รูปนี้วาดจากประสบการณ์การพัฒนาระบบจริง ทำให้เรียนรู้ว่าการเขียน web application เป็นกระบวนทัศน์ที่งงกว่าจาวา (ที่เรียนรู้ภาษาเดียวสามารถทำงานได้ทั้งฝั่ง server&client) เพราะต้องใช้หลายภาษาในการทำงานร่วมกันภายในระบบหนึ่งๆ ต้องแม่นยำว่าขั้นตอนการประมวลผลใดเกิดที่ฝั่งserver หรือ client จากนั้นต้องเลือกใช้ภาษาให้ถูก และถ้าต้องเรียกใช้ฟังก์ชั่นหรือส่งคืนผลลัพธ์ไปให้อีกฝั่งหนึ่งก็ต้องรู้ API ในการ interoperation ระหว่างต่างภาษากันหรือ cross programming platforms (แต่ L7 protocol คือ http/s ส่วนL8 protocol ก็ต้องเข้าใจโดย API ทั้งสองฝั่ง) ปกติส่วนPHP ถูกexecutedครั้งแรกคือตอนโหลดจากserverมาที่Browser ส่วนHTMLและJavascriptในไฟล์ PHP จะถูกรันทันทีที่โหลดโดยbrowser และแม้ทั้งสามภาษาอาจเขียนอยู่ในไฟล์เดียวกัน แต่พอถูกโหลดไปที่browser ก็จะเป็นคนละcopyกัน
วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ขันธ์ 5
สัตว์ที่มีอวิชชาเรียกว่าสัตตานังจะเกาะวิญญาณ(ถ้าละอวิชชา และรู้วิชชาแล้วจะเรียกว่าวิมุติญาณทรรศนะหรือสิ่งๆหนึ่ง ไม่ใช่สัตานัง) วิญญาณจะเกาะอยู่กับขันธ์ที่เหลือขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง เทวดาชั้นอากาสานัญจายตนขึ้นไป คืออรูปพรหม ไม่มีขันธ์ดังนั้นวิญญาณจะเกาะอยู่กับขันธ์อื่นๆที่เหลือ
ผู้เดินมรรคคือสัตว์ ไม่ใช่วิญญาณเพราะวิญญานเปรียบเหมือนพยับแดดรวมทั้งขันธ์อื่นๆ มีอยู่ตามธรรมชาติไม่รู้เรื่องอะไร
หุ่นยนต์ที่มีระบบเซนเซอร์เปรียบเหมือนมีวิญญาน แต่ไม่มีสัตว์อยู่ข้างในจึงต่างกับสิ่งมีชีวิต
การละนันทิคือการทำให้จิตปล่อยขันธ์สี่ เมื่อปล่อยวางได้แล้วขั้นถัดไปสัตว์ต้องวางจิตหรือวิญญานให้ได้จึงเข้าสู่วิมุตหรือนิพพาน
จิตเดิมนั้นประภัสสรคือวิญญาณดั้งเดิมประภัสสรคือรู้แจ้งในขันธ์สี่ แต่สัตว์ต้องปล่อยจิตประภัสสรดวงนั้นให้ได้ด้วยจึงหลุดพ้น
วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2557
กรรมเกิดจากผัสสะ
กรรมเกิดจากผัสสะ คือการที่วิญญาณเข้าไปกระทบกับนาม(เวทนา:สุขทุกข์อุเบกขา,สัญญา,สังขาร)หรือรูป(กาย)
เจตนา คือ กรรม ดังนั้นถ้ามีผัสสะแต่ไม่มีเจตนาก็ไม่ถือว่าเป็นกรรม จึงไม่มีวิบากกรรมตามมา
วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557
Payment in kind (PIK)
The use of a good or service as payment instead of cash. คือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้อุปรณ์ สถานที่ หรือบริการที่ไม่ต้องจ่ายค่าใช้เป็นตัวเงิน เช่น ใช้สถานที่ของหน่วยงานตนเองจัดกิจกรรมจึงไม่ต้องจ่าย แต่ตีเป็นค่าเช่าสถานที่ได้
Opposite is payment in cash. คือค่าใช้จ่ายที่อยู่ในรูปของตัวเงินจริงๆ
วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2557
BI VS. Big Data Analytics
We don't need to convert semi/unstructured data to structured data. They have their own storing and analytics ways.
- Structured (retail, financial, bioinformatics, geodata)
- Semi-structured (web logs, email, documents) has data structure not conforming to existing data models like RDB, OODB.
- Unstructured (images, video, sensor data, web pages)
source: https://www.mongodb.com/hadoop-and-mongodb
A database shard is a horizontal partition of data in a database or search engine. Each individual partition is referred to as a shard or database shard. Each shard is held on a separate database server instance, to spread load.
Big data warehouse sw : http://tajo.apache.org
วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557
LaTex VS. MS Word
นักวิจัยมืออาชีพที่ตีพิมพ์ในวารสารคุณภาพสูงจำเป็นต้องใช้ LaTex เพราะสำนักพิมพ์บังคับ เนื่องจากมีข้อดีเหนือ MS Word
- การจัดฟอร์แมตเป็นไปโดยอัตโนมัติโดยผู้เขียนไม่ต้องคอยดูแลด้วยตัวเอง (anti-WYSIWYG) ทำให้ใช้สมาธิกับการเรียบเรียงเนื้อหาได้เต็มที่ ไม่ต้องเจอบั๊กปวดหัวเช่น รูปกระเด้งไปมาเวลาจัดหน้า หรือฟอนต์เพี้ยนเวลาไปเปิดที่เครื่องอื่น
- สร้าง references ทำได้ง่ายด้วย bibtex ซึ่งไม่ต้องลงโปรแกรมพิเศษใดๆเพิ่มเติม
- เวลาเขียนเอกสารยาวๆมีรูปภาพมากๆ เครื่องจะไม่หน่วงทั้งตอนเขียนและตอนบันทึกไฟล์เพราะ LaTex เป็นเพียง simple text file ขนาดเล็ก
- เปลี่ยนฟอร์แมตบทความสำหรับส่งที่อื่นได้ในเวลาไม่ถึง 15 วินาที โดยไม่ต้องก้อปเพสลงเทมเพล็ตใหม่หรือไม่ต้องจัดฟอร์แมตใหม่ใดๆทั้งสิ้น
- แต่ LaTex มี learning curve ซึ่งถ้าเป็นแล้วจะคล่องและได้เปรียบนักวิจัยตระกูล MS Word มาก
วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ควรทั้งชมและติ
พระพุทธองค์สรรเสริญคนที่ชมและติอย่างถูกกาล ไม่สรรเสริญคนที่ชมอย่างเดียวหรือติอย่างเดียวหรือไม่ชมไม่ติใคร
พุทธดำรัส:-ดูก่อนโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร (แต่) ไม่
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑
ผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”
โปตลิยสูตร
พุทธดำรัส:-ดูก่อนโปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก คือ ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนโดยกาลอันควร ตามความเป็นจริง (แต่) ไม่กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร (แต่) ไม่
ติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ๑
ผู้ไม่กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งไม่กล่าว สรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
ผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร ทั้งกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร ๑
“ดูก่อนโปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลผู้กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียนตามความเป็นจริง โดยกาลอันควร และกล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญตามความเป็นจริงโดยกาลอันควร นี้ เป็นผู้งามกว่า และประณีตกว่าบุคคล ๔ ประเภทนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีความงาม คือความเป็นผู้รู้จักกาลในอันควรสรรเสริญและติเตียนนั้น ๆ....”
โปตลิยสูตร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)