วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สามสิ่งควรละ

  • โลภ: ผู้มีความโลภมาก ตายไปเกิดเป็นเปรต
  • โกรธ: ผู้มีความโกรธมาก ตายไปเกิดในนรก
  • หลง: ผู้มีความหลง เช่น หลงรัก หลงชัง หลงลูกหลาน หลงสมบัติ หลงยศอำนาจวาสนา หลงรูป รส กลิ่น เสียง ตายไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
วิธีหนึ่งในการละสามสิ่งนี้คือให้หมั่นนึกถึงความตายเสมอ

เผชิญกับโลกธรรมด้วยสติปัญญา

เมื่อได้ความชอบใจมาให้ท่อง "โอม สรรพสิ่งทั้งหลายอาศัยชั่วคราวๆ" ใจท่านก็ไม่ฟูไม่กำเริบลืมตัว หรือเมื่อยามได้ทุกข์ ใจท่านก็ไม่แฟบ คงที่อยู่เสมอ ไม่ว่าใครจะบูชาหรือล่วงเกิน--พระธรรมวิสุทธาจารย์

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การช่วยคนจมน้ำ

ไม่ควรกระโดดลงไปช่วย ใช้ไม้ยาวยื่นให้เกาะ หรือขวดน้ำพลาสติกใหญ่ใส่น้ำเล็กน้อยเควี้ยงไปที่หัวคนจมเพื่อให้คว้ัากอด หลังนำขึ้นฝั่งได้ให้บีบจมูกเป่าปาก และจับชีพจรดู ถ้าไม่เต้นให้ทำการปั้ม 30 ครั้งต่อเนื่องโดยใช้สองมือกดยุบ 1-2 นิ้ว กดแต่ละครั้งตามจังหวะ 1และ2และ3...9และ10,11,12 จากนั้นผายปอดต่อ จนหัวใจเต้นปกติ ให้นอนหงายเฉยๆ และรีบตามรถพยาบาล

วันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เหตุใดจึงทะเลาะกัน

เพราะ อิจฉาหรือตระหนี่ ซึ่งเกิดจากเกิดจากสิ่งที่เป็นที่รักหรือสิ่งที่ไม่รัก แก้ได้โดยรีบวางอุเบกขาให้ทันเพื่อหยุดอิจฉาหรือตระหนี่ (อุเบกขาคือการวางใจเป็นกลางโดยไม่เอนเอียงเข้าข้างเพราะชอบ เพราะชัง เพราะหลงและเพราะกลัว) --ท้าวสักเทวราชกราบทูลถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ท่านท้าวสักเทวราช ผู้เป็นใหญ่บนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น กราบทูลถามปัญหากับองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้
  • ทูลถาม เทวดา มนุษย์ สัตว์ นาค คนธรรพ์ ผีทั้งหลายมากมาย มีอะไร ถูกอะไรผูกมัดไว้ แม้ตั้งใจจะไม่จองเวรก็ต้องอยู่อย่างผู้มีเวรมีกรรม มีศัตรู หมู่มารภัยอันตรายรอบด้านเบียดเบียน
  • ทรงตอบ มีความตระหนี่เหนียวแน่น ความอิจฉาริษยา เป็นเครื่องผูกมัดจิต
  • ทูลถาม ความตระหนี่ ความอิจฉาริษยา เกิดจากอะไร
  • ทรงตอบ เกิดจากสิ่งที่เป็นที่รัก และสิ่งที่ไม่รัก เมื่อไม่มีสิ่งที่รัก และไม่รักแล้ว ก็ไม่มีความตระหนี่ ไม่มีริษยา
  • ทูลถาม สิ่งที่รัก และสิ่งที่ไม่รัก เกิดจากอะไร
  • ทรงตอบ เกิดจากความพอใจ (ฉันทะ) เมื่อไม่มีความพอใจก็ไม่มีสิ่งที่รัก และสิ่งที่ไม่รัก
  • ทูลถาม ความพอใจ เกิดจากอะไร
  • ทรงตอบ ความพอใจเกิดจากความนึกคิดตรึกตรองวิตกกังวลเมื่อไม่มีความตรึกตรองวิตก ก็ไม่มีความพอใจ
  • ทูลถาม ความตรึกตรองวิตกกังวลเกิดจากอะไร
  • ทรงตอบ เกิดจากตัณหา ความทะยานอยาก มีมานะ ความถือว่ามีตัวมีตน ทิฏฐิ ความเห็น ความเข้าใจของตนเป็นใหญ่
  • ทูลถาม ภิกษุควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อความดับสิ้นของกิเลส ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
  • ทรงตอบ ดับด้วยความไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ทำจิตวางเฉยต่อทุกสิ่งทุกอย่างใดๆ ในโลก ให้รู้ตัวว่าทุกอย่างมีเกิดมีเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ให้เจริญธรรมด้วยระลึกถึงคุณความดี 10 อย่าง คือ อนุสติ 10 ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ คุณความดีของศีล ทาน เทวดา นึกถึงร่างกายเป็นทุกข์เป็นโทษ นึกถึงความตาย นึกถึงลมหายใจเข้าออก ไม่มีลมร่างกายตาย นึกถึงคุณของพระนิพพาน ดับความทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดเป็นทั้งศีล สมาธิ วิปัสสนาญาณ
  • ทูลถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไรจึงชื่อว่าสำรวมปาฏิโมกข์ (มีศีลเป็นใหญ่)
  • ทรงตอบ ภิกษุพึงสำรวมกาย วาจา ใจ ทางกุศลธรรมด้วยอนุสติ 10 นั้น
  • ทูลถาม ภิกษุปฏิบัติอย่างไรจึงชื่อว่า สำรวมกาย วาจา ใจ
  • ทรงตอบ รับรู้อารมณ์ที่ผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ อารมณ์หลงติดสุขในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ไม่ควรรับเข้าไว้ในจิต รีบเร่งขจัดทิ้งออกจากจิตใจให้หมดไป อารมณ์ที่ควรรับไว้พิจารณาเป็นวิปัสสนาญาณ คือ อสุภกรรมฐาน ทุกอย่างเป็นซากศพ ตายกันหมดทั้งสิ้น อาหาเรปฏิกูลสัญญา อาหารทุกอย่างมาจากของสกปรกซากพืช ซากสัตว์ จตุธาตววัตถาน 4 ร่างกายประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณาทุกๆ สิ่งสิ้นที่เห็นใดๆ ในโลก ในสวรรค์ เป็นของชั่วคราว เป็นอนัตตา สูญสลายในที่สุด

ทำกรรมดีใดได้บุญมากน้อยกว่ากัน

วัดกันที่ทำแล้วทำให้เข้าสู่มรรคผลนิพพานได้ง่ายยากกว่ากันเท่าใด การเจริญปัญญาจึงได้บุญมากกว่าถือศีล หรือกรรมใดมีการใช้ปัญญามากจะได้ผลบุญมาก ทำทาน รวมถึงธรรมทาน ให้ปัญญาน้อยกว่าการเจริญสมาธิ

กรรมและผลของกรรมบางประการ

ในจกัมมวิภังคสศสูตร ตรัสว่า อยากอายุยืน ต้องไม่ฆ่าสัตว์, อยากสุขภาพดีไม่มีโรค ต้องไม่เบียดเบียนสัตว์, อยากผิวพรรณงาม ต้องไม่มักโกรธ, อยากมีอำนาจมาก ต้องไม่มักอิจฉา, อยากร่ำรวย ต้องไม่ตระหนี่ ให้ทานเสมอ, อยากเกิดในตระกูลสูง ต้องไม่เย่อหยิ่งจองหองแต่อ่อนน้อม, อยากฉลาดมีปัญญา ต้องหมั่นเสวนาผู้รู้ สนใจเรื่องบาปบุญคุณโทษ คือต้องทำเหตุให้สอดคล้องกับผล และต้องทำจริงๆ จึงจะได้ผลนั้น อย่าไปมัวขอพร

