วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ต้นทุนทางสังคม VS ทุนทางสังคม

ต้นทุนทางสังคม (Social Cost) หมายถึง ผลกระทบทางสังคมเชิงลบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจสินค้าและบริการ เช่น ต้นทุนทางสังคมของการพนันประกอบด้วย ต้นทุนของการเกิดอาชญากรรมที่เพิ่มขึ้น การสูญเสียเวลาในการทำงาน ปัญหาทางการเงินและหนี้สินของผู้ติดการพนัน และรวมถึงปัญหาสุขภาพทางกายและใจของผู้ติดการพนัน และต้นทุนทางสังคมของเกาะสมุยจากการที่ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองท่องเที่ยว น่าจะเป็น ทรัพยากรธรรมชาติที่สูญเสียไป ค่าใช้จ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อม กำจัดมลพิษ ปัญหาความหนาแน่นของประชากร ค่าครองชีพสูงขึ้น

ทุนทางส้ังคม (Social Capital) หรือหมายถึง ความแข็งแรงหรือความพร้อมของสังคมแต่ละระดับ เช่น หลังเหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 ที่รู้จักกันว่าต้มยำกุ้ง ทำให้ธุรกิจและสถาบันการเงินล้มเกือบหมด ธุรกิจขนาดกลางขึ้นไปมีหนี้มีสินจนป่านนี้ยังใช้ไม่หมด แต่สังคมในชนบทไม่เดือดร้อน พอจะอยู่จะกินได้เพราะมีทุนในทางสังคม, ในแง่ของความพร้อมทางครอบครัว เช่น นักเรียนที่ฐานะทางบ้านดีมีโอกาสเรียนรู้มากกว่านักเรียนยากจน เรียกว่านักเรียนรวยมีทุนทางสังคมสูงกว่านักเรียนยากจน, คนที่มีการศึกษาสูงมีโอกาสหรือมีทุนทางสังคมสูงกว่าคนที่มีการศึกษาน้อย และสังคมที่มีความห่วงใย ความเอื้ออาทร ความผูกพัน ความเป็นห่วง ความมีน้ำใจต่อคนอื่นๆ จะมีทุนทางสังคมสูงกว่าสังคมที่ขาดสิ่งเหล่านี้

ต้นทุนในทางบัญชี คือ รายจ่าย เช่น ในการเลี้ยงหมู ก็ต้องมีค่าพันธุ์ ค่าอาหาร ค่าฉีดวัคซีน ค่าจัดการ และยาป้องกันโรค

ต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์ คือ ค่าเสียโอกาส เช่น ตัดสินใจเลี้ยงหมู กว่าจะจับขาย ต้องลงทุนไปห้าแสนบาท เท่ากับหมดโอกาสที่จะไปลงทุนอย่างอื่น