ผู้มีสิทธิ์ได้รับพระราชทานเพลิงหลวง และหีบเพลิงต้องมีตำแหน่งและชั้นยศ ดังต่อไปนี้
1. พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
2. พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น “หม่อมเจ้า” ขึ้นไป
3. ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
4. ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
5. ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรี ขึ้นไป
6. พนักงานเทศบาลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
7. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์” (บ.ภ.) และ “เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย” (บ.ม.) ขึ้นไป
8. ผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จุลจอมเกล้า” (จ.จ.) หรือ “ตราสืบตระกูล” (ต.จ.) ขึ้นไป
9. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญ “รัตนาภรณ์” รัชกาลปัจจุบัน
10. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
11. รัฐมนตรีที่ถึงแก่อนิจกรรม
12. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ ควรอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผู้ที่อยู่ในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง
2. พระสงฆ์ที่พระราชาคณะพิจารณาขอพระราชทานให้
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง
4. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญ และเหรียญชัยสมรภูมิ
5. ผู้ที่ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ
อดีตสมาชิกสภาจังหวัดหรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล
6. ผู้ที่ทำประโญชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศล คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 300,000 บาท บริจาคร่างกายหรืออวัยวะ
7. บิดามารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ 6 ขึ้นไป
8. บิดามารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตติตาภรณ์ช้างเผือก” (ต.ช.) ขึ้นไป
9. บิดามารดาของพระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
10. บิดามารดาของข้าราชการทหาร ตำรวจ ตั้งแต่ระดับพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท และพันตำรวจโท ขึ้นไป
ขั้นตอนในการขอพระราชทานเพลิงศพ
1. การขอพระราชทานเพลิงศพ : เจ้าภาพหรือทายาทผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม โดยระบุ
- ชื่อ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ของผู้ถึงแก่กรรม
- ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
- ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อะไรบ้าง
- มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพอย่างใดบ้าง
- ระบุวัน เวลา สถานที่ที่ฌาปนกิจ
2. การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ : เจ้าภาพหรือทายาท
ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ต้องทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักพระราชวัง โดยระบุ
- ชื่อ - สกุล และประวัติโดยย่อของผู้ถึงแก่กรรม
- ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
- ระบุคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ หรือคุณสมบัติ
1. พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
2. พระราชวงศ์ ตั้งแต่ชั้น “หม่อมเจ้า” ขึ้นไป
3. ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
4. ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
5. ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชั้นร้อยตรี ขึ้นไป
6. พนักงานเทศบาลตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป
7. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตั้งแต่ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์” (บ.ภ.) และ “เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย” (บ.ม.) ขึ้นไป