เวลาพระท่านให้พร ท่านไม่กล่าวในทำนอง"ขอร้อง" หรือ "อ้อนวอน" ท่านจะสอนหลักแห่งการกระทำ ให้ทำตามนั้นแล้วผลจะมีมาเอง ดังคำอวยพรที่พระท่านให้ประจำคือ อภิวาทนสีลิสส นิจจํ วุฑฒาปจายิโน จตตาโร ธมมา วฑฒนติ อายุ วณโณ สุขํ พลํ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่ผู้ที่นบไหว้เสมอ มีปกติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในตระกูลเป็นนิจ ให้สังเกตว่า ท่านใช้ปัจจุบันกาล (วฑฒนติ=ย่อมเจริญ) ไม่ใช่ในทำนองขอร้อง(วฑฒตุ=จงเจริญ)

ระดับหัวข้อวิจัยหรือนวัตกรรมสำหรับ ป.ตรี, ป.โท และ ป.เอก

  1. ป.ตรี : โครงงาน (Final-year/Senior project) 3 credits ความหมายของโครงงานคือสิ่งประดิษฐ์
  2. ป.โท : แผน ก. วิทยานิพนธ์ (Thesis) 6-12 credits, แผน ข. สารนิพนธ์ (Independent study)/ภาคนิพนธ์ (Master project) 6 credits
  3. ป.เอก : ดุษฎีนิพนธ์ (Dissertation) 36-48 credits
หัวข้องานวิจัยจะอยู่ระดับปริญญาใดควรพิจารณา 3 ด้านต่อไปนี้
  1. ถ้าประโยชน์ (Impact) อยู่ในระดับองค์กรหรือท้องถิ่นจะเป็นระดับ ป.ตรี หรือ ป.โท ส่วน ป.เอก ต้องมีขนาดปัญหาระดับชาติหรือระดับนานาชาติ
  2. ความยากง่าย สำหรับ ป.เอก มักใช้ Research methodology (เช่น เชิงปริมาณ, เชิงคุณภาพ, เชิงสำรวจ, เชิงวิจัยพัฒนา) มากกว่า 1 แบบ หรือเก็บรวบรวมข้อมูลได้ยากมากต้องอาศัยผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ
  3. ความลึก (Contribution) สำหรับ ป.เอก หัวข้อต้องลึกเพื่อให้เกิด Contribution หรือองค์ความรู้ (ปัญญา) ใหม่ได้
    ส่วนจำนวนหน่วยกิจที่เห็น คือ ระยะเวลาการศึกษาของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยตรวจสอบได้ ซึ่งอาจเป็นแบบ In-class หรือแบบ E-learning --ดัดแปลงจากคำบรรยายของ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข

ชื่อหัวข้อวิจัยหรือหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ดี

เมื่ออ่านแล้วจะต้องทราบอย่างชัดแจ้งหรือโดยนัยถึง 1. Problem, 2. Solution และ 3. Users (กลุ่มผู้ใช้เป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากงานวิจัยชิ้นนี้) --ดัดแปลงจากคำบรรยายของ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พุทธภาษิต

บุคคลผู้ใดต้องการความสุขเพื่อตน แต่ทำคนอื่นให้เดือดร้อน ผู้นั้นจะไม่ได้สุขสมใจ
บุคคลใดต้องการความสุขเพื่อตน ทำผู้อื่นให้เป็นสุขด้วย ผู้นั้นจะได้ความสุขสมหมาย

ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทาง การเดินทางเป็นหน้าที่ของเรา เมื่่อรู้จักทางแล้วต้องลงมือเดิน เดินทันที ด้วยความเพียร ความมีสติ ความมีปัญญา ก็จะถึงจุดหมายได้--หลวงพ่อปัญญาฯ

