วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เบญจศีล สิกขาบทที่ ๓ กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย

ศีลข้อนี้ ท่านบัญญัติขึ้น ด้วยหวังปลูกความสามัคคี สร้างความเป็นปึกแผ่น ป้องกันความแตกร้าวในหมู่มนุษย์ และทำให้วางใจกันและกัน ชายกับหญิงแม้ไม่ได้เป็นญาติกัน ก็ยังมีความรักใคร่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ด้วยอำนาจความปฏิพัทธ์ในทางกาม สิกขาบทข้อนี้ แปลว่า เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คำว่า "กามทั้งหลาย" ในที่นี้ได้แก่ กิริยาที่รักใคร่กันทางประเวณี หมายถึง เมถุน คือ การส้องเสพระหว่างชายหญิง
การผิดในกาม หมายถึง การเสพเมถุนกับคนที่ต้องห้ามดังจะกล่าวต่อไป ผู้ใดเสพเมถุนกับคนที่ต้องห้าม ผู้นั้นทำผิดประเวณี ศีลข้อนี้ขาด เมื่อเพ่งความประพฤติไม่ให้ผิดเป็นใหญ่สำหรับชายและหญิง มีดังนี้...

สำหรับชาย
หญิงที่ต้องห้ามสำหรับชาย มี ๓ ประเภท คือ
๑.  สัสสามิกา หญิงมีสามี ที่เรียกว่า ภรรยาท่าน ได้แก่ หญิง ๔ จำพวก คือ
ก. หญิงที่แต่งงานกับชายแล้ว
ข. หญิงที่ไม่ได้แต่งงาน แต่อยู่กินกับชายอื่นอย่างเปิดเผย
ค. หญิงที่รับสิ่งของ มีทรัพย์ เป็นต้น ของชายแล้วยอมอยู่กับเขา
ง. หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา
๒.  ญาติรักขิตา หญิงที่ญาติรักษา คือ มีผู้ปกครอง ไม่เป็นอิสระแก่ตน เรียกว่า หญิงอยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน คือ หญิงที่มารดาบิดารักษา หรือญาติรักษา
๓.  ธรรมรักขิตา หรือ จาริตา หญิงที่จารีตรักษา ที่เรียกว่า จารีตห้าม ได้แก่ หญิงที่เป็นเทือกเถาเหล่ากอ
ก. เทือกเถา คือ ญาติผู้ใหญ่ นับย้อนขึ้นไป ๓ ชั้น มี ย่าทวด ยายทวด ๑ ย่า ยาย ๑ แม่ ๑ เหล่ากอ คือ ผู้สืบสายจากตนลงไป ๓ ชั้น มีลูก ๑ หลาน ๑ เหลน ๑
ข. หญิงที่อยู่ใต้พระบัญญัติในพระศาสนา อันห้ามสังวาสกับชาย เช่น ภิกษุณี ในกาลก่อน หรือ แม่ชีในบัดนี้
ค. หญิงที่บ้านเมืองห้าม เช่น แม่หม้ายงานท่าน อันมีในกฎหมาย
หญิง ๓ จำพวกนี้ จะมีฉันทะร่วมกัน หรือไม่ร่วมกัน ไม่เป็นประมาณ ชายร่วมสังวาสด้วย ก็เป็นกามาสุมิจฉาจาร

หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย ในกาเมสุมิจฉาจาร โดยพิสดารมี ๒๐ จำพวก คือ
๑. มาตุรักขิตา หญิงที่มารดารักษา
๒. ปิตุรักขิตา หญิงที่บิดารักษา
๓. มาตาปิตุรักขิตา หญิงที่มารดาบิดารักษา
๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
๕. หญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
๖. หญิงที่ญาติรักษา
๗. หญิงที่โคตร หรือมีแซ่รักษา
๘. หญิงมีธรรมรักษา
๙. หญิงมีสามีรักษา
๑๐. หญิงมีสินไหม คือ พระราชารักษา
๑๑. หญิงที่ชายไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์เพื่อเป็นภรรยา
๑๒. หญิงที่อยู่กับชายด้วยความรักใคร่ชอบใจกันเอง
๑๓. หญิงที่อยู่เป็นภรรยาชายด้วยโภคทรัพย์
๑๔. หญิงที่เข็ญใจ ได้สักว่าผ้านุ่งผ้าห่มแล้วอยู่เป็นภรรยา
๑๕. หญิงที่ชายขอเป็นภรรยา มีผู้ใหญ่จัดการให้
๑๖. หญิงที่ชายช่วยปลงภาระอันหนักให้แล้ว ยอมเป็นภรรยา
๑๗. หญิงที่เป็นทาสีอยู่ก่อน แล้วชายเอามาเป็นภรรยา
๑๘. หญิงที่รับจ้างแล้ว ชายเอาเป็นภรรยา
๑๙. หญิงที่ชายรบข้าศึกได้เป็นเชลยแล้ว เอาเป็นภรรยา
๒๐. หญิงที่ชายอยู่ด้วยขณะหนึ่ง และหญิงนั้นก็เข้าใจว่าชายนั้นเป็นสามีของตน

สำหรับหญิง
ชายต้องห้ามสำหรับหญิง มี ๒ ประเภทคือ
๑. ชายอื่นนอกจากสามี เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงที่มีสามีแล้ว
๒. ชายที่จารีตห้าม เป็นวัตถุต้องห้ามสำหรับหญิงทั้งปวง
ชายที่*จารีต*ห้ามนั้น มี ๓ จำพวก คือ
๑. ชายที่อยู่ในพิทักษ์รักษาของตระกูล เช่น ปู่ พ่อ ตา ทวด
๒. ชายที่อยู่ในพิทักษ์ของธรรมเนียม เช่น นักพรต นักบวช
๓. ชายที่กฎหมายบ้านเมืองห้าม เช่น พระภิกษุ สามเณร

