วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

กรรม สุข ทุกข์

เจตนา(ความตั้งใจ) เป็น กรรม แต่ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน  เจตนาถือเป็นสังขาร(การปรุงแต่ง)ในขันธ์5
เหยียบมด ถ้าไม่มีเจตนา เป็นแค่กิริยา ไม่ใช่กรรม

กรรมมีแดนเกิดคือผัสสะ แต่ถ้าผัสสะนั้นไม่มีเจตนาก็ไม่มีกรรมเกิดขึ้น เจตนาเป็นการควบคุมให้เกิดผัสสะ

กรรมแปลว่าการกระทำ แต่ถ้าจะอ่านหน้านี้เข้าใจต้องคิดต่อว่ากรรมจะนำมาซึ่งวิบากกรรมหรือผลของการกระทำด้วย นั่นคือสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับเรา

ผัสสะเกิดจากอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์) อายตนะภายใน(ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) และวิญญาน(วิญญานทางตาทางหูทางจมูกฯ)

สิ่งเหล่านี้เป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่เรา
ดังนั้นกรรม นอกจากคนอื่นบันดาลให้ไม่ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นเองลอยๆ เราก็ไม่ใช่เป็นผู้บันดาลด้วยเพราะผัสสะไม่ใช่เรา แต่ถ้าพูดภายใต้อวิชชา เราเป็นผู้ทำกรรมสร้างกรรม ซึ่งถ้าเห็นผิดแบบนี้จะไม่ได้เป็นโสดาบัน ที่ถูกคือกรรม(การกระทำ ไม่ใช่ผลของกรรมคือวิบากกรรม)ไม่มีใครบันดาลรวมทั้งตัวเราและไม่ได้เกิดเองลอยๆ กรรม=ผัสสะ+เจตนา

ส่วนสุขทุกข์คือเวทนา เวทนามีผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนาตามหลักปฏิจจะสมุปบาท 

ถ้าเราทุกข์เพราะมีใครตีเรา คนๆนั้นไม่ใช่ผู้บันดาลวิบาก(=ผลของ)กรรมให้เราเป็นทุกข์ เขาเป็นแค่ธาตุดินน้ำลมไฟ ซึ่งเป็นองค์ประกอบคืออายตนะภายนอกที่ทำให้เกิดผัสสะอันเป็นแดนเกิดแห่งกรรมของเขา(ถ้าเขามีเจตนา)และกรรมเป็นเหตุให้เกิดวิบากกรรมคือผลของกรรดำ(ทุกข์)หรือขาว(สุข)
เราทำกรรมดี คือ เรามีเจตนาดี (เช่นตั้งใจจะทำทาน) และทำให้เกิดผัสสะ (คือใช้ร่างกายจัดหาสิ่งของมาทำกิจกรรมการให้ทาน) อันทำให้เกิดวิบากกรรมดี การตัดผัสสะคือการตัดกรรมและวิบากกรรมคือกระจายออกด้วยการมองผัสสะให้เป็นอนิจจัง เช่น เห็นคนสวยอีกไม่นานก็เสื่อมสลาย

การเจริญสมาธิไม่ใช่กรรมดำที่นำไปนรกและขาที่พาไปสวรรค์ว เป็นกรรมไม่ดำไม่ขาวเพราะเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น

กายที่เกิดมาเป็นผลของกรรมเก่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับกายนี้เช่นโดนคนทำร้ายก็เป็นผลของกรรมเก่า เจตนาที่มีขึ้นต่างๆเป็นกรรมใหม่

จะดับกรรมต้องปฏิบัติมรรคมีองค์แปด จะได้ทำให้องค์ประกอบของผัสสะไม่ครบก็ไม่สามารถเกิดกรรมได้

มโน คือ วิญญาณ คือ จิต คือ ความรู้ตัว  วิญญาณมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา วิญญาณไม่ใช่ตัวเรา อวิชชาทำให้วิญญาณไปเกาะ รูป เวทนา สัญญา หรือสังขาร เสมอเปรียบเหมือนลิงเกาะเกี่ยวต้นไม้ ถ้าหมดอวิชชา จะไม่มีวิญญาณที่จะไปเกาะสร้างภพสร้างชาติใหม่ ก็เข้าสู่วิมุตคือหลุดพ้น
-----

รายละเอียดที่บุคคลควรทราบ เกี่ยวกับเรื่องกรรม
ภิกษุ ท. ! กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ ...... คำที่เรากล่าวแล้วดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าวซึ่งเจตนา ว่าเป็น กรรมเพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! นิทานสัมภวะ (เหตุเป็นแดนเกิดพร้อม) แห่งกรรมทั้งหลาย คือ ผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! เวมัตตตา (ความมีประมาณต่างๆ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในนรกมีอยู่, กรรมที่ทำให้สัตว์เสวยเวทนาในกำเนิดเดรัจฉานมีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์ให้เสวยเวทนาในเปรตวิสัย มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในมนุษย์โลก มีอยู่, กรรมที่ทำสัตว์เสวยเวทนาในเทวโลก มีอยู่. ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่า เวมัตตตาแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! วิบาก (ผลแห่งการกระทำ) แห่งกรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! เรากล่าววิบากแห่งกรรมทั้งหลายว่ามีอยู่ ๓ อย่าง คือ วิบากในทิฏฐธรรม (คือทันควัน) หรือว่า วิบากในอุปปัชชะ (คือในเวลาต่อมา) หรือว่า วิบากใน อปรปริยายะ (คือในเวลาต่อมาอีก). ภิกษุ ท. ! นี้เรากล่าวว่าวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธ (ความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ความดับแห่งกรรมทั้งหลาย ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ.
ภิกษุ ท. ! กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) นี้นั่นเองคือ กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา ; ได้แก่ สิ่งเหล่านี้คือ คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรชอบ) สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ).
ภิกษุ ท. ! เมื่อใดอริยสาวก ย่อมรู้ชัดซึ่ง กรรมอย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง นิทานสัมภวะแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง เวมัตตตาแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง วิบากแห่งกรรม อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธ อย่างนี้, รู้ชัดซึ่ง กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้ ; อริยสาวกนั้น ย่อม รู้ชัดซึ่งพรหมจรรย์นี้ว่าเป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นที่ดับไม่เหลือแห่งกรรม.
ภิกษุ ท. ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “กรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, นิทานสัมภวะแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, เวมัตตตาแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, วิบากแห่งกรรม เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธ เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ, กัมมนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ” ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.
ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๘,๔๖๓ - ๔๖๔/๓๓๔.