การปฏิบัติธรรมที่ย่อและสั้นที่สุดคือ ควรบคุมตัวเองด้วยสติและปัญญา สิ่งใดเป็นอกุศล เป็นไปเพื่อสร้างกิเลส เพื่อสะสมความทุกข์ความเดือดร้อนใจ เราก็ต้องเอาออกไปเสีย อย่าให้มันเกิดขึ้นในใจของเรา--หลวงพ่อปัญญาฯ

Critical thinking (การคิดอย่างมีวิจารณญาณ)

The intellectually disciplined process of actively and skillfully conceptualizing, applying, analyzing, synthesizing, and/or evaluating information gathered from or generated by observation, experience, reflection, reasoning, or communication as a guide to belief and action. In its exemplary form, it is based on universal intellectual values that transcend subject matter divisions: clarity, accuracy, precision, consistency, relevance, sound evidence, good reasons, depth, breadth, and fairness. (http://www.criticalthinking.org/aboutCT/define_critical_thinking.cfm)

คือ การใช้เหตุผล หลักฐานและตรรกะมาวิเคราะห์ให้แน่ชัดก่อนลงความเห็นหรือตัดสิน

Authorship in research papers

  • First author is junior author who makes most of the research such as graduate student.
  • Co-authors ได้แก่
    • Co-first author
    • Last author is senior author/ senior investigator/ research advisor
    • Corresponding author can be any author appearing in the list with an indicator e.g. # symbol depending on the paper formating rule. He/she will receive all editorial communications regarding the status of the manuscript, revisions, and reviews. All revisions and the dissemination of the reviewers’ comments and other manuscript information to co-authors are the corresponding author’s responsibility. (เพิ่มเติมที่ http://drjiw.blogspot.com/2012/03/corresponding-author.html)
    • Co-corresponding author
ตำแหน่งของชื่อผู้เขียนที่สำคัญที่สุดคือ first author และ last author

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิธีไม่กลัวตาย

คนส่วนใหญ่กลัวตายเพราะไม่คุ้นเคยกับมัน เช่นเดียวกับที่เรากลัวบางสิ่งบางอย่างเพราะยังไม่คุ้นเคยกับสิ่งนั้น วิธีสร้างความคุ้นเคยกับความตาย คือ หมั่นระลึกถึงความตายอยู่เป็นนิจ พระพุทธเจ้าไม่กลัวความตายมิใช่เพราะเคยตายมาหลายครั้งในชีวิตแต่เป็นเพราะการเจริญมรณังสติอยู่เสมอๆ