หญิงที่ไม่เป็นวัตถุกาเมสุมิจฉาจารของชาย มี ๔ อย่าง คือ
๑. หญิงที่ไม่มีสามี
๒. หญิงที่ไม่อยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน หรือผู้พิทักษ์รักษาอนุญาตแล้ว
๓. หญิงที่จารีตไม่ห้าม
๔. หญิงที่เป็นภรรยาของตน
ชายที่ไม่เป็นวัตถุแห่งกาเมสุมิจฉาจารของหญิงมี ๔ คือ
๑. ชายที่ไม่มีภรรยา หรือภรรยาอนุญาตให้มีภรรยารองได้ (ถ้าเข้าข่ายอย่างหลังนี้ศีลไม่ขาดแต่ศีลด่างพร้อย เปรียบเหมือนทรมานสัตว์แต่ไม่ได้ฆ่า ศีลจึงไม่ขาดแต่เป็นบาปแน่นอน การนอกใจภรรยาตัวเองไปมีภรรยาคนที่สองก็จะได้รับผลกรรมเป็นทุกขเวทนาแบบเดียวกันเพราะทำให้ภรรยาหลักเป็นทุกข์น้อยบ้างหรือมากบ้างถ้าถึงขั้นทอดทิ้งกัน)
๒. ชายที่จารีตไม่ห้าม
๓. สามีของตน
๔. ชายที่ทำโดยพลการพ้นอำนาจของหญิง (เช่นชายที่ข่มขืน)

กาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นความประพฤติชั่วร้าย มีโทษทั้งทางโลก และทางธรรม ฝ่ายอาณาจักรมีกฎหมายลงโทษผู้ประพฤติล่วง ฝ่ายพุทธจักรก็จัดเป็นบาปแก่ผู้ทำ เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม จัดว่ามีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค
ก. โดยวัตถุ ถ้าเป็นการทำชู้ หรือล่วงละเมิดในวัตถุที่มีคุณ มีโทษมาก
ข. โดยเจตนา ถ้าเป็นไปด้วยกำลังราคะกล้า มีโทษมาก
ค. โดยประโยค ถ้าเป็นไปโดยพลการ มีโทษมาก

หลักวินิจฉัยกาเมสุมิจฉาจาร   กาเมสุมิจฉาจาร มีองค์ ๔ ได้แก่
๑. อะคะมะนียะวัตถุ  สตรีหรือบุรุษที่ไม่ควรล่วงละเมิด
๒. ตัสฺมิง เสวะนะจิตตัง  มีความตั้งใจจะเสพในสตรีหรือบุรุษนั้น
๓. เสวะนัปปะโยโค  กระทำความพยายามในการเสพ
๔. มัคเคนะ มัคคปฏิปัตติอธิวาสนัง  ยินดีในการปฏิบัติมรรคให้ถึงกันด้วยมรรค

         ครบองค์ทั้ง ๔ นี้แล้ว นับว่าสำเร็จกาเมสุมิจฉาจารอกุศลกรรมบท แต่พึงทราบว่าข้อที่ ๓ คือ การกระทำความพยายามนั้น บางครั้งไม่มีก็ได้ ที่พระอรรถกถาจารย์แสดงไว้นั้นมุ่งหมายเอาว่า ย่อมมีเป็นส่วนมาก
         อนึ่ง มรรคในข้อ ๔ ได้แก่ อวัยวะเพศ ทวารหนัก ทวารเบา และปาก

ในข้อที่ ๑ นั้น อคมนียวัตถุ ได้แก่ สตรี ๒๐ จำพวก ได้แก่
๑. มาตุรักขิตา  สตรีที่มารดาดูแลรักษา
๒. ปิตุรักขิตา  สตรีที่บิดาดูแลรักษา
๓. มาตาปิตุรักขิตา  สตรีที่ทั้งมารดาและบิดาดูแลรักษา
๔. ภาตุรักขิตา สตรีที่พี่ชายน้องชายดูแลรักษา
๕. ภคินีรักขิตา  สตรีที่พี่สาวน้องสาวดูแลรักษา
๖. ญาติรักขิตา  สตรีที่ญาติดูแลรักษา
๗. โคตตรักขิตา  สตรีที่ผู้ร่วมโคตรร่วมสกุลดูแลรักษา
๘. ธัมมรักขิตา  สตรีที่ผู้ร่วมปฏิบัติธรรมดูแลรักษา
๙. สารักขา  สตรีที่มีคู่หมั้น
๑๐. สปริทัณฑา  สตรีที่มีผู้กำหนดอาญาสินไหมไว้ (สตรีที่ผู้มีอำนาจจองตัวไว้)
๑๑. ธนักกีตา  สตรีที่ชายซื้อมาเป็นภรรยาด้วยทรัพย์
๑๒. ฉันทวาสินี  สตรีที่อยู่ร่วมเป็นภรรยากับชายอื่นด้วยสมัครใจ
๑๓. โภควาสินี  สตรีที่เป็นภรรยาด้วยได้โภคทรัพย์
๑๔. ปฏวาสินี  สตรีที่เป็นภรรยาด้วยได้เครื่องนุ่งห่ม
๑๕. โอทปัตตกินี  สตรีที่เป็นภรรยาด้วยการแต่งงานรดนำ
๑๖. โอภตจุมภฏา  สตรีที่เป็นภรรยาด้วยฝ่ายชายช่วยยกของหนักลงจากแบกหาม
๑๗. ทาสี จ ภริยา จ  สตรีที่เป็นทาสด้วยเป็นภรรยาด้วย
๑๘. กัมมการี จ ภิริยา จ  สตรีที่รับทำการงานด้วยและเป็นภรรยาด้วย
๑๙. ธชาหฏา  สตรีที่เป็นภรรยาโดยถูกจับมาเป็นเชลย
๒๐. มุหุตติกา  สตรีที่เป็นภรรยาชั่วคราว (เช่น หญิงโสเภณีรับจ้างเป็นภรรยาเป็นครั้งคราวไป)

อาการที่เรียกว่ารักษานั้น มี ๔ อย่างคือ
๑.คอยระวัง คือ สามารถทำให้หญิงไม่สามารถอยู่กับชายตามลำพังได้
๒.ควบคุม คือ สามารถสั่งให้อยู่ในที่จำกัดได้ เช่น ห้ามว่า วันนี้อย่าไปไหนนะ หรืออย่าไปเที่ยวกับชายคนนั้นคนนี้นะ เป็นต้น
๓.ห้ามปราม คือ สามารถห้ามการกระทำบางอย่างได้ เช่น ห้ามไปหาคนนั้นคนนี้ที่เป็นชายได้ หรือห้ามคบหาสมาคมกับชายนั้นชายนี้เป็นต้น
๔.ให้อยู่ในอำนาจ หมายถึง สามารถความคุมได้ทั้งทางพฤตินัยและในแง่
กฎหมาย(ผู้ปกครอง,ผู้ใช้อำนาจปรกครอง,ผู้พิทักษ์)