8. ผู้มีเกียรติที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จุลจอมเกล้า” (จ.จ.) หรือ “ตราสืบตระกูล” (ต.จ.) ขึ้นไป
9. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญ “รัตนาภรณ์” รัชกาลปัจจุบัน
10. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
11. รัฐมนตรีที่ถึงแก่อนิจกรรม
12. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ
หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาในการขอพระราชทานเพลิงศพกรณีพิเศษ ควรอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผู้ที่อยู่ในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง
2. พระสงฆ์ที่พระราชาคณะพิจารณาขอพระราชทานให้
3. พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง
4. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญ และเหรียญชัยสมรภูมิ
5. ผู้ที่ได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อดีตสภาร่างรัฐธรรมนูญ
อดีตสมาชิกสภาจังหวัดหรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล
6. ผู้ที่ทำประโญชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศล คิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 300,000 บาท บริจาคร่างกายหรืออวัยวะ
7. บิดามารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ 6 ขึ้นไป
8. บิดามารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตติตาภรณ์ช้างเผือก” (ต.ช.) ขึ้นไป
9. บิดามารดาของพระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
10. บิดามารดาของข้าราชการทหาร ตำรวจ ตั้งแต่ระดับพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท และพันตำรวจโท ขึ้นไป
ขั้นตอนในการขอพระราชทานเพลิงศพ
1. การขอพระราชทานเพลิงศพ : เจ้าภาพหรือทายาทผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพ จะต้องทำหนังสือแจ้งไปยังกระทรวงเจ้าสังกัดของผู้ถึงแก่กรรม โดยระบุ
- ชื่อ ตำแหน่ง ชั้น ยศ ของผู้ถึงแก่กรรม
- ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
- ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อะไรบ้าง
- มีความประสงค์จะขอรับพระราชทานเครื่องเกียรติยศประกอบศพอย่างใดบ้าง
- ระบุวัน เวลา สถานที่ที่ฌาปนกิจ
2. การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ : เจ้าภาพหรือทายาท
ผู้ประสงค์ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ต้องทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักพระราชวัง โดยระบุ
- ชื่อ - สกุล และประวัติโดยย่อของผู้ถึงแก่กรรม
- ถึงแก่กรรมด้วยโรคอะไร ที่ไหน เมื่อใด
- ระบุคุณงามความดีที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ หรือคุณสมบัติ
ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษนั้น จะต้องนำหลักฐานมาแสดง
แก่เจ้าหน้าที่ ดังนี้
- ใบมรณบัตรของผู้ถึงแก่กรรม
- ใบทะเบียนบ้านของทายาทผู้ถึงแก่กรรม
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
- หนังสือรับรองจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจใบอนุโมทนาบัตร ใบประกาศ เหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญชัยสมรภูมิ ทั้งนี้ ต้องนำเอกสาร ต้นฉบับและสำเนาแนบมาพร้อมกับหนังสือด้วย
3. ติดต่อวัดเพื่อเตรียมการพระราชทานเพลิงศพ : ในการขอพระราชทานเพลิงศพ ทั้งตามเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและ
กรณีพิเศษนั้นจะต้องไม่ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ
พระราชพิธีฉัตรมงคล (และตามประเพณีนิยมไม่มีการเผาศพในวันศุกร์)
ข้อกำหนดของกองพระราชพิธี
1. ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานเพลิง ถ้าจะพระราชทานในต่างจังหวัด (นอกเขตรัศมี 50 ก.ม. จากพระบรมมหาราชวัง)
ยกเว้นปริมณฑลใกล้กรุงเทพ ฯ ทางสำนักพระราชวังจะได้จัดหีบเพลิงให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับไปพระราชทานเพลิง หรือให้
เจ้าภาพศพไปติดต่อขอรับหีบเพลิง หรือให้เจ้าภาพไปติดต่อขอรับ หีบเพลิงพระราชทานที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
2. กรณีพระราชทานเพลิงศพ ทั้งตามเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและกรณีพิเศษ ที่ไม่มีเครื่องเกียรติยศประกอบศพ
ในกรุงเทพฯ ทางสำนักพระราชวัง จะได้จัดเจ้าพนักงานเชิญเพลิงหลวง ไปพระราชทานโดยรถยนต์หลวง ทั้งนี้ เจ้าภาพไม่ต้อง
เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นยกเว้นปริมณฑลในรัศมี 50 กิโลเมตร จากพระบรมมหาราชวัง เจ้าภาพจะต้องจัดรถรับ – ส่ง
ให้เจ้าหน้าที่เชิญเพลิงด้วย
3. สำหรับเครื่องประกอบเกียรติยศ ได้แก่ หีบ โกศ ฉัตรตั้ง นั้นทางสำนักพระราชวังจะได้เชิญไปประกอบและแต่งตั้งไว้
มีกำหนดเพียง 7 วันเมื่อพ้นไปแล้ว เจ้าภาพหรือทายาทยังไม่กำหนดพระราชทานเพลิง ถ้าทางราชการมีความจำเป็น ก็จะถอน
ส่วนประกอบลองนอกของหีบ หรือ โกศไปใช้ราชการต่อไป
4. ในการพระราชทานเพลิงนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่เชิญเพลิงพระราชทานหรือเจ้าภาพเชิญหีบไปถึงมณฑลพิธี ในการนี้ห้ามเปิด
หรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เนื่องจากเป็นการไม่เหมาะสม
5. เจ้าภาพงานพระราชทานเพลิงศพ ควรโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี เพื่อยืนยันก่อนวันพระราชทานเพลิง
7 วัน ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2222 2735 หรือ 0 2221 0873 เฉพาะเพลิงที่เชิญโดยเจ้าหน้าที่
หลักฐานที่ต้องนำมาแสดงในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษนั้น จะต้องนำหลักฐานมาแสดง
แก่เจ้าหน้าที่ ดังนี้
- ใบมรณบัตรของผู้ถึงแก่กรรม
- ใบทะเบียนบ้านของทายาทผู้ถึงแก่กรรม
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการของทายาทของผู้ถึงแก่กรรม
- หนังสือรับรองจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจใบอนุโมทนาบัตร ใบประกาศ เหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญชัยสมรภูมิ ทั้งนี้ ต้องนำเอกสาร ต้นฉบับและสำเนาแนบมาพร้อมกับหนังสือด้วย
3. ติดต่อวัดเพื่อเตรียมการพระราชทานเพลิงศพ : ในการขอพระราชทานเพลิงศพ ทั้งตามเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและ
กรณีพิเศษนั้นจะต้องไม่ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และวันเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ
พระราชพิธีฉัตรมงคล (และตามประเพณีนิยมไม่มีการเผาศพในวันศุกร์)
ข้อกำหนดของกองพระราชพิธี
1. ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานเพลิง ถ้าจะพระราชทานในต่างจังหวัด (นอกเขตรัศมี 50 ก.ม. จากพระบรมมหาราชวัง)
ยกเว้นปริมณฑลใกล้กรุงเทพ ฯ ทางสำนักพระราชวังจะได้จัดหีบเพลิงให้กระทรวงเจ้าสังกัดรับไปพระราชทานเพลิง หรือให้
เจ้าภาพศพไปติดต่อขอรับหีบเพลิง หรือให้เจ้าภาพไปติดต่อขอรับ หีบเพลิงพระราชทานที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
2. กรณีพระราชทานเพลิงศพ ทั้งตามเกณฑ์ที่ได้รับพระราชทานและกรณีพิเศษ ที่ไม่มีเครื่องเกียรติยศประกอบศพ
ในกรุงเทพฯ ทางสำนักพระราชวัง จะได้จัดเจ้าพนักงานเชิญเพลิงหลวง ไปพระราชทานโดยรถยนต์หลวง ทั้งนี้ เจ้าภาพไม่ต้อง
เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นยกเว้นปริมณฑลในรัศมี 50 กิโลเมตร จากพระบรมมหาราชวัง เจ้าภาพจะต้องจัดรถรับ – ส่ง
ให้เจ้าหน้าที่เชิญเพลิงด้วย
3. สำหรับเครื่องประกอบเกียรติยศ ได้แก่ หีบ โกศ ฉัตรตั้ง นั้นทางสำนักพระราชวังจะได้เชิญไปประกอบและแต่งตั้งไว้
มีกำหนดเพียง 7 วันเมื่อพ้นไปแล้ว เจ้าภาพหรือทายาทยังไม่กำหนดพระราชทานเพลิง ถ้าทางราชการมีความจำเป็น ก็จะถอน
ส่วนประกอบลองนอกของหีบ หรือ โกศไปใช้ราชการต่อไป
4. ในการพระราชทานเพลิงนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่เชิญเพลิงพระราชทานหรือเจ้าภาพเชิญหีบไปถึงมณฑลพิธี ในการนี้ห้ามเปิด
หรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เนื่องจากเป็นการไม่เหมาะสม