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเดินจงกรม

การยืน
ให้ยกมือไขว้หลัง มือขวาจับข้อมือซ้าย ยืนตรง หน้าตรง หลับตา ให้สติอยู่ที่กลางกระหม่อม สำรวจจิต เอาสติตาม วาดมโนภาพร่างกายคำว่ายืน จากศีรษะลงมาหยุดที่สะดือ คำว่าหนอจากสะดือลงไปปลายเท้านับเป็น ๑ ครั้ง ครั้งที่ ๒ กำหนดขึ้นคำว่ายืนอยู่ปลายเท้ามาหยุดที่สะดือ คำว่าหนอจากสะดือไปกลางกระหม่อม กำหนดกลับไปกลับมาจนครบ ๒ ครั้ง ขณะนั้นสำรวมจิตอยู่ที่กาย อย่าให้ออกนอกกายแล้วลืมตาค่อย ๆ ก้มหน้ามองดูปลายเท้า ให้สติจับอยู่ที่ปลายเท้าเพื่อเตรียมเดินจงกลมต่อไป
การเดิน
ลืมตาก้มหน้าและกำหนดว่าขวาย่างหนอ ในใจคำว่าขวา ยกส้นเท้าขวาขึ้นประมาณ ๒ นิ้ว เท้ากับใจนึกต้องพร้อมกัน ย่างก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าอย่างช้าๆ เท้ายังไม่เหยียบพื้น คำว่าหนอเท้าลงถึงพื้นพอกัน จากนั้นสำรวจจิตไว้ที่เท้าซ้ายตั้งสติตั้งลงไป กำหนดว่าซ้ายย่างหนอ สลับกันเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ไประยะก้าวได้ดีขึ้น เมื่อเดินสุดสถานที่แล้ว ให้นำเท้ามาเคียงกัน หน้าตรง หลับตา กำหนดยืนหนอช้าๆ อีก ๕ ครั้ง จากนั้นลืมตา ก้มหน้ามองดูปลายเท้า
การกลับ
กำหนดว่า กลับ…..หนอ ๔ ครั้ง คำว่า กลับหนอครั้งที่หนึ่ง ยกปลายเท้าขวา ใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา ๙๐ องศา ครั้งที่สอง เคลื่อนเท้าซ้ายมาชิดกับเท้าขวา ครั้งที่สามทำเหมือนครั้งที่ ๑ ครั้งที่สี่ ทำเหมือนครั้งที่ ๒ เมื่อครบสี่ครั้งแล้วจะอยู่ในท่ากลับหลังต่อไปกำหนด ยืนหนอช้าๆ อีก ๕ ครั้ง ลืมตา ก้มหน้า แล้วกำหนดเดิน ต่อไปจนหมดเวลาที่ต้องการ
การนั่ง
ให้ทำต่อจากการเดินจงกลม อย่าให้ขาดตอนเมื่อเดินจงกลมถึงที่จะนั่ง ให้กำหนดยืนหนออีก ๕ ครั้ง แล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอๆ ช้าๆ จนกว่าจะลงสุด เวลานั่งค่อยๆ ย่อตัวลง พร้อมกำหนดตามอารมณ์ที่ทำไปจริงๆ เช่น ย่อตัวหนอๆๆ เท้าพื้นหนอๆๆ คุกเข่าหนอๆๆ นั่งหนอๆๆ เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความอดทนเป็นพื้นฐานของระเบียบวินัย

เรื่องอาหารการกิน ต้องเป็นเวลา อย่าให้เด็กกินพร่ำเพรื่อ หัดเด็กให้มีระเบียบ คนมีระเบียบคือ คนที่มีความอดทนเป็นพื้นฐาน ถ้ามีระเบียบของสิ่งทั้งหลายก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ เราจึงต้องฝึกสอนเขา--หลวงพ่อปัญญา

วิบากกรรมอาจไม่ใช่ผลของกรรมในอดีต

การคิดว่าวิบากกรรมที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันเกิดจากกรรมในอดีตหรือเกิดเองเป็นมิจฉาทิฐิ มีพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทราบว่าเกิดจากอะไร อาจเกิดจากเหตุปัจจัยที่รับรู้ผ่านผัสสะทั้ง 6--เจ้าอาวาสวัดป่าแห่งหนึ่งลูกศิษย์หลวงพ่อชา

พระองค์ตรัสสอนว่า สิ่งทั้งหลายเกิดจากเหตุ ไม่มีเหตุ ผลจะเกิดขึ้นไม่ได้ ผลจะดับ ก็ต้องดับเหตุก่อน ทุกข์เกิดด้วยตัวเราเอง ไม่มีสิ่งใดดลบันดาลให้เป็นทุกข์หรือสุข ให้คิดว่ามันต้องมีเหตุและเหตุนั้นมันไม่ได้อยู่ที่ไหน แต่อยู่ในใจของเราเอง เหตุมันอยู่ในใจของเราเอง อย่าไปค้นหาที่อื่น--พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อปัญญา)