         ในบรรดาหญิง ๘ จำพวกมีมาตุรักขิตา(ข้อ ๑) เป็นต้น จนถึงธัมมรักขิตา(ข้อ ๘) เหล่านี้ยังไม่ได้มีสามีที่เป็นเจ้าของในร่างกายของตน ตนเองมีสิทธิ์ในร่างกายของตน เมื่อพอใจชายใดแล้วมอบกายให้แก่ชายนั้น ย่อมไม่เป็นกาเมสุมิจฉาจาร เพราะว่าบิดามารดาเป็นต้น ที่ปกครองดูแลรักษาอยู่ ไม่ได้เป็นเจ้าของผัสสะ(ร่างกาย)ของหญิงนั้น เป็นเพียงผู้ปกครองดูแลรักษาเท่านั้น
         ส่วนหญิงที่เหลืออีก ๑๒ จำพวก มีสารักขา(ข้อ ๙) เป็นต้น จนถึงมุหุตติกา(ข้อ ๒๐) เหล่านี้เป็นหญิงจำพวกที่มีสามีแล้ว หากหญิงเหล่านี้ยอมตัวให้ชายอื่นล่างเกินแล้ว ย่อมเป็นการเมสุมิจฉาจาร
         สำหรับชายนั้นการร่วมประเวณีกับหญิงทั้ง ๒๐ จำพวกซึ่งไม่ใช่ภรรยาของตนนั้น ย่อมเป็นการเมสุมิจฉาจาร

         อนึ่ง กาเมสุมิจฉาจารอกุศลกรรมบทนี้ ย่อมมีองค์ ๔ เสมอไป ไม่ขึ้นกับอายุ เชื้อชาติ หรือผิวพรรณ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา หรือแม้สัตว์ดิรัจฉาน ไม่ว่าจะได้สมาทานศีล(มีศีล ๕ เป็นต้น)ไว้ หรือไม่เคยสมาทานศีลเลยก็ตาม ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไรก็ตาม เชื่อกรรมหรือไม่เชื่อก็ตาม  หากครบองค์ทั้ง ๔ นี้แล้ว ย่อมเป็น การเมสุมิจฉาจารอกุศลกรรมบท ซึ่งสามารถให้ผลวิบากที่ไม่ดีได้ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล

ในเรื่องกาเมสุมิจฉาจารนี้ ผู้ที่เสพเท่านั้นจึงจะชื่อว่า ล่วงกาเมสุมิจฉาจาร ส่วนการใช้คนอื่นให้ทำแก่คนอื่นนั้น ไม่เป็นการผิดกาเมสุมิจฉาจาร แต่การใช้ให้คนอื่นทำกาเมสุมิจฉาจารแก่ตนนั้น ชื่อว่า เป็นการล่วงกาเมสุมิจฉาจารแท้


====

โทษของกาเมสุมิจฉาจาร
โดยส่วนใหญ่การกระทำผิดในข้อนี้ คนส่วนมากมักจะนึกถึงการประพฤติผิดในกาม
หรือการล่วงประเวณี อันเป็นการกระทำลามก ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายพึงติเตียน นั้นคือ
การทำผิดลูกเมียเขา ซึ่งเป็นความประพฤติที่สังคมทั่วไปไม่ยอมรับ ผู้ที่กระทำจึง
ต้องมีพฤติกรรมที่ปิดบังและซ่อนเร้น การกระทำอกุศลเช่นนี้ ผลที่จะได้รับใน
ปวัตติกาล (ภายหลังการเกิด) คือ

1. มีผู้เกลียดชังมาก
เพราะการกระทำที่ผิดลูกเมียเขา ย่อมสร้างความโกรธแค้นให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง
กับผู้เสียหาย ผลที่ได้รับคือ มีศัตรูและมีคนเกลียดชังมาก ในข้อนี้ทุกคนก็ต้องเคย
ประสบมา แต่อาจเป็นเพียงเศษกรรม เช่น เวลาที่มีเรื่องขัดใจกับใคร และมีการ
โต้เถียง ทำให้มองหน้ากันไม่ได้ หรือบางคนอาจมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มียศถา
บรรดาศักดิ์ แต่ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของลูกน้อง เป็นต้น.

2.มีผู้คิดปองร้าย
เพราะได้เคยสร้างศัตรูสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับผู้อื่น ตัวอย่าง เช่น นักเรียน
บางคนเรียบร้อย ไม่เคยมีเรื่องราวอะไรกับใคร แต่ถูกนักเรียนโรงเรียนอื่นรุม
ทำร้ายจนบาดเจ็บ อันนี้ผลที่เขาถูกทำร้าย ก็เพราะอดีตชาติเคยทำปาบข้อ
กาเมสุมิจฉาจาร และที่ต้องบาดเจ็บก็เพราะได้เคยทำปาณาติบาต มานั่นเอง
แม้กระทั้งสามีภรรยามีเรื่องระหองแหง การใช้สายตาและคำพูดทำร้ายจิตใจกัน
ก็ถือว่าเป็นผลของการกระทำอกุศลในข้อนี้เช่นเดียวกัน.

3.ขัดสนทรัพย์
ไม่ว่าจะทำอะไรก็มีแต่ความฝืดเคือง เงินเดือนชักหน้าไม่ถึงหลัง ดังที่เราได้เห็น
บางคนต้องเข้าโรงรับจำนำประจำ เพราะอดีตได้สร้างความ ไม่รู้จักพอ นั่นเอง.

4.อดอยาก ยากจน
เพราะการประพฤติผิดในกามหรือการล่วงประเวณีนั้น เป็นการกระทำที่ตนเอง
เป็นผู้ไม่รู้จักพอ ไม่พอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ (สามี ภรรยา ของตนเอง) แล้วยัง
ไปเบียดเบียนผู้อื่น จึงเป็นการสร้างทางให้ตนเองต้องอดอยาก ยากจน.

5.เกิดเป็นหญิง
เพราะการกระทำอกุศลกรรมบถในข้อนี้จะเป็นไปแบบปิดบังซ่อนเร้น ไม่กล้า
เปิดเผย การกระทำที่ต้องหลบเลี่ยงเช่นนี้ จัดเป็นอำนาจอ่อนแบบที่เรียกว่า
สสังขาริก อันจะนำไปเกิดเป็นผู้หญิง ซึ่งเป็นเพศที่มีความลำบากมากว่าผู้ชาย
มีความอับอายในบางสิ่งบางอย่างมากกว่า มีเรื่องที่ต้องปกปิดมากกว่า นั่นเอง.

6.เกิดเป็นกระเทย
ซึ่งเป็นเพศที่สังคมส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับ เพราะเหตุที่ได้เคยกระทำ
กาเมสุมิฉาจาร ที่สังคมไม่ยอมรับ นั่นเอง

7.ถ้าเกิดเป็นชายก็จะเกิดในตระกูลต่ำ
เพราะในขณะที่ตาย จิตจับอารมณ์ที่ดีและเป็นอำนาจของ อสังขาริก คืออำนาจ
ที่เด็ดเดี่ยว ทำให้เกิดเป็นผู้ชาย แต่เหตุที่เคยประพฤติผิดในกามที่ยังให้ผลอยู่
จึงต้องเกิดในตระกูลต่ำและมีผลทำให้ขัดสนทรัพย์ และความอดอยากยากจน
ก็ตามมา.

8.ได้รับความอับอายอยู่เสมอ
คือเป็นคนเปิ่น ไม่ว่าจะทำอะไรก็จะเป็นที่ขบขันของคนอื่น พฤติกรรมที่แสดงออก
ไปจึงทำให้ตนเองต้องอับอาย เพราะเหตุที่เคยสร้างความอับอายไว้ให้ผู้อื่นนั่นเอง.

9.ร่างกายไม่สมประกอบ
คือ ร่างกายพิการ หรือเป็นผู้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายผิดแผกแตกต่างไปจาก
คนอื่น เช่น มีความผิดปกติของอวัยวะบางส่วน อาจโตหรือเล็กผิดไปจากธรรมดา
เคยมีข่าวว่าหญิงคนหนึ่งมีอวัยวะเพศใหญ่โตผิดปกติ มีคนแห่กันไปดูมากมาย
เพราะมีร่างกายไม่สมประกอบ ซึ่งอาจทำให้ต้องได้รับความอับอายตามมา ทั้งนี้
เพราะอดีตชาติได้เคยล่วงเกินร่างกายของผู้อื่นนั่นเอง.

10.มากด้วยความวิตกกังวล
เพราะเหตุที่ได้เคยกระทำกรรมที่ต้องปกปิด กลัวว่าใครจะรู้เรื่องราวที่ตนเอง
กระทำมา จึงทำให้เกิดมาต้องเป็นคนที่มีแต่ความวิตกกังวล บางคนเมื่อมีหน้าที่
ที่จะต้องรับผิดชอบงานชิ้นหนึ่ง ก็มีแต่ความวิตกอยู่ตลอดเวลาจนงานนั้นสำเร็จ
นักเรียนบางคน พอใกล้สอบก็เกิดอาการท้องเสียบ้าง ปวดท้องบ้าง แต่เมื่อสอบเสร็จ
อาการปวดท้องนั้นก็หายไป สิ่งเหล่านี้ก็เป็นผลของความเครียด หรือความวิตก
กังวลนั่นเอง.

11.พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก
เพราะได้เคยทำพฤติกรรมที่เหมือนกับการไปพรากผู้เป็นที่รักของบุคคลอื่นหรือ
ผู้ที่มีเจ้าของ จึงทำให้ได้รับผลต้องสูญเสียหรือพลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก เช่น
สามีภรรยาที่เคยรักกัน แต่ต้องมีเรื่องไม่เข้าใจกัน จนต้องเลิกร้างไปในที่สุด
หรือหนุ่มสาวที่ต้องอกหัก และแม้กระทั้งเด็กที่ต้องกำพร้า ขาดพ่อ ขาดแม่ ล้วน
เป็นผลจากการทำผิด กาเมสุมิฉาจาร ทั้งสิ้น.


12.นรกขุมที่ใช้ลงโทษผู้ผิดศีลข้อสาม
จะพบเจอสุนัขนรกไล่กัดให้ปีนขึ้นต้นงิ้วที่มีหนามเหมือนเข็มฉีดยาจำนวนมาก
ตอนปีนหนีขึ้น เข็มเหล่านี้จะชี้ลงสวนทางกับการปีนขึ้น เมื่อปีนขึ้นไปถึงยอดจะ
พบอีกานรกไล่จิกให้หนีลงมาด้านล่าง ขณะปีนลง หนามต้นงิ้วจะชี้ขึ้น พอลงถึง
ด้านล่างจะเจอสุนักนรกไล่กัดใหม่ เป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนตาย แล้วเกิดใหม่ก็ปีน

เบญจศีล สิกขาบทที่ ๔ มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ

ศีลข้อนี้บัญญัติขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันการทำลายประโยชน์ของกันและกัน ด้วยการพูด คือ ตัดประโยชน์ทางวาจา และรักษาวาจาของตนให้เป็นที่เชื่อถือของคนอื่น เมื่อเพ่งความเจริญเป็นใหญ่ พึงทราบในสิกขาบทนี้ ท่านห้ามเป็นข้อใหญ่ ๓ ประการ คือ ๑. มุสาวาท     ๒. อนุโลมุสา   ๓. ปฏิสสวะ การกระทำตามข้อ ๑ ศีลขาด กระทำตามข้อ ๒ และ ๓ ศีลด่างพร้อย

