วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การทำบุญให้ได้บุญ

เมื่อทำบุญ (หมายถึงทำทาน,ศีล และภาวนา) โดยเฉพาะการทำทาน จะก่อให้เกิดบุญ แต่คนทำอาจไม่ได้บุญถ้าศีลบกพร่อง เช่น กังวลกลัวไปถึงวันที่ 9 ไม่ทัน สมาธิไม่มีคือไม่มีสมาธิจิตว้าวุ่น ปัญญาไม่เกิดคือไม่เห็นประโยชน์ของการถวายเทียนพรรษาว่าช่วยให้พระสงฆ์ท่านปฎิบัติศาสนกิจได้เป็นการต่ออายุพระศาสนาทำให้พระท่านสามารถมาเทศนาญาตโยมได้ทำให้สังคมดีขึ้น

การทำบุญต้องไม่ติดอยู่แต่การทำทาน แต่ต้องก้าวไปข้างหน้าตามหนทางแห่งมรรคมีองค์ 8 ซึ่งจำแนกได้ 3 กลุ่มคือทาน ศีล ภาวนา

การทำบุญที่ยังมีกิเลส (โอปติยบุญ) คือทำบุญเพื่อตนเอง ส่วนระดับสูงขึ้นคือทำบุญเืพื่อปันบุญให้ลูกเต้าพ่อแม่ หรือมนุษยชาติซึ่งจะทำให้ปิติมากยิ่งขึ้นคือได้บุญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะพระที่ทำบุญต้องไม่หวังว่าตนจะไปเป็นเทวดาซึ่งเป็นการคิดที่ผิดแต่ต้องคิดว่าเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก คิดให้บุญพาเราก้าวหน้าไปในมรรคไม่ติดอยู่กับบุญขั้นต้นเท่านั้น

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คนพาล

คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว และอาจนำความเดือดร้อนมาให้เราหากไปคบด้วย

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Independent Software Vendor (ISV)

คือบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ออกมาขายหรือขายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป
ถ้าพัฒนาเองก็เรียกว่า software house ด้วย

คุณค่าของงานวิจัยวัดจากอะไร

  • วัดแบบหยาบคือดูที่ Impact factor ของปีปัจจุบันของวารสารที่ตีพิมพ์ ซึ่งหมายถึงอัตราส่วนของจำนวนครั้งที่บทความต่างๆในวารสารดังกล่าวที่ตีพิมพ์ในสองปีที่ผ่านมาถูก cited ในปีปัจจุบันต่อจำนวนบทความทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารดังกล่าวในสองปีที่ผ่านมา
  • วัดแบบละเอียดขึ้นเล็กน้อยคือจำนวน citation ของบทความวิจัยนั้นๆ นั่นคือค่า H-index (an index that attempts to measure both the productivity and impact of the published work of a scientist or scholar. The index is based on the set of the scientist's most cited papers and the number of citations that they have received in other publications.) ค่า H-index ยังใช้ในการพิจารณาตัดสินรางวัล TRF-Elsevier researcher award (http://asia.elsevier.com/TRFCHEScopus2012) H-index ยิ่งสูงยิ่งถือว่าดี สำหรับคำอธิบายเพิ่มเติมดูได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/H-index as below: อย่งไรก็ตาม H-index บอกได้เฉพาะ impact ทางวิชาการ ไม่ได้บอก impact ทางเศรษฐกิจและสังคม
we compute the h-index as follows: First we order the values of f (i.e., citation count) from the largest to the lowest value. Then, we look for the last position in which f is greater than or equal to the position (we call h this position). For example, if we have a researcher with 5 publications A, B, C, D, and E with 10, 8, 5, 4, and 3 citations, respectively, the h-index is equal to 4 because the 4th publication has 4 citations and the 5th has only 3. In contrast, if the same publications have 25, 8, 5, 3, and 3 citations, then the index is 3 because the fourth paper has only 3 citations.
f(A)=10, f(B)=8, f(C)=5, f(D)=4, f(E)=3 → h-index=4
f(A)=25, f(B)=8, f(C)=5, f(D)=3, f(E)=3 → h-index=3



วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อคติ 4


พุทธศาสนาแบ่งอคติออกเป็น 4 ประเภท ตามพื้นฐานแห่งจิตใจ คือ

1. ฉันทาคติ ความละเอียงเพราะความรักใคร่ หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะอ้างเอาความรักใคร่หรือความชอบพอกัน ซึ่งมักเกิดกับตนเอง ญาติพี่น้อง และคนสนิทสนม การแก้ฉันทาคติ ต้องทำใจให้เป็นกลาง โดยการปฏิบัติต่อทุกคนให้เหมาะสมเหมือนๆกัน

2. โทสาคติ ความละเอียงเพราะความไม่ชอบ เกลียดชัง หรือโกรธแค้น หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะความโกรธ หรือลุอำนาจโทสะ การแก้ไขโทสาคติ ทำได้ด้วยการทำใจให้หนักแน่น รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และพยายามแยกเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน

3. โมหาคติ ความละเอียงเพราะความไม่รู้ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรมเพราะความสะเพร่า ความไม่ละเอียดถี่ถ้วน รีบตัดสินใจก่อนพิจารณาให้ดี วิธีแก้ไข ทำด้วยการเปิดใจให้กว้าง ทำใจให้สงบ มองโลกในแง่ดี และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

4. ภยาคติ ความละเอียงเพราะความกลัวหรือความเกรงอำนาจ หมายถึง การทำให้เสียความยุติธรรม เพราะมีความหวาดกลัว หรือเกรงกลัวภยันตราย วิธีแก้ทำได้ด้วยการพยายามฝึกให้เกิดความกล้าหาญ โดยเฉพาะความกล้าหาญทางจริยธรรม คือ กล้าคิด กล้าพูดในสิ่งที่ดีงาม

วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555