ปฏิจจสมุปบาท คือ การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน
อวิชชา คือ ความไม่รู้ในอริยสัจสี่
สังขาร คือ ความคิดปรุงแต่ง
นามรูป คือ มหาภูตทั้งสี่หรือดินน้ำลมไฟ(รูป) เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ(=การกำหนดไว้ในใจ) (นาม)
"เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" แปลว่าเพราะมีการรับรู้จึงมีตาหูจมูกฯ ไม่ได้หมายความว่าเพราะมีการรับรู้จึงมีลูกตากลมๆเกิดขึ้นมีจมูกที่อยู่บนหน้าฯ เปรียบเหมือนวัตถุที่ไม่มีตอนไม่มีแสง แต่พอมีแสงจึงมีวัตถุนั้นปรากฎขึ้น ถ้าเราไม่มีการรับรู้ลูกตาก็เป็นแค่ก้อนเนื้อ
ตัณหา คือ ความพอใจ
ภพ คือ สถานที่เกิด
ชาติ คือ การเกิด
สฬายตนะ(อายตนะภายใน) คือ ทวารต่างๆ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ตรงข้ามกับอายตนะภายนอก(รูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์)
อุปาทาน คือ การยึดมั่นถือมั่น คิดเอาเองว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้
โสกะ คือ เศร้า
ปริเทวะ คือ ร้องไห้
อุปายาสะ คือ ความคับแค้นเคืองใจ
ความคิดคือสัญญา(ความจำ)กับสังขาร(การปรุงแต่ง)
เมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งในสายปฏิจสมุปบาทในนัยของอริยสัจสี่จะหลุดพ้นได้ เช่น เห็นอุปทานเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เห็นตัณหาเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป
ใครเวียนไหว้ตายเกิด
ไม่ใช่วิญญาณ ๆ เกิดดับตลอดเวลา
สิ่งที่เวียนไหว้ตายเกิดคือ สัตว์ เป็นสัตว์ผู้มีอวิชชา หลงไปยึดกับขันธ์ทั้ง 5
สิ่งที่เวียนไหว้ตายเกิดคือ สัตว์ เป็นสัตว์ผู้มีอวิชชา หลงไปยึดกับขันธ์ทั้ง 5
การหลุดพ้นจากสังสารวัฎอันยาวนาน(น้ำตาของพวกเรามากกว่าน้ำในมหาสมุทร)ต้องไม่ยึดมั่นในขันธ์ห้าคือละอุปาทานในขันธ์ห้าเช่นเดียวกับพระอรหันต์ ซึ่งทำได้ด้วยมรรคมีองค์แปด
สัตว์ที่หมดอวิชชาแล้วด้วยมรรคมีองค์แปดเรียกว่า วิมุติญาณทัสสนะ
วิมุติญาณทัสสนะ เกิดไม่ปรากฎ เสื่อมไม่ปรากฎ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ นี่คือภาวะที่เรียกว่านิพพาน
สัตว์ที่หมดอวิชชาแล้วด้วยมรรคมีองค์แปดเรียกว่า วิมุติญาณทัสสนะ
วิมุติญาณทัสสนะ เกิดไม่ปรากฎ เสื่อมไม่ปรากฎ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฎ นี่คือภาวะที่เรียกว่านิพพาน