มุสาวาท
การพูดเท็จ คือ การโกหก หมายถึง การแสดงออกด้วยเจตนาบิดเบือนความจริง ให้คนหลงเชื่อแสดงออกได้ ๒ ทาง คือ
๑. ทางวาจา ได้แก่ พูดโกหกชัด ๆ
๒. ทางกาย ทำเท็จทางกาย เช่น เขียนจดหมาย โกหก ทำรายงานเท็จ ทำหลักฐานปลอม หรือ มีใครถามข้อความที่ควรรับ ก็สั่งศีรษะแสดงปฏิเสธ
เพื่อความสะดวกในการเรียน และการปฏิบัติ ท่านจำแนกกิริยาที่เป็นมุสาวาทไว้ ๗ อย่าง คือ
๑. ปด ได้แก่ พูดมุสาชัดๆ ไม่อาศัย ไม่อาศัยมูลเหตุเลย เช่น เห็นว่าไม่เห็น รู้ว่าไม่รู้ โดยโวหารต่างกัน ตามความมุ่งหมายของผู้พูด ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่าง ๔ ข้อ คือ
ก. พูดเพื่อจะให้เขาแตกกัน เรียกว่า ส่อเสียด
ข. พูดเพื่อจะโกงท่าน เรียกว่า หลอก
ค. พูดเพื่อจะยกย่อง ท่านเรียกว่า ยก
ง. พูดไว้แล้วไม่รับ เรียกว่า กลับคำ
๒. ทนสาบาน ได้แก่ กิริยาที่เลี่ยงสัตย์ว่า จะพูดตามจริง แต่ใจไม่ตั้งจริงตามนั้น มีพูดปดเป็นลำดับ บริวาร เช่น เป็นพยานทนสาบานไว้ แล้วเบิกความเท็จ เป็นต้น
๓. ทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ กิริยาที่อวดอ้างความศักดิ์สิทธิ์อันไม่มีจริง เช่น อวดรู้วิชาคงกระพัน ฟันไม่เข้ายิงไม่ออก เป็นต้น ซึ่งเป็นอุบายหาลาภ
๔. มารยา  ได้แก่ กิริยาที่แสดงให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง หรือลวงให้เข้าใจผิด เช่น เป็นคนทุศีล ก็ทำท่าทางให้เขาเห็นว่ามีศีล เจ็บน้อยก็ครวญครางมาก
๕. ทำเลศ ได้แก่ พูดมุสาเล่นสำนวน เช่น เห็นคนวิ่งหนีเขามา เมื่อผู้ไล่มาถาม ไม่อยากจะให้เขาจับคนนั้นได้ แต่ไม่ต้องการให้ใครตราหน้าว่าเป็นคนพูดมุสา จึงย้ายไปยืนที่อื่น แล้วพูดว่าตั้งแต่มายืนที่นี่ ยังไม่เคยเห็นใครวิ่งมาเลย
๖. เสริมความ ได้แก่ พูดมุสาอาศัยมูลเดิม แต่ตัดความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เรื่องมากพูดให้เหลือน้อย ปิดความบกพร่องของตน
โทษของมุสาวาท
บุคคลพูดมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกปรับโทษทางกฎหมายที่หักประโยชน์ของผู้อื่น ทางธรรมปรับโทษอย่างหนักถึงปาราชิก อย่างเบาปรับเสมอปาจิตตีย์ กล่าวโดยความเป็นกรรมมีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดย วัตถุ เจตนา ประโยค
ก. โดยวัตถุ ถ้าข้อความนั้นเป็นเรื่องหักล้างประโยชน์ เช่น ทนสาบาน เบิกพยานเท็จ กล่าวใส่ความท่าน หลอกลวงเอาทรัพย์ท่าน มีโทษหนัก หรือกล่าวมุสาแก่ผู้มีคุณ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ เจ้านาย และท่านผู้มีศีลธรรม มีโทษหนัก
ข. โดยเจตนา ถ้าผู้พูดคิดให้ร้ายท่าน เช่น กล่าวใส่ความท่าน มีโทษหนัก
ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำให้เขาเชื่อสำเร็จ มีโทษหนัก

อนุโลมมุสา
อนุโลมมุสา คือ เรื่องที่พูดนั้นไม่จริง แต่ผู้พูดมิได้มุ่งจะให้ผู้ฟังหลงเชื่อ แยกประเภท ๒ อย่าง คือ
๑. เสียดแทง กิริยาที่ว่าให้ผู้อื่นให้เจ็บใจ อ้างวัตถุไม่เป็นจริง กล่าวยกให้สูงกว่าพื้นเพเดิมของเขา เรียกว่า ประชด กล่าวทำให้คนเป็นคนเลวกว่าพื้นเพเดิมของเขา เรียกว่า ด่า
๒. สับปลับ ได้แก่ พูดปดด้วยคะนองวาจา
โทษของอนุโลมมุสา
อนุโลมมุสา มีโทษทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกจัดว่าเป็นกิริยาที่หยาบช้าเลวทราม ไม่สมควรประพฤติ ทางธรรม จัดว่าเป็นบาป เมื่อกล่าวโดยความเป็นกรรม ก็มีโทษหนักเป็นชั้นกัน โดยวัตถุ เจตนา ประโยค
ก. โดยวัตถุ ถ้าเป็นข้อความเป็นเรื่องประทุษร้ายท่าน เช่น พูดเสียดแทง มีโทษหนัก และกว่าแก่ผู้มีคุณ ก็มีโทษหนัก
ข. โดยเจตนา ถ้าพูดใส่ร้ายผู้อื่น เช่น หวังจะให้ท่านเจ็บใจ และกล่าวเสียดแทง มีโทษหนัก
ค. โดยประโยค ถ้าผู้พูดพยายามทำความเสียหายแก่ท่านสำเร็จ เช่น ยุให้ท่านแตกกัน และเขาก็แตกกัน มีโทษหนัก

ปฏิสสวะ
ปฏิสสวะ ได้แก่ เดิมรับคำของคนอื่นด้วยเจตนาบริสุทธิ์ แต่ภายหลังกลับใจ ไม่ทำตามที่รับนั้น แม้ไม่เป็นการพูดเท็จโดยตรง แต่ก็เป็นการทำลายประโยชน์ของคนอื่นได้ มีประเภทเป็น ๓ อย่าง คือ
๑. ผิดสัญญา  ได้แก่  สองฝ่ายทำสัญญากันว่าจะทำอย่างนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำอย่างนั้น เช่น ทำสัญญาจ้าง เป็นต้น
๒. เสียสัตย์ ได้แก่ ให้สัตย์แก่ท่านฝ่ายเดียวว่าตนจะทำ หรือไม่ทำเช่นนั้นๆ แต่ภายหลังไม่ทำตามนั้น เช่น ข้าราชการ ผู้ถวายสัตย์สาบานแล้ว ไม่ทำตามนั้น
๓. คืนคำ ได้แก่ รับว่าจะทำสิ่งนั้นๆ แล้วภายหลังไม่ทำ เช่น รับว่าให้สิ่งนั้นๆ แล้วไม่ให้
โทษของปฏิสสวะ คือ ทำให้เสียชื่อเสียง ตามฐานที่ไม่ตั้งอยู่ในสัตย์