เจริญสติสามารถแก้ได้ทั้งการฟุ้งซ่านและหดหู่

ซึ่งดีกว่าสมาธิที่ใช้แก้การฟุ้งซ่านแต่ไม่ช่วยแก้หดหู่

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

คำคมภายหลังการจลาจลในกรุงเทพฯ

"ประชาธิปไตยไม่อาจสร้างได้ด้วยความแค้นและอคติ สิ่งดีงามจะสร้างได้ด้วยความสงบ" -- วีระ มุสิกพงศ์

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Manmade solution for the future affect of the global warming crisis

ประเทศฮอลแลนด์ (Holland is a name in common usage given to a region in the western part of the Netherlands. Moreover, the term Holland is frequently used to refer to the whole of the Netherlands.) มีพื้นที่ชื่อ Flavoland ซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเพราะสร้างโดยการกั้นน้ำทะเลและสูบน้ำด้านในออกพร้อมนำทรายจากแม่น้ำต่างๆ มาถมเพิ่ม ความภาคภูมิใจนี้ถูกถ่ายทอดผ่านประโยคที่ว่า "God created the earth, but the Dutch created the Netherlands."

นอกเหนือจากการป้องปรามการยึดพื้นที่โดยมนุษย์ในและนอกประเทศด้วยกันเอง ไทยเตรียมความพร้อมในการขอคืนพื้นที่ชายฝั่งทะเลคืนจากการลุกล้ำของวิกฤตการณ์โลกร้อนหรือยัง?

วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การวัดผล (Measurement/Assessment) และการประเมินผล (Evaluation) ทางการศึกษา

การวัดผล หมายถึง การจัดหาข้อมูล หรือ จัดหาคะแนนจากหลากหลายวิธี ส่วนการประเมินผล คือ การนำผลการวัดมาตัดสินว่ามีคุณค่าอย่างไร
การวัดและประเมินผลจะกระทำตามวัตถุประสงค์ทางการศึกษาซึ่งจำแนกได้เป็นสามด้านดังนี้
  1. Cognitive Domain คือการวัดความรู้ (Knowledge) ซึ่งได้จากการเีรียน (ดูรายละเอียดที่ http://drjiw.blogspot.com/2009/12/cognitive-domain.html)
  2. Psychomotor Domain คือการวัดทักษะความชำนาญในการปฏิบัติ (Skill) ซึ่งเกิดจากการฝึกหัด (Practice)
  3. Affective Domain คือการวัดทัศนคติ (Attitude) หรือเจตคติ (ความหมายเดียวกัน) รวมถึงคุณธรรม วินัย นิสัย คุณสมบัติเหล่านี้หล่อหลอมขึ้นจากการอบรม (Train)
ครูต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการวัดด้านใดบ้าง จึงจะสามารถเลือกใช้เครื่องมือวัดที่เหมาะสมได้ ส่งผลให้ผลการวัดน่าเชื่อถือและยุติธรรมต่อผู้เรียนเช่น ต้องการทดสอบว่าผู้เรียนว่ายน้ำเป็นหรือไม่ ซึ่งเป็น ความสามารถทางทักษะ หากใช้เครื่องมือวัดเป็นการสอบข้อเขียน (Paper-pencil exam) ก็คงไม่สามารถสะท้อน ความเป็นจริงที่ว่าผู้ที่ตอบข้อสอบได้คะแนนดี สามารถว่ายน้ำได้จริงหรือไม่ ดังนั้นการวัดผลควรคำนึงถึงการเลือกใช้ เครื่องมือที่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัด

สหกิจศึกษา (Cooperative Education)

เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาจากระบบการศึกษาแบบบูรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษากับ การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ/องค์กรผู้ใช้บัณฑิต ซึ่งสอดคล้องกับหลักปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และปรับบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการให้ความสำคัญกับความต้องการและความพึงพอใจขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต ส่งผลให้เกิดภาคีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคธุรกิจเอกชนและตลาดการจ้างงาน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณลักษณะและสมรรถนะบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตหรือสถานประกอบการ  และเห็นว่าสหกิจศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง