Digital Economy ในความหมายของ British Computer Society (BCS)
“The digital economy refers to an economy that is based on digital technologies, although we increasingly perceive this as conducting business through markets based on the internet and theWorld Wide Web. The digital economy is not limited to traditional business models. It encompasses every aspect of modern life; entertainment, health, education, business to banking, the ability of the citizen to engage with government and society to stimulate new ideas and help influence political and social change. Digital networking and communication infrastructures provide a global platform over which people and organizations devise and employ new business strategies, interact, communicate, collaborate and seek information regardless of time and location.”
ผ่านกฎหมายเพิ่ม 8 ฉบับรวด-สั่งยุบ “กทค.-กสท.” (ไทยรัฐ 7 ม.ค. 2558)
ครม.เห็นชอบร่างกฎหมายอีก 8 ฉบับรวมของเดิม 2 เป็น 10 ฉบับ ผลักดัน “เศรษฐกิจดิจิตอล” เต็มสูตร ยุบคณะกรรมการ กทค.-กสท. ตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้เงินนำส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจากกสทช. 50%
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลจำนวน 8 ฉบับ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเร่งผลักดันการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอลให้เสร็จภายในปี 2558 ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นความจำเป็นที่ต้องทำ ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้ใคร แต่ทำเพื่อประโยชน์ของชาติ ขณะเดียวกัน ยังปรับปรุงการทำงานของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมความพร้อมการประมูลคลื่นความถี่ 4 จี
ด้าน ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ร่างกฎหมายที่ ครม.เห็นชอบในครั้งนี้มี 8 ฉบับ ซึ่งเมื่อรวมกับก่อนหน้านี้เห็นชอบไปแล้ว 2 ฉบับแล้ว คือ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมจะรวมเป็น 10 ฉบับ โดย 8 ฉบับล่าสุด คือ 1.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้การอุดหนุนงานวิจัยและพัฒนา โดยให้กู้ยืมหรือช่วยเหลือและจัดสรรงบให้หน่วยงานรัฐ เอกชนและประชาชน
2.ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดบทบาทของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้จัดทำนโยบายในแต่ละภาคส่วนของการใช้ความถี่วิทยุในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามที่คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้กำหนด เพื่อให้งานมีความสอดคล้องกันในภาพรวม
ขณะเดียวกัน กำหนดให้การบริหารงานด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดเดียว คือ กสทช.เพื่อให้สอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีหลอมรวม นอกจากนี้ มีข้อกำหนดให้ส่งเงินค่า ธรรมเนียมจากใบอนุญาตของ กสทช.เข้ากองทุนพัฒนาดิจิตอลฯ 50% ด้วย
3.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีเนื้อหาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ มีสถานะเป็นนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ให้ทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในงานด้านการพัฒนาระบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน
5.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการตรวจสอบ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย ครอบคลุมความผิดที่เกิดจากคอมพิวเตอร์โดยตรง
6.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อวางแผนการจัดการปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการทำสงคราม การโจมตีโดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการกระทำความผิด
7.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และรวบรวมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน และ
8.ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยมีคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลแห่งชาติ และตั้งสำนักงานขึ้นมาดูแล ในรูปแบบองค์การมหาชน เพื่อรับผิดชอบและผลักดันงานต่างๆให้สำเร็จ
ด้านนายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ รวม 8 ฉบับ ว่า ในส่วนการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. นั้น ไม่ได้ยกเลิก กสทช.เพียงยกเลิกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อให้เหลืออำนาจหน้าที่บอร์ด กสทช.เพียงชุดเดียวเท่านั้น ส่วนประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อนำไปประมูลนั้นจะต้องนำหารือคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานก่อน เพื่อให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ.
ครม.เห็นชอบร่างกฎหมายอีก 8 ฉบับรวมของเดิม 2 เป็น 10 ฉบับ ผลักดัน “เศรษฐกิจดิจิตอล” เต็มสูตร ยุบคณะกรรมการ กทค.-กสท. ตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้เงินนำส่งเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจากกสทช. 50%
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลจำนวน 8 ฉบับ ตามนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเร่งผลักดันการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิตอลให้เสร็จภายในปี 2558 ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือเป็นความจำเป็นที่ต้องทำ ไม่ใช่การเอื้อประโยชน์ให้ใคร แต่ทำเพื่อประโยชน์ของชาติ ขณะเดียวกัน ยังปรับปรุงการทำงานของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมความพร้อมการประมูลคลื่นความถี่ 4 จี
ด้าน ร.อ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ร่างกฎหมายที่ ครม.เห็นชอบในครั้งนี้มี 8 ฉบับ ซึ่งเมื่อรวมกับก่อนหน้านี้เห็นชอบไปแล้ว 2 ฉบับแล้ว คือ ร่าง พ.ร.บ.คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมจะรวมเป็น 10 ฉบับ โดย 8 ฉบับล่าสุด คือ 1.ร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งกองทุนพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการให้การอุดหนุนงานวิจัยและพัฒนา โดยให้กู้ยืมหรือช่วยเหลือและจัดสรรงบให้หน่วยงานรัฐ เอกชนและประชาชน
2.ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยกำหนดบทบาทของคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นผู้จัดทำนโยบายในแต่ละภาคส่วนของการใช้ความถี่วิทยุในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามที่คณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้กำหนด เพื่อให้งานมีความสอดคล้องกันในภาพรวม
ขณะเดียวกัน กำหนดให้การบริหารงานด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดเดียว คือ กสทช.เพื่อให้สอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีหลอมรวม นอกจากนี้ มีข้อกำหนดให้ส่งเงินค่า ธรรมเนียมจากใบอนุญาตของ กสทช.เข้ากองทุนพัฒนาดิจิตอลฯ 50% ด้วย
3.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีเนื้อหาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ มีสถานะเป็นนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
4.ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. ให้ทำงานร่วมกับภาคเอกชน ในงานด้านการพัฒนาระบบการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน
5.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยตั้งสำนักงานคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานกลางในการตรวจสอบ พร้อมทั้งปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย ครอบคลุมความผิดที่เกิดจากคอมพิวเตอร์โดยตรง
6.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยตั้งคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เพื่อวางแผนการจัดการปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีการทำสงคราม การโจมตีโดยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการกระทำความผิด
7.ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยตั้งคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และรวบรวมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน และ
8.ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยมีคณะกรรมการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอลแห่งชาติ และตั้งสำนักงานขึ้นมาดูแล ในรูปแบบองค์การมหาชน เพื่อรับผิดชอบและผลักดันงานต่างๆให้สำเร็จ
ด้านนายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงร่างกฎหมายเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลของประเทศ รวม 8 ฉบับ ว่า ในส่วนการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. นั้น ไม่ได้ยกเลิก กสทช.เพียงยกเลิกอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เพื่อให้เหลืออำนาจหน้าที่บอร์ด กสทช.เพียงชุดเดียวเท่านั้น ส่วนประเด็นการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อนำไปประมูลนั้นจะต้องนำหารือคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานก่อน เพื่อให้มีการใช้คลื่นความถี่อย่างมีประสิทธิภาพ.