเทศได้ง่าย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือภาวะที่ราคาของสินทรัพย์ เช่นอสังหาริมทรัพย์หรือหน่วยลงทุนต่าง ๆ เพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าราคาตามความเป็นจริง จนเกิดอุปสงค์เทียมจากการเก็งกำไรที่ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นวงจร และขยายตัวเหมือนฟองสบู่ โดยส่วนใหญ่ภาวะฟองสบู่นี้จะจบลงเมื่อเกิดเหตุที่ทำให้นักลงทุนเลิกคาดหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นอีก หรือรัฐบาลออกนโยบายเพื่อดึงราคาลงสู่ภาวะปกติ เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย(เงินกู้) ทำให้คนซื้อน้อยลง คนขายจึงต้องลดราคากลับลงมา จึงทำให้การเก็งกำไรและราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงลดลง

เนื่องจากราคาสินทรัพย์ในภาวะฟองสบู่ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น เมื่อราคาเริ่มลดลงภาวะฟองสบู่ก็จะหดตัวลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดภาวะฟองสบู่แตก ซึ่งมักจะทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียเกิดขึ้นตามมาเพราะกู้ไปลงทุนมากกว่าความสามารถในการใช้หนี้