ถ้อยคำที่ไม่เป็นมุสา
มีคำพูดอีกประเภทหนึ่ง ที่ผู้พูดๆ ไม่จริง แต่ก็ไม่ประสงค์ให้ผู้ฟังเชื่อ เรียกว่า ยถาสัญญา คือ พูดตามความสำคัญ ผู้พูดไม่ผิดศีล แยกประเภทเป็น ๔ อย่าง คือ
๑. โวหาร ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้เป็นธรรมเนียม เพื่อความไพเราะทางภาษา เช่น เราเขียนจดหมายลงท้ายด้วยความนับถืออย่างสูง ทั้งที่เราไม่ได้นับถือเขาเลย
๒. นิยาย ได้แก่ เรื่องเปรียบเทียบ เพื่อได้ใจความเป็นสุภาษิต เช่น ผูกนิยายขึ้น เช่น ลิเก ละคร
๓. สำคัญผิด ได้แก่ ผู้พูดเข้าใจผิด พูดไปตามความเข้าใจของตนเอง เช่น จำวันผิด ใครถามก็ตอบตามนั้น
๔. พลั้ง ได้แก่ ผู้พูดตั้งใจว่าจะพูดอย่างหนึ่ง แต่ปากไพล่ไปพูดอย่างหนึ่ง

หลักวินิจฉัยมุสาวาท มุสาวาทมีองค์ ๔
๑. อภูตวัตถุ   เรื่องที่พูดเป็นเรื่องไม่จริง
๒. วิวาทนจิตตัง จงใจจะพูดให้ผิด
๓. ตัชโช วายาโม  พยายามพูดคำนั้นออกไป
๔. ปะรัสสะ ตะทัตถวิชานะนัง คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น

หมายความว่า ศีลข้อที่ ๔ นี้จะขาด ต่อเมื่อการพูด หรือการทำเท็จ ครบองค์ทั้ง ๔ ดังต่อไปนี้
องค์ที่ ๑ ที่ว่าเรื่องไม่จริง คือเรื่องที่พูดนั้นไม่มีจริง ไม่เป็นจริง เช่นฝนไม่ตกเลย แต่เราบอกว่าฝนตก อย่างนี้เรียกว่าเรื่องไม่มีจริง หรือฝนตก แต่เราพูดว่าฝนไม่ตก อย่างนี้ก็ เรียกว่า เรื่องไม่มีจริง เพราะเรื่องฝนไม่ตก ไม่มีจริง เรื่องที่จริงนั้นก็คือเรื่องฝนตก
องค์ที่ ๒ จิตคิดจะพูดให้ผิด คือมีเจตนาจะพูดบิดเบือนความจริงเสีย ถ้าพูดโดยไม่ เจตนาจะพูดให้ผิด ศีลไม่ขาด
องค์ที่ ๓ พยายามพูดออกไป คือได้กระทำการเท็จด้วยเจตนานั้น ไม่ใช่เพียงแต่คิดเฉยๆ
องค์ที่ ๔ คนอื่นเข้าใจเนื้อความนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่สำคัญอย่างหนึ่ง คำว่า "ผู้อื่น"ในที่นี้ หมายถึง คนที่เราต้องการจะโกหก ถ้าผู้อื่นเข้าใจคำที่เราพูดนั้น เป็นศีลขาด ส่วนที่ว่า เขาจะเชื่อหรือไม่นั้น ไม่ถือเป็นสำคัญ ถ้าพูดไปแล้ว เขาไม่เข้าใจ เช่น เราโกหกเป็นภาษาไทย ให้ฝรั่งฟังเขาไม่รู้ภาษา ศีลไม่ขาด

====
ถาม
มุสาวาทมีโทษมาก มีโทษน้อย เพราะเหตุไร
ตอบ
มีโทษมาก เพราะเหตุดังนี้
๑. เพราะประโยชน์ที่หักรานมาก
๒. เพราะผู้ที่ถูกหักรานประโยชน์มีคุณมาก
๓. เพราะกิเลสแรงกล้า
๔. เพราะเป็นพยานกล่าวเท็จหักรานประโยชน์
๕. เพราะตนมิได้เห็นแกล้งกล่าวว่าเห็น
๖. เพราะความพยายามกล้า
มีโทษน้อย เพราะเหตุดังนี้
๑. เพราะประโยชน์ที่หักรานน้อย
๒. เพราะผู้ที่ถูกหักรานประโยชน์มีคุณน้อย
๓. เพราะความพยายามน้อย
๔. เพราะกิเลสอ่อน

ถาม
ความแตกต่างกันในระหว่างบรรพชิตกับคฤหัสถ์ เกี่ยวกับเรื่องมุสาวาทนี้ เป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ
เป็นอย่างนี้คือ
ก. สำหรับพวก คฤหัสถ์ พูดมุสาวาทว่า "ไม่มี" เพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน มีโทษน้อย
ข. สำหรับพวก บรรพชิต กล่าวเพื่อให้หัวเราะ เช่น ได้น้ำมันและเนยใสน้อย พูดว่า
 "วันนี้น้ำมันกับเนยใสในบ้านไหลดุจแม่น้ำ" มีโทษน้อย

ถาม
ถ้าบุคคลรักษาศีลข้อมุสาวาทนี้ได้ดี จะมีอานิสงส์ เป็นประการใดบ้าง
ตอบ
มีอานิสงส์อย่างนี้ คือ
๑. มีอินทรีย์ผ่องใส
๒. กล่าวถ้อยคำสละสลวยอ่อนหวานนิ่มนวล
๓. มีฟันเรียบเสมอดี
๔. ไม่อ้วนเกินไป
๕. ไม่ผอมเกินไป
๖. ไม่เตี้ยเกินไป
๗. ไม่สูงเกินไป
๘. มีสัมผัสเป็นสุข
๙. มีกลิ่นปากหอมดุจกลิ่นดอกอุบล
๑๐. ไม่มีคนริษยาลูกสะใภ้
๑๑. พูดแต่คำที่ควรพูด
๑๒. มีลิ้นอ่อนเช่นกับกลีบกมล อุบล และมีลิ้นมีโลหิต ซึมซาบเป็นอย่างดี
๑๓. ไม่ฟุ้งซ่าน
๑๔. มีคนรักใคร่พอใจ