5. เจ้าภาพงานพระราชทานเพลิงศพ ควรโทรศัพท์ติดต่อกับเจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี เพื่อยืนยันก่อนวันพระราชทานเพลิง
7 วัน ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2222 2735 หรือ 0 2221 0873 เฉพาะเพลิงที่เชิญโดยเจ้าหน้าที่
การขอรับและการปฏิบัติเกี่ยวกับหีบเพลิงพระราชทาน
เนื่องจากปัจจุบันนั้น มีผู้ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นจำนวนมาก เลขาธิการพระราชวังได้มีบัญชาว่า เพลิงที่พระราชทานไป
เผาศพ ณ วัดที่อยู่ต่างจังหวัดหรือปริมณฑลซึ่งห่างจากพระบรมมหาราชวังนอกรัศมี 50 ก.ม. ให้จัดเป็นหีบเพลิงพระราชทานมอบ
เจ้าภาพเชิญไปดำเนินการเอง โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังไปปฏิบัติ ดังนั้น กองพระราชพิธีจึงได้กำหนดระเบียบการขอรับ
หีบเพลิงพระราชทาน ดังนี้
1. ให้เจ้าภาพศพหรือผู้แทนเจ้าภาพ ไปติดต่อขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
2. กรณีที่เจ้าภาพไม่สามารถไปรับหีบเพลิงพระราชทางด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นไปรับแทนก็ได้ โดยนำต้นเรื่องหนังสือมอบฉันทะ และสำเนาบัตรประจำตัวผู้แทนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่
3. เจ้าภาพหรือผู้แทน ควรไปรับหีบเพลิงก่อนกำหนดวันพระราชทานเพลิงอย่างน้อย 3 วัน
4. ผู้ที่มารับหีบเพลิงควรแต่งกายสุภาพ
5. ให้รับหีบเพลิงพระราชทานที่โต๊ะหมู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์
หมายเหตุ
1. เลขาธิการพระราชวัง มีคำสั่งห้ามเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปปฏิบัติโดยเด็ดขาด
ดังนั้น เจ้าภาพต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดหีบเพลิงพระราชทานเอง
2. ห้ามเปิด หรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อเจ้าภาพเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปถึงมณฑลพิธี
การปฏิบัติเกี่ยวกับหีบเพลิงพระราชทาน
สำหรับกรณีที่มีการขอพระราชทานเพลิงศพ แต่ศพอยู่ต่างจังหวัด (ห่างจากสำนักพระราชวังเกิน 50 กิโลเมตร) นั้น
เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าภาพแล้วแต่กรณี ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักราชวังแล้ว หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ ทางสำนักพระราชวังจะมีหมายรับสั่งแจ้งให้เจ้าภาพศพทราบ เพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้แทนไปขอรับหีบเพลิงพระราชทานที่
กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อได้รับแล้วต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. เชิญหีบเพลิงพระราชทาน ไปวางไว้ที่ศาลากลางจังหวัด อำเภอ หรือหน่วยงานราชการที่สังกัดในท้องที่ หรือที่บ้านแล้วแต่กรณี ควรมีพานรองรับหีบเพลิงพระราชทานนั้นด้วย
2. เมื่อถึงกำหนดวันพระราชทานเพลิงศพ ให้ทางเจ้าภาพจัดหาเจ้าหน้าที่ หรือญาติที่เป็นข้าราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาว
ไว้ทุกข์ เพื่อเชิญหีบศพพระราชทานพร้อมด้วยพานรอง (หนึ่งหีบต่อหนึ่งคน) ไปยังเมรุที่จะประกอบพิธี และก่อนที่จะเชิญขึ้นตั้ง
บนเมรุนั้น ควรให้ศพขึ้นตั้งบนเมรุเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปตั้งไว้ด้านศีรษะศพ (บนโต๊ะที่ตั้งหีบเพลิงจะ
ต้องมีผ้าปูให้เรียบร้อย และห้ามมิให้นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางร่วมอยู่ด้วยเป็นอันขาด) เมื่อเชิญเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชิญคำนับเคารพศพ
หนึ่งครั้งแล้วจึงลงจากเมรุ
3. ขณะที่เชิญหีบเพลิงพระราชทานไปนั้น ต้องระมัดระวังกิริยามารยาทโดยสำรวม โดยไม่ต้องทำความเคารพผู้ใด และไม่ต้องเชิญ หีบเพลิงพระราชทานเดินตามหลังผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาด
4. ผู้ที่ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ทั้งประชาชน ข้าราชการ และพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ควรแต่งกายเครื่องแบบ
ไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีลูกหลานหรือญาติรวมทั้งผู้ที่เคารพนับถือผู้วายชนม์ และยังนับว่าเป็นการถวายพระเกียรติ
5. ผู้ที่ตั้งแถวรอรับหีบเพลิงพระราชทานเดินทางไปสู่เมรุควรเป็นเจ้าภาพงาน การแต่งกายควรแต่งกายเครื่องแบบไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นข้าราชการแต่งกายปกติขาวไว้ทุกข์
6. ระหว่างเจ้าหน้าที่ เชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุนั้น ประชาชนที่มาร่วมงานควรนั่งอยู่ในความสงบโดยมิต้องยืนขึ้น
ไม่ต้องทำความเคารพและไม่มีการบรรเลงเพลงอย่างใดทั้งสิ้น เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของพิธีการเจ้าหน้าที่ผู้เชิญก็มิใช่ผู้แทนพระองค์
เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
7. เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกที่มาในงานที่มีอาวุโสสูงสุด ขึ้นเป็นประธานจุดเพลิง
ประธานในพิธีจุดเพลิงที่อาวุโสสูงสุดนั้น หมายถึง อาวุโสทั้งในด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ ทั้งนี้ หากมีพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป หรือราชสกุล ที่มีเกียรติในราชการ ซึ่งศพหรือทายาทอยู่ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ที่เคารพนับถือแล้วสมควรเชิญบุคคลนั้นเป็นประธาน
8. ในกรณีที่มีการอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ควรอ่านตามลำดับดังนี้
- หมายรับสั่ง แสดงถึงการได้รับพระราชทานเพลิงศพ
- ประวัติผู้วายชนม์ เพื่อประกาศเกียรติคุณ
- สำนึกพระมหากรุณาธิคุณ
หมายเหตุ การอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนั้น เป็นขั้นตอนที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามความเหมาะสม ส่วนการลงท้ายสามารถอ่านชื่อบุคคลผู้เป็นทายาททั้งหมด หรือจะออกชื่อแต่เจ้าภาพก็ย่อมกระทำได้
ขั้นตอนการพระราชทานเพลิง (หีบเพลิง)
1. ผู้เป็นประธานเปิดหีบเพลิง
2. หยิบเทียนชนวนมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เชิญถือไว้
3. หยิบกล่องไม้ขีดไฟจุดเทียนชนวน รอจนเทียนลุกไหม้ดีแล้ว
4. ผู้เป็นประธานถวายบังคม (ไหว้) ไปที่หน้าหีบเพลิงที่วางอยู่ หยิบธูป ดอกไม้จันทน์ เทียน จุดไฟหลวงจากเทียนชนวน
เนื่องจากปัจจุบันนั้น มีผู้ขอพระราชทานเพลิงศพเป็นจำนวนมาก เลขาธิการพระราชวังได้มีบัญชาว่า เพลิงที่พระราชทานไป
เผาศพ ณ วัดที่อยู่ต่างจังหวัดหรือปริมณฑลซึ่งห่างจากพระบรมมหาราชวังนอกรัศมี 50 ก.ม. ให้จัดเป็นหีบเพลิงพระราชทานมอบ
เจ้าภาพเชิญไปดำเนินการเอง โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังไปปฏิบัติ ดังนั้น กองพระราชพิธีจึงได้กำหนดระเบียบการขอรับ
หีบเพลิงพระราชทาน ดังนี้
1. ให้เจ้าภาพศพหรือผู้แทนเจ้าภาพ ไปติดต่อขอรับหีบเพลิงพระราชทาน ที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
2. กรณีที่เจ้าภาพไม่สามารถไปรับหีบเพลิงพระราชทางด้วยตนเอง จะมอบให้ผู้อื่นไปรับแทนก็ได้ โดยนำต้นเรื่องหนังสือมอบฉันทะ และสำเนาบัตรประจำตัวผู้แทนไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่
3. เจ้าภาพหรือผู้แทน ควรไปรับหีบเพลิงก่อนกำหนดวันพระราชทานเพลิงอย่างน้อย 3 วัน
4. ผู้ที่มารับหีบเพลิงควรแต่งกายสุภาพ
5. ให้รับหีบเพลิงพระราชทานที่โต๊ะหมู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์
หมายเหตุ
1. เลขาธิการพระราชวัง มีคำสั่งห้ามเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปปฏิบัติโดยเด็ดขาด
ดังนั้น เจ้าภาพต้องเป็นผู้ดำเนินการจัดหีบเพลิงพระราชทานเอง
2. ห้ามเปิด หรือบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อเจ้าภาพเชิญหีบเพลิงพระราชทานไปถึงมณฑลพิธี
การปฏิบัติเกี่ยวกับหีบเพลิงพระราชทาน
สำหรับกรณีที่มีการขอพระราชทานเพลิงศพ แต่ศพอยู่ต่างจังหวัด (ห่างจากสำนักพระราชวังเกิน 50 กิโลเมตร) นั้น
เมื่อกระทรวงเจ้าสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเจ้าภาพแล้วแต่กรณี ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักราชวังแล้ว หากศพนั้นอยู่ในเกณฑ์ ทางสำนักพระราชวังจะมีหมายรับสั่งแจ้งให้เจ้าภาพศพทราบ เพื่อให้เจ้าภาพหรือผู้แทนไปขอรับหีบเพลิงพระราชทานที่
กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง เมื่อได้รับแล้วต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. เชิญหีบเพลิงพระราชทาน ไปวางไว้ที่ศาลากลางจังหวัด อำเภอ หรือหน่วยงานราชการที่สังกัดในท้องที่ หรือที่บ้านแล้วแต่กรณี ควรมีพานรองรับหีบเพลิงพระราชทานนั้นด้วย
2. เมื่อถึงกำหนดวันพระราชทานเพลิงศพ ให้ทางเจ้าภาพจัดหาเจ้าหน้าที่ หรือญาติที่เป็นข้าราชการแต่งเครื่องแบบปกติขาว
ไว้ทุกข์ เพื่อเชิญหีบศพพระราชทานพร้อมด้วยพานรอง (หนึ่งหีบต่อหนึ่งคน) ไปยังเมรุที่จะประกอบพิธี และก่อนที่จะเชิญขึ้นตั้ง
บนเมรุนั้น ควรให้ศพขึ้นตั้งบนเมรุเรียบร้อยก่อน แล้วจึงเชิญพานหีบเพลิงพระราชทานไปตั้งไว้ด้านศีรษะศพ (บนโต๊ะที่ตั้งหีบเพลิงจะ
ต้องมีผ้าปูให้เรียบร้อย และห้ามมิให้นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดวางร่วมอยู่ด้วยเป็นอันขาด) เมื่อเชิญเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชิญคำนับเคารพศพ
หนึ่งครั้งแล้วจึงลงจากเมรุ
3. ขณะที่เชิญหีบเพลิงพระราชทานไปนั้น ต้องระมัดระวังกิริยามารยาทโดยสำรวม โดยไม่ต้องทำความเคารพผู้ใด และไม่ต้องเชิญ หีบเพลิงพระราชทานเดินตามหลังผู้หนึ่งผู้ใดเป็นอันขาด
4. ผู้ที่ไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ทั้งประชาชน ข้าราชการ และพนักงานลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ควรแต่งกายเครื่องแบบ
ไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีลูกหลานหรือญาติรวมทั้งผู้ที่เคารพนับถือผู้วายชนม์ และยังนับว่าเป็นการถวายพระเกียรติ
5. ผู้ที่ตั้งแถวรอรับหีบเพลิงพระราชทานเดินทางไปสู่เมรุควรเป็นเจ้าภาพงาน การแต่งกายควรแต่งกายเครื่องแบบไว้ทุกข์ตามประเพณีนิยม ในกรณีที่เป็นข้าราชการแต่งกายปกติขาวไว้ทุกข์
6. ระหว่างเจ้าหน้าที่ เชิญหีบเพลิงพระราชทานเดินไปสู่เมรุนั้น ประชาชนที่มาร่วมงานควรนั่งอยู่ในความสงบโดยมิต้องยืนขึ้น
ไม่ต้องทำความเคารพและไม่มีการบรรเลงเพลงอย่างใดทั้งสิ้น เพราะยังไม่ถึงขั้นตอนของพิธีการเจ้าหน้าที่ผู้เชิญก็มิใช่ผู้แทนพระองค์
เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
7. เมื่อถึงกำหนดเวลาพระราชทานเพลิง ให้เจ้าภาพเชิญแขกที่มาในงานที่มีอาวุโสสูงสุด ขึ้นเป็นประธานจุดเพลิง
ประธานในพิธีจุดเพลิงที่อาวุโสสูงสุดนั้น หมายถึง อาวุโสทั้งในด้านคุณวุฒิและวัยวุฒิ ทั้งนี้ หากมีพระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป หรือราชสกุล ที่มีเกียรติในราชการ ซึ่งศพหรือทายาทอยู่ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ที่เคารพนับถือแล้วสมควรเชิญบุคคลนั้นเป็นประธาน
8. ในกรณีที่มีการอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ควรอ่านตามลำดับดังนี้
- หมายรับสั่ง แสดงถึงการได้รับพระราชทานเพลิงศพ
- ประวัติผู้วายชนม์ เพื่อประกาศเกียรติคุณ
- สำนึกพระมหากรุณาธิคุณ
หมายเหตุ การอ่านหมายรับสั่ง ประวัติผู้วายชนม์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนั้น เป็นขั้นตอนที่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามความเหมาะสม ส่วนการลงท้ายสามารถอ่านชื่อบุคคลผู้เป็นทายาททั้งหมด หรือจะออกชื่อแต่เจ้าภาพก็ย่อมกระทำได้
ขั้นตอนการพระราชทานเพลิง (หีบเพลิง)
1. ผู้เป็นประธานเปิดหีบเพลิง
2. หยิบเทียนชนวนมอบให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้เชิญถือไว้
3. หยิบกล่องไม้ขีดไฟจุดเทียนชนวน รอจนเทียนลุกไหม้ดีแล้ว
4. ผู้เป็นประธานถวายบังคม (ไหว้) ไปที่หน้าหีบเพลิงที่วางอยู่ หยิบธูป ดอกไม้จันทน์ เทียน จุดไฟหลวงจากเทียนชนวน
แล้วจึงวางไว้ใต้กลางฐานตั้งหีบศพ เป็นอันเสร็จพิธี