วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การปรับตัวของมหาวิทยาลัย

จำนวนนักศึกษา​ลดลง สอดคล้อง​กับจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดลง และเป็นปรากฏการณ์​ที่กำลังเกิดขึ้นกับ Aging Society ทั่วโลก..​
ต่อไปนี้มหาวิทยาลัยต้อง  focus ต้องหาจุดเด่นหรือสิ่งที่ตนเชี่ยวชาญเพื่อทำให้เป็นเลิศและเป็นจุดขาย
คนวัยทำงาน 38ล้านคน ครึ่งหนึ่งไม่จบปริญญาส่วนใหญ่เป็นปวช. ปวส. จะต้องเอามาพัฒนาศักยภาพ reskill upskill upgrade เพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่ต้องการคนที่มีคุณภาพสูงขึ้น สามารถใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้
มหาวิทยาลัยต้องเริ่มทำ Training  มากขึ้นเน้น Non-degree สำหรับ workforce เพื่อให้ภาคการผลิต ปรับตัวมุ่งสู่ industry 4.0 และ Service 4.0 เป็น Digital Transformation ด้วยครับ... ตลอดจนต้องปรับตัวสร้าง radical change สำหรับการผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพสูง และ การสร้างนวัตกรรมจากการวิจัย ต่อยอดไปเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์ จึงจะทำให้ประเทศหลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางครับ
คนสูงอายุก็ต้องมาเรียน upgrade ตัวเองให้ทำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ใช่ให้อยู่บ้านเฉยๆ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ลำดับชั้นของกฎหมาย

1.       กฎหมายรัฐธรรมนูญ
คือ   กฎหมายสูงสุดในการจัดระเบียบการปกครองประเทศ     ซึ่งจะวางระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐ
หรืออำนาจอธิปไตย ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตลอดจนการกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของชนชาวไทย
2.       พระราชบัญญัติ (...)
คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา เป็นกฎหมายหลักที่สำคัญ
ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติที่สำคัญที่รัฐสภาตราออกมาใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.. 2535 พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.. 2535 เป็นต้น
3.       ประมวลกฎหมาย
คือ     กฎหมายลายลักษณ์อักษรที่ได้บัญญัติหรือตราขึ้นโดยรวบรวมจัดเอาบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายที่
เป็นเรื่องเดียวกันเอามารวบรวมเป็นหมวดหมู่ วางหลักเกณฑ์ให้อยู่ในที่เดียวกันและมีข้อความเกี่ยวเนื่องติดต่อกันอย่างเป็นระเบียบ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลรัษฎากร เป็นต้น
                       ประมวลกฎหมายมีฐานะเท่าเทียมกับพระราชบัญญัติ         
4.       พระราชกำหนด (...)
คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี การตราพระราชกำหนดให้
กระทำได้เฉพาะเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ และต้องเป็นกรณีเพื่อจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ หรือเป็นพระราชกำหนดเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินและเมื่อได้ประกาศใช้แล้วต้องเสนอพระราชกำหนดนั้นต่อสภาทันทีถ้ารัฐอนุมัติก็มีผลใช้บังคับเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติก็ตกไป แต่ถ้าไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างที่ใช้พระราชกำหนดนั้น การประกาศใช้พระราชกำหนดให้ประกาศในราช-กิจจานุเบกษา โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ
5.       พระราชกฤษฎีกา (..)
คือ   กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี พระราชกฤษฎีกาจะออกได้
ต่อเมื่อพระราชบัญญัติซึ่งถือเป็นกฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ พระราชกฤษฎีกาจึงเป็นเสมือนกฎหมายที่ไม่สามารถจะออกมาให้ขัดหรือแย้งกับกฎหมายแม่บท และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก พระราชกฤษฎีกานั้นก็ถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย การประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 6.       กฎกระทรวง
คือ    กฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติอันเป็นกฎหมายแม่บทออกมาเพื่อดำเนินการให้
เป็นไปตามพระราชบัญญัตินั้น ๆ กฎกระทรวงจึงเป็นกฎหมายบริวารที่กำหนดรายละเอียดของกฎหมายแม่บทอีกต่อหนึ่ง กฎกระทรวงจะออกมาขัดแย้งกับกฎหมายแม่บทไม่ได้และถ้ากฎหมายแม่บทถูกยกเลิก กฎกระทรวงนั้นถือว่าถูกยกเลิกไปด้วย คณะรัฐมนตรีเป็นอนุมัติกฎกระทรวง การประกาศใช้กฎกระทรวงให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7.       ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่ง
คือ    กฎหมายปลีกย่อยประเภทที่เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ  ได้แก่เรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติราชการ
ภายในและการที่จะนำกฎหมายปลีกย่อยเหล่านี้ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ถ้าในกฎหมายไม่ได้กำหนดเช่นนั้นก็อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจว่าการจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหรือไม่ ซึ่งประกาศ ระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งเหล่านั้นก็เป็นกฎหมายได้เช่นกัน
8.       กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง
ได้แก่   ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร  ข้อบัญญัติเมืองพัทยา  ข้อบัญญัติจังหวัด  เทศบัญญัติ  และข้อบังคับ
สุขาภิบาล เป็นกฎหมายที่มีพระราชบัญญัติการจัดตั้งองค์กรปกครองตนเองอันเป็นการบริหารส่วนท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีอำนาจออกกฎหมายบังคับใช้เฉพาะท้องถิ่นเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Progressive Web App (pwa)

Mobile or desktop webapps that can be installed locally (add to mobile home screen or pc desktop) and can work offline, running a background process, and adding a link to the device home screen (Rich offline experiences, periodic background syncs, push notifications) -  to provide an 'native mobile or desktop app like' user experience.
https://medium.com/@firt/progressive-web-apps-on-ios-are-here-d00430dee3a7

https://developers.google.com/web/progressive-web-apps/

https://developers.google.com/web/fundamentals/primers/service-workers

https://aws.amazon.com/th/blogs/mobile/building-progressive-web-apps-with-the-amplify-framework-and-aws-appsync/

During offline, requests from webapp will be batched by background service worker for later sync with server when online.
https://medium.com/@iamgique/service-worker-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-5ddcde2a329e

Appcache is file extension of HTML5 cache manifest and will be removed from pwa and html5.
https://html.spec.whatwg.org/#manifests

Service worker's cache API (replacing Appcache)
https://codelabs.developers.google.com/codelabs/your-first-pwapp/#4

Types of mobile apps and web apps
https://aws.amazon.com/th/mobile/mobile-application-development/