วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Responsive web design (RWD)

is a web design approach aimed at crafting sites to provide an optimal viewing experience—easy reading and navigation with a minimum of resizing, panning, and scrolling—across a wide range of devices (from mobile phones to desktop computer monitors).
A site designed with RWD adapts the layout to the viewing environment by using fluid, proportion-based grids, flexible images, and CSS3 media queries, an extension of the @media rule.
  • The fluid grid concept calls for page element sizing to be in relative units like percentages, rather than absolute units like pixels or points.
  • Flexible images are also sized in relative units, so as to prevent them from displaying outside their containing element.
  • Media queries allow the page to use different CSS style rules based on characteristics of the device the site is being displayed on, most commonly the width of the browser.
  • Server-side components (RESS) in conjunction with client-side ones such as media queries can produce faster-loading sites for access over cellular networks and also deliver richer functionality/usability avoiding some of the pitfalls of device-side-only solutions.

--http://en.wikipedia.org/wiki/Responsive_web_design

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

แนวคิดหลักทางการตลาดและเครื่องมือทางการตลาด

        หลังจากที่ได้ทราบความหมายของการตลาดและการจัดการตลาดแล้ว   สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจต่อไปคือ
ในการบริหารการตลาดนั้นมีการใช้แนวคิดหลักและเครื่องมือการตลาดอย่างไรแนวคิดหลักทางการตลาดที่ใช้
ในการบริหารการตลาด   โดยทั่ว ๆ ไป ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่   ส่วนแรก   คือ  การแบ่งส่วนตลาดและเลือก
ตลาด     เป้าหมาย    ส่วนที่สอง   คือ   เครื่องมือทางการตลาดที่เรียกว่าส่วนประสมการตลาด

          หลังจากที่ได้ทราบความหมายของการตลาดและการจัดการตลาดแล้ว   สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจต่อไปคือ
ในการบริหารการตลาดนั้นมีการใช้แนวคิดหลักและเครื่องมือการตลาดอย่างไรแนวคิดหลักทางการตลาดที่ใช้
ในการบริหารการตลาด   โดยทั่ว ๆ ไป ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่   ส่วนแรก   คือ  การแบ่งส่วนตลาดและเลือก
ตลาด     เป้าหมาย    ส่วนที่สอง   คือ   เครื่องมือทางการตลาดที่เรียกว่าส่วนประสมการตลาด


การแบ่งส่วนตลาดและเลือกตลาดเป้าหมาย (Segmentation and Target Markets)

          นักการตลาดไม่สามารถผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองความพอใจผู้บริโภคทุกคนได้        เนื่องจากผู้
บริโภคแต่ละคนมีความนิยม   และความชอบโดยส่วนตัวแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นสินค้าอะไรก็ตาม    ดังนั้นนัก
การตลาดต้องมีการวิเคราะห์ผู้บริโภค    โดยเริ่มต้นตั้งแต่การแบ่งส่วนตลาดด้วยการจำแนกผู้บริโภคออกเป็น
กลุ่ม ๆ แล้วเขียนโครงร่าง (Profile) ของแต่ละกลุ่มซึ่งมีความแตกต่างอย่างชัดเจน    การแบ่งส่วนตลาดอาจใช้
ตัวแปรต่าง ๆ เป็นตัวกำหนด ได้แก่  ตัวแปรด้านประชากร  จิตวิทยา   และพฤติกรรมการซื้อและการใช้สินค้าที่
แตกต่างกัน  หลังจากนั้นจะประเมินว่าส่วนตลาดใดที่มีศักยภาพและมีโอกาสทางตลาดที่องค์กรสามารถตอบ
สนองความต้องการได้ซึ่งจะกลายเป็นตลาดเป้าหมาย (Target Markets) ต่อไปในตลาดเป้าหมายแต่ละตลาด 
 องค์กรการตลาดจะพัฒนาและเสนอสินค้า/บริการโดยกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้า/บริการ นั้นให้อยู่
ในใจและการรับรู้ของตลาดเป้าหมาย   ตัวอย่างเช่นรถยนต์เมอร์ซิเดส   เบนซ์     กำหนดตลาดเป้าหมายคือผู้มี
รายได้และสถานภาพทางเศรษฐกิจระดับสูง      ดังนั้นจึงมีการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็นรถระดับหรูหราบอก
ถึงสถานภาพ ขณะที่รถยนต์วอลโว่          ซึ่งเป็นรถระดับราคาสูงอีกยี่ห้อหนึ่งแต่ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่วางไว้คือ  
 "เพื่อความปลอดภัย"   เป็นต้น   ในส่วนของเครื่องมือทางการตลาดนั้นนักการตลาดอาจมีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ 
แตกต่างกัน    แต่เครื่องมือทางการตลาดที่ได้รับการยอมรับและนิยมใช้มากที่สุด   คือ     ส่วนประสมการตลาด 
(Marketing Mix)


ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix)

          คือ   ชุดของเครื่องมือทางการตลาด     ซึ่งองค์กรใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในตลาดเป้าหมายที่กำหนด
ไว้เครื่องมือชุดที่เรียกว่าส่วนประสมการตลาดนั้นเราอาจแยกเป็น  4 องค์ประกอบอย่างกว้าง ๆ คือผลิตภัณฑ์
(Product)       ราคา  (Price)       การจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า  (Place)         และการส่งเสริมการตลาด 
(Promotion)  ทั้งหมดนี้นักการตลาด เรียกสั้น ๆ ว่า  4Ps รายละเอียดของส่วนประสมการตลาดอาจพิจารณา
ได้จากผังภาพต่อไปนี้


         ในการกำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดนั้นต้องคำนึงตลอดเวลาว่าลูกค้าเป้าหมายคือใครกล่าวคือ

เป็นผู้บริโภคโดยตรงหรือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้า     หรือคนกลางที่มีการนำสินค้าไปจำหน่ายต่อ     ทั้งนี้เพื่อ
จะได้กำหนดเครื่องมือส่วนประสมการตลาดได้ถูกต้อง    โดยปกติแล้วการตัดสินใจในเรื่องราคา       ค่าใช้จ่าย
โฆษณาการใช้พนักงานขายเป็นกลยุทธ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับการตัดสินใจในกลยุทธ์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริหารคนกลางเพื่อจำหน่าย และกระจายสินค้าที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้อง
ใช้เวลามากกว่าเนื่องจากพันธะต่าง ๆ  มักมีการกำหนดเป็นข้อผูกพันในระยะยาวอย่างไรก็ตามในการกำหนด
กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดนั้น  นักการตลาดควรกำหนดมาจากมุมมองหรือความต้องการของผู้ซื้อในตลาด
เป้าหมาย    ด้วยเกณฑ์ง่าย ๆตามที่นักวิชาการการตลาดบางท่านได้เสนอไว้ดังนี้

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ข้าศึกของพรหมวิหาร ๔

--วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๙ พรหมวิหารนิเทศ หน้าที่ ๑๖๑ - ๑๖๕

ข้าศึกของเมตตา
ราคะ เป็นข้าศึกใกล้ของเมตตาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยมองในแง่ที่เป็นคุณด้วยกัน เหมือนศัตรูของบุรุษที่อยู่ใกล้ชิด ฉะนั้น ราคะนั้นย่อมได้ช่องโอกาสเกิดขึ้นเร็วมาก ดังนั้น ผู้ปฏิบัติต้องคอยช่วงชิงกันเมตตาจากราคะไว้ให้จงดี
พยาบาท เป็นข้าศึกไกลของเมตตาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันไม่ได้โดยส่วนของตน เหมือนศัตรูของบุรุษซึ่งซุ่มอยู่ในที่รกชัฏแห่งภูเขา ฉะนั้น เพราะเหตุนั้นผู้ปฏิบัติจึงจำต้องเจริญเมตตาภาวนา โดยไม่ต้องเกรงกลัวแต่พยาบาทนั้น แต่ที่จักเจริญเมตตากรรมฐานด้วย จักทำพยาบาทโกรธเคืองด้วย ในขณะเดียวกัน ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

ข้าศึกของกรุณา
โทมนัส ความเสียใจอันอาศัยกามคุณเป็นข้าศึกใกล้ของกรุณาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยมองในแง่วิบัติของสัตว์ทั้งหลายเหมือนกัน โทมนัสอาศัยกามคุณมาในบาลี มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก มีอาทิว่า : -
เมื่อบุคคลละห้อยใจถึงสิ่งที่ไม่ได้มาโดยสมหวัง คือ รูปที่เห็นด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าเจริญใจ น่ารื่นรมย์ ซึ่งอิงอาศัยตัณหาก็ดี เมื่อคิดทอดถอนใจในสิ่งที่เคยได้มาแล้วในก่อน ซึ่งล่วงเลยไปเสียแล้ว ดับสูญไปเสียแล้ว เปลี่ยนแปลงไปเสียแล้วก็ดี โทมนัสก็ย่อมเกิดขึ้นโทมนัสเห็นปานฉะนี้นั้นเรียกว่า โทมนัสอาศัยกามคุณ
วิหิงสา เป็นข้าศึกไกลของกรุณาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันไม่ได้โดยส่วนของตน ด้วยเหตุฉะนี้ ผู้ปฏิบัติจึงจำต้องเจริญกรุณากรรมฐานโดยไม่ต้องเกรงกลัวแต่วิหิงสานั้น แต่ที่จักเจริญกรุณาด้วย จักเบียดเบียนสัตว์ด้วยมือเป็นต้นด้วยในขณะเดียวกัน มิใช่ฐานะที่จะพึงทำได้

