วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สิ่งใดควรพูด

เป็นความจริง พูดแล้วเกิดประโยชน์ ผู้ฟังชอบ สิ่งนั้นควรพูด
เป็นความจริง พูดแล้วเกิดประโยชน์ ผู้ฟังไม่ชอบ สิ่งนั้นควรพูดในกาลเทศะที่เหมาะสม
ไม่เป็นความจริง พูดแล้วเกิดประโยชน์ ผู้ฟังชอบ สิ่งนั้นไม่ควรพูด
เป็นความจริง พูดแล้วไม่เกิดประโยชน์ ผู้ฟังชอบ สิ่งนั้นไม่ควรพูด

เรื่องไม่ดีของผู้อื่น ไม่พูดถ้าไม่ถูกถาม แต่เมื่อต้องพูด ก็พูดโดยไม่วิจิตรพิศดาร
เรื่องไม่ดีของตน พูดถ้าถูกถามโดยไม่ให้ผู้ฟังไขว้เขว

ผู้ใดทำตามนี้ได้ ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ มิเช่นนั้นเป็นอสัตบุรุษ

ลักษณะการพูดของอสัตบุรุษ

ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบด้วยธรรมประการ

เป็นที่รู้กันว่าเป็นอสัตบุรุษ.

๔ ประการ อย่างไรเล่า ? ๔ ประการ คือ :-

(๑) ภิกษุ ท. ! อสัตบุรุษในกรณีนี้ แม้ไม่มีใคร

ถามถึงความไม่ดีของบุคคลอื่นก็นำมาเปิดเผยให้ปรากฏ

ไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อถูกใครถามก็เมื่อถูกใครถามถึง

ความไม่ดีของบุคคลอื่นก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่มีทาง

หลีกเลี้ยวลดหย่อนแล้วกล่าวความไม่ดีของผู้อื่นอย่างเต็มที่

โดยพิสดารภิกษุ. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้เป็น

อสัตบุรุษ.

(ภิกษุ. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีกคือ

แม้ถูกใครถามอยู่ถึงความดีของบุคคลอื่นก็ไม่เปิดเผย

ให้ปรากฏไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามก็เมื่อถูก

ใครถามถึงความดีของบุคคลอื่นก็นำเอาปัญหาไปทำให้

ลดหย่อนไขว้เขวแล้วกล่าวความดีของผู้อื่นอย่างไม่พิสดาร

เต็มที่ภิกษุ. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้เป็นอสัตบุรุษ.

 

(ภิกษุ. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีกคือ

แม้ถูกใครถามถึงความไม่ดีของตนก็ปกปิดไม่เปิดเผย

ให้ปรากฏไม่ต้องกล่าวถึงเมื่อไม่ถูกใครถามก็เมื่อถูกใคร

ถามถึงความไม่ดีของตนก็นำเอาปัญหาไปทำให้ลดหย่อน

ไขว้เขวแล้วกล่าวความไม่ดีของตนอย่างไม่พิสดารเต็มที่.

ภิกษุ. ! ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้เป็นอสัตบุรุษ.

(ภิกษุ. ! อสัตบุรุษอย่างอื่นยังมีอีกคือ

แม้ไม่มีใครถามถึงความดีของตนก็นำมาโอ้อวดเปิดเผย

จะกล่าวทำไมถึงเมื่อถูกใครถามก็เมื่อถูกใครถามถึงความดี

ของตนก็นำเอาปัญหาไปทำให้ไม่ลดหย่อนหลีกเลี้ยว

กล่าวความดีของตนอย่างเต็มที่โดยพิสดารภิกษุ. !

ข้อนี้พึงรู้กันเถิดว่าคนคนนี้เป็นอสัตบุรุษ.

ภิกษุ. ! บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมประการ

เหล่านี้แลเป็นที่รู้กันว่าเป็นอสัตบุรุษ.