====

ศีลขาด
คือ เจตนากล่าวคำเท็จ โกหก หลอกลวง บิดเบือนไปจากความจริง หรือสัจจะ

ศีลทะลุ
คือ เจตนากล่าววาจา ระบายโทสะ บำเรอโลภะ บำรุงราคะ เป็นคำหยาบ

ศีลด่าง
คือ มีวาจาส่อไปในทางเสียด เสียดสีเชิงโทสะบ้าง เสียดสีเชิงโลภะบ้าง เสียดสีเชิงราคะบ้าง เสียดสีเชิงมานะทิฏฐิบ้าง เสียดสีเชิงมานะอัตตาบ้าง แม้จางบางเบา หรือพูดกับคนโน้นทีคนนี้ที เพื่อให้เกิดวิวาทบาดหมาง แยกก๊ก แบ่งเหล่า ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาส่อเสียด การนินทาให้ร้ายผู้อื่นก็จัดเป็นการส่อเสียด

ศีลพร้อย
คือ มีวาจาเรื่อยเปื่อยเฉื่อยฉ่ำไป เพ้อไป พล่อยไป พล่ามไป จะโดยแรงเร้าจากโทสะที่จากบางเบา โลภะที่จางบางเบา ราคะที่จางบางเบา หรือมานะทิฏฐิที่จางบางเบา มานะอัตตาที่จางบางเบา ก็จัดเข้าอยู่นัยนี้ เป็นวาจาเพ้อเจ้อ

เป็นไทโดยศีล
ขัดเกลาตนจนอิสระเสรี มีวาจาประชาสัมพันธ์ เป็นไปโดยสามารถของตนไร้อิทธิพลจากโทสะ โลภะ ราคะ มานะทิฏฐิ มานะอัตตามาครอบงำ หรือไม่มีความพร้อย ความด่าง ความทะลุ หรือขาดทางศีลธรรม โดยเฉพาะเรื่องราว ลดมิจฉาสู่สัมมา หรือลดมุสา (วาจาอันเป็นเท็จจากสัจจะ) พัฒนาสัจจวาจา

การรับรู้รายได้

สรุปคือรับรู้เมื่อได้เงินแน่นอนจึงกล้านำมาบันทึกไว้ในบัญชีงบกำไรขาดทุน รายละเอียด:

รายได้ (Revenue) หมายถึง กระแสเข้าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (Inflow of Economic Beneflt) ก่อนหักค่าใช้จ่ายที่กิจการได้รับหรือค้างรับ ในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเกิดขึ้นจากกิจกรรมตามปกติของกิจการเมื่อกระแสเข้า นั้นส่งผลให้ส่วนของเจ้าของเพิ่มขึ้นทั้งนี้ไม่รวมถึงเงินทุนที่ได้รับจาก ผู้มีส่วนร่วมในส่วนของเจ้าของกิจการ เงินที่กิจการเรียกเก็บแทนบุคคลที่สามการรับรู้รายได้(RevenueRecognition) หมายถึงการรวบรวมรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงบกำไรขาด ทุน ดังนั้น เมื่อกิจการมีการรับรู้รายได้จะต้องปฏิบัติ คือ จะต้องนำรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีนั้นไปบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และนำรายได้ดังกล่าวไปคำนวณกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน 

การรับรู้รายได้ของธุรกิจมีดังต่อไปนี้ 
  1. การรับรู้รายได้ของธุรกิจขายสินค้า
การรับรู้รายได้จากการขายสินค้าจะต้องเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้ 
                1.1)   กิจการได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็นสาระสำคัญของความเป็นเจ้าของ 
                         สินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว 
                1.2)   กิจการไม่เกี่ยวข้องในการบริหารสินค้าอย่างต่อเนื่องในระดับที่เจ้าของพึง กระทำ 
                         หรือไม่ได้ควบคุมสินค้าที่ขายไปแล้วทั้งทางตรงและทางอ้อม 
                1.3)   กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ 
                1.4)   มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของ 
                         รายการบัญชีนั้น 
                1.5)   กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนที่เกิดขึ้นหรือที่จะเกิดขึ้นมาจากรายการบัญชีนั้นได้ 
                         อย่างน่าเชื่อถือ 
      2.  การรับรู้รายได้ของธุรกิจให้บริการ การรับรู้รายได้จากการให้บริการ จะต้องเข้าหลักเกณฑ์เงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้ 
                2.1)   กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ 
                2.2)   มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของ 
                         รายการบัญชีนั้น 
                2.3)   กิจการสามารถวัดขั้นความสำเร็จของรายการบัญชี ณ วันที่ในงบดุลได้อย่างน่าเชื่อถือ 
                2.4)   กิจการสามารถวัดมูลค่าของต้นทุนได้อย่างน่าเชื่อถือ ซึ่งเป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นแล้วและ 
                        ที่จะเกิดขึ้นเพื่อทำให้รายการบัญชีนั้นเสร็จสมบูรณ์ 
  
      3.   การรับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล การรับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผลที่เกิดจากการให้ผู้อื่นใช้สินทรัพย์ของกิจการ จะรับรู้รายได้เมื่อเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้ 
                3.1)   มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่กิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของ 
                         รายการบัญชีนั้น 
                3.2)   กิจการสามารถวัดมูลค่าของจำนวนรายได้ได้อย่างน่าเชื่อถือ การรับรู้รายได้อื่น 
                         ของดอกเบี้ย ค่าสิทธิ และเงินปันผล 
                จะปฏิบัติการรับรู้รายได้ดังต่อไปนี้ 
                                3.2.1)   รับรู้รายได้ค่าดอกเบี้ย รับรู้ตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาโดยคำนึงถึง 
                                            อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของสินทรัพย์ 
                                3.2.2)   รับรู้รายได้ค่าสิทธิรับรู้ตามเกณฑ์คงค้างซึ่งเป็นไปตามเนื้อหาของ 
                                           ข้อตกลงที่เกี่ยวข้อง 
                                3.2.3)   รับรู้รายได้เงินปันผล รับรู้เมื่อผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับเงินปันผล

การสั่งงานให้ได้ผล

ต้องทำให้ลูกน้องได้รับสารครบถ้วนในสองมิติคือ
  1. เนื้อหาสาระของงานและ
  2. ความรู้สึกว่าได้รับเกียรติถ้าทำงานนี้
--CUradio

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หมาเห่า


Rating VS Ranking

Rating คือการให้คะแนนซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยม
Ranking คือการจัดอันดับ (sorting) หรือการจำแนกลงกลุ่ม (classification)

How fortunate you are?


น้ำมันแพงเพราะ...


The True Power..


วิธีคิดของคนรวยคนจน


วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ผู้ใดยกย่องครู ผู้นั้นยกย่องตนเอง

--ภาพยนตร์เฉินหลง เจ็ทลี

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Passion VS Motivation VS Inspiration

Passion = ความอยาก, กิเลส
Motivation = สิ่งกระตุ้นการกระทำ (external driving force) มักใช้กับสิ่งที่ควรทำเพราะปัจจัยภายนอก
Inspiration = แรงบันดาลใจ (internal/mental driving force) มักใช้กับสิ่งที่อยากทำขึ้นมาเอง
เช่น สิ่งกระตุ้นให้ทำวิจัยเรื่องนี้ แต่จริงๆ ไม่ได้อยากทำวิจัยแค่อยากเรียนให้จบได้ปริญญา

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Tycoon


A tycoon is a person who is successful in business and so has become rich and powerful.

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Webometrics

"ม. เกษตรฯ ติดอันดับ 1 ของประเทศไทย 3 ปีติดต่อกัน จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกตามเกณฑ์ Webometrics

รศ.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ติดอันดับที่ 1 ของประเทศไทย อันดับที่ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 12 ของเอเชีย และเป็นอันดับที่ 166 ของโลก จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก ประจำเดือนกรกฎาคม ค.ศ.2012 จากผลการจัดอันดับตั้งแต่เดือน ก.ค.2011 ม.ค.2012 และ ก.ค.2012 ตามเกณฑ์ Webometrics จัดทำโดย Cybermetrics Lab กลุ่มวิจัยของ the Consejo Superior de Investigaciones Cientificas (CSIC) ประเทศสเปน

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครองแชมป์อันดับที่ 1 ของประเทศไทย 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งเป็นการจัดอันดับสมรรถนะของมหาวิทยาลัยบนโลกอินเตอร์เน็ต โดยใช้เกณฑ์ตัวชี้วัดในการการจัดอันดับคือจำนวนลิงค์ภายนอกที่ลิงค์มาเว็บไซต์มหาวิทยาลัย (Impact) 50% จำนวนหน้าเว็บของมหาวิทยาลัยภายใต้ Domain เดียวกัน (Presence) 20%จำนวนไฟล์ข้อมูลที่นำเสนอบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัย (Openness) 15 % และจำนวนบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (Excellence) 15% ซึ่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้รับ Impact  91 คะแนน Presence 36 คะแนน Openness 262 คะแนน และ Excellence 1,157 คะแนน ตามลำดับ นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และประเทศไทย ที่สามารถทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และที่นำไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางบนโลกอินเตอร์เน็ต"--มติชน

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กรรมดีก็มีโทษ


  • กำลังบุญเปรียบเหมือนแรงในการวิ่งหนีโจรซึ่งเปรียบเหมือนกำลังบาปการจะวิ่งหนีได้ตลอดต้องอาศัยการทำบุญที่สม่ำเสมอ
  • ผลของบุญมีโทษทำให้ผู้รับผลหลงในสุขแห่งผลเหล่านั้นได้หากไม่เข้าใจว่าผลเหล่านี้เป็นไตรลักษณ์คือเกิดขึ้นแต่ไม่เที่ยงและจะดับไปในที่สุด เช่น คนรวยที่ดูถูกคนจน คนฉลาดที่ดูถูกผู้คนรอบข้าง
  • ปัญญาเกิดจากจิตที่สงบจากความโลภความโกรธความหลง

ขนาดของนิทรรศการ


1. การจัดแสดงขนาดเล็ก  (display) หมายถึง การนำเอาวัสดุ  สิ่งของมาแสดงในพื้นที่จำกัด
อาจจัดแสดงเพียงหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือสองสามหัวข้อ ภายใต้จุดมุ่งหมายเดียวกัน  การจัดแสดง
ขนาดเล็กดังกล่าวแบ่งเป็น  2  รูปแบบ
          1.1  การจัดแสดงสินค้า  (merchandising display)  คือ  การจัดแสดงสินค้าภายในตู้โชว์
(window  display)  และการแสดงตามมุมใดมุมหนึ่งของอาคาร  (interior display)
          1.2 การแสดงทางการศึกษา  (education display)  คือการแสดงในด้านการให้ความรู้ โดยใช้
วัสดุสามมิติ  วัสดุกราฟฟิค  (ลายเส้น)  และการสาธิตต่าง ๆ
2. นิทรรศการ  (exhibition)  คือ  การจัดแสดงที่มีหลาย ๆ จุดมุ่งหมายหรือหลายๆ เรื่องมาจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ ภายใต้ชื่องานดียวกัน หรือเป็นการนำ display หลายๆ display มาจัดแสดงในพื้นที่เดียวกัน เช่น  นิทรรศการทางวิชาการ นิทรรศการทางการเกษตร นิทรรศการทางศิลปะ ตลอดจนการแสดงสินค้าตกแต่งบ้าน  และการแสดงสิ่งต่างๆ ในรูปแบบ พิพิธภัณฑ์  เป็นต้น
3. งานออกร้าน  (fair)  คือ การแสดงส่วนย่อย ๆ ที่มีหลากหลายวัตถุประสงค์ในบริเวณเดียวกัน เช่น
งานประกวด  ตลาดนัด  งานกาชาด หรืองานออกร้าน โดยการรวมกลุ่มกันของพ่อค้า (trade  fair)  เป็นต้น
4. งานแสดงขนาดใหญ่  (exposition, Expo)  คือ การแสดงวัตถุหรือสินค้าในระดับชาติ  ระดับนานาชาติ
หรือระดับโลก  ที่รวบรวมงานแสดงลักษณะต่าง ๆ ที่กล่าวมาตั้งแต่งานแสดงขนาดย่อย  งานแสดงนิทรรศการงานออกร้าน ไว้ในงานหรือในพื้นที่เดียวกัน
        การแบ่งนิทรรศการตามขนาดความเล็กใหญ่  หรือระดับของงานเพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างของการจัดงานซึ่งมีองค์ประกอบในด้านของการเตรียมงาน  การวางแผน  การออกแบบ  การดำเนินงาน  รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดงานที่มีความแตกต่างกันตามขนาดหรือระดับการจัดงาน