ข้าศึกของมุทิตา
โสมนัส ความดีใจอาศัยกามคุณเป็นข้าศึกใกล้ของมุทิตาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันได้ โดยมองในแง่สมบัติสมบูรณ์ของสัตว์ทั้งหลายเหมือนกัน โสมนัสอาศัยกามคุณมาในบาลีมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก มีอาทิว่า : -
เมื่อบุคคลพิจารณารำพึงถึงสิ่งที่ได้มาโดยสมหวังคือรูปที่เห็นด้วยตา อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าเจริญใจน่ารื่นรมย์ ซึ่งอิงอาศัยตัณหาก็ดี หรือนึกรำพึงถึงสิ่งที่เคยได้มาแล้วในก่อน ซึ่งล่วงเลยไปแล้ว ดับสูญไปแล้ว เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ดี โสมนัสย่อมเกิดขึ้น โสมนัสเห็นปานฉะนี้ นั้น เรียกว่า โสมนัสอาศัยกามคุณ
อรติ ความไม่ไยดี(หรือแม้แต่ริษยา)เป็นข้าศึกไกลของมุทิตาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันไม่ได้โดยส่วนของตน ด้วยเหตุดังนี้ ผู้ปฏิบัติจึงจำต้องเจริญมุทิตากรรมฐานโดยไม่ต้องเกรงกลัวแต่อรตินั้น ก็แหละ จักยินดีด้วยจักเบื่อหน่ายในเสนาสนะอันสงัดหรือในกุศลธรรมอันยิ่งด้วยในขณะเดียวกัน ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะพึงทำได้

ข้าศึกของอุเบกขา
อัญญานุเบกขา ความเพิกเฉยเพราะความไม่รู้อาศัยกามคุณ เป็นข้าศึกใกล้ของ อุเบกขาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยไม่พิจารณาถึงโทษและคุณเหมือนกัน อัญญานุเบกขาอาศัยกามคุณ มาในบาลีมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก มีอาทิว่า : -
เพราะเห็นรูปด้วยตา อุเบกขาความเพิกเฉยย่อมเกิดแก่ปุถุชน ผู้ยังเขลา ยังหลง ยังชนะกิเลสไม่ได้เป็นส่วน ๆ ยังไม่ชนะวิบากกรรม ยังมองไม่เห็นโทษ ศึกษายังไม่ถึงขีด ยังเป็นอันธปุถุชน อุเบกขาชนิดนี้นั้นยังไม่ล่วงพ้นกิเลสซึ่งมีรูปเป็นอารมณ์ ฉะนั้น อุเบกขานี้จึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยกามคุณ
ราคะ ความกำหนัด ปฏิฆะ ความขัดเคือง เป็นข้าศึกไกลของอุเบกขาพรหมวิหาร เพราะมีส่วนเข้ากันไม่ได้โดยส่วนของตน ด้วยเหตุดังนั้น ผู้ปฏิบัติจำต้องเพ่งเฉย โดยไม่ต้องเกรงกลัวแต่ราคะและปฏิฆะนั้น แต่ก็จักเพ่งเฉยด้วยจักกำหนัดหรือขัดเคืองกัน ในขณะเดียวกันด้วย ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะพึงทำได้

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หนี้ vs ทุน

การกู้เงิน (หนี้) ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ เช่น 8% แต่นำไปลดภาษีนิติบุคคลได้ เช่น ลด 20% เหล่อต้องจ่ายดอกจริงๆ 6.4% แต่ข้อเสียคือต้องจ่ายดอกคงที่ ไม่ว่าจะมีกำไรหรือไม่

การระดมทุนด้วยการขายหุ้น ข้อดีคือไม่ต้องจ่ายปันผลหากไม่มีกำไร ข้อเสียคือปันผลที่จ่ายไปนำไปลดหย่อนภาษีไม่ได้