วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศญี่ปุ่น

ลูกเพิ่งอยู่ม.4 เเต่ก็ต้องเริ่มศึกษาเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยลัยของญี่ปุ่นเเล้ว เนื่องจากการเเข่งขันที่เข้มข้นดุเดือดเพราะจำนวนคนอยากเรียนมีมากกว่าจำนวนคนที่มหาวิทยาลัยจะรับได้นั่นเอง ก็ไม่รู้ว่าลูกเราจะสามารถฝ่าฟันผ่านเข้าไปได้ไหม ทางโรงเรียนเองก็พยายามช่วยเด็กว่าสนใจอยากเรียนที่ไหน คณะอะไร พาไปดูการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ของลูกไปมาเเล้ว2มหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยโอซาก้ากับมหาวิทยาลัยเกียวโต สำหรับลูกนั้นชอบมหาวิทยาลัยเกียวโตอยากไปเรียน เเต่ก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่ว่ามันสอบเข้ายาก การสอบเข้ามหาวิทยาลัยของญี่ปุ่นจะมีการสอบ2ครั้ง คือ
-ครั้งที่1 センター 試験 National Center Test for University Admissions ซึ่งจะสอบกันประมาณกลางเดือนมกราคมของทุกปี จะสอบกัน5-6วิชา(หลัก)7วิชา(ย่อย)คะเเนนรวม950คะเเนน ได้เเก่ คณิต(คณิต1+A,คณิต2+B) ,อังกฤษ, ญี่ปุ่น ,วิทย์(ฟิสิกส์,เคมี,ชีวะ เลือกเเค่2วิชา), ภูมิศาสตร์/ประวัติศาสตร์/สังคม ค่าสมัครสอบยังไม่รู้ว่าเท่าไหร่
-ครั้งที่2 個別入学資格審査(2次試験) University test หรือข้อสอบของมหาวิทยาลัย จะสอบกัน3หรือ4 หรือ5วิชา ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยเเละคณะที่จะสอบเข้า ซึ่งการสมัครสอบนั้นต้องอาศัยคะเเนนสอบจากครั้งที่1 ถ้าคะเเนนจากครั้งที่1ออกมาไม่ดี บางมหาวิทยาลัย บางคณะไม่มีสิทธิ์สมัครสอบ ค่าสมัครสอบสำหรับมหาวิทยาลัยของรัฐคือ17000เยนต่อคณะต่อครั้ง (สมัครสอบเเต่ละครั้งเลือกได้เเค่1คณะเท่านั้น  ถ้าคณะไหนมีหลายภาควิชาอาจจะเลือกภาควิชาได้มากกว่า1 เช่นคณะวิศวะ ม.เกียวโต สามารถเลือกได้2ภาควิชา, คณะเกษตรศาสตร์สามารถเลือกได้3ภาควิชา ส่วนคณะที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สาธารณสุข เลือกได้เเค่1คณะ1ภาควิชา เช่นเเพทย์ เภสัช ทันตะ พยาบาล)
จะเห็นว่าคะเเนนสอบจากครั้งที่1นั้นสำคัญมาก ถ้าจะเรียนมหาวิทยาลัยรัฐชั้นเเถวหน้าที่เขาเรียก難関大学(nankandaigaku)ซึ่งมีอยู่ราวๆ9-10เเห่งนั้น(ม.เกียวโต, ม.โอซาก้า,ม.โกเบก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้) จะต้องสามารถทำคะเเนนสอบในครั้งที่1ให้ได้ราวๆ80%ขึ้นไป ของลูกสาวหนักหน่อย อยากสอบเข้าม.เกียวโตหรือม.โอซาก้า ต้องทำคะเเนนให้ได้85%ขึ้นไป ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร เพราะตอนนี้คะเเนนลูกยังอยู่เเค่72-73%เท่านั้น วิชาที่เป็นปัญหาหนักอกหนักใจคือคณิตกับญี่ปุ่น
การสอบเอนทรานซ์เเบบนี้จะใช้ถึงเเค่ปี2015(ในปีนี้ก็มีการเปลี่ยนเเปลงไปบ้าง ตกหนักอยู่ที่โรงเรียนต้องสอนให้ทันการเปลี่ยนเเปลง ต้องเร่งสอนในวิชาที่ต้องใช้สอบ) เเต่ในปี2016การสอบเอนทรานซ์จะเปลี่ยนเเปลงไปเป็นระบบใหม่เลย สำหรับลูกนั้นจะสอบเอนทรานซ์ในปี2015พอดี จะว่าไปเเล้วรุ่นลูกนี่คง้ป็นรุ่นหนูทดลองยา เพราะมาเจอช่วงญี่ปุ่นเปลี่ยนระบบการศึกษาพอดี เปลี่ยจากเรียนหนักมาเป็นเรียนเบาๆ ไม่มีเรียนวันเสาร์ มาตั้งเเต่ชั้นประถมปีที่1 รุ่นก่อนหน้าลูก1ปียังคงเป็นรุ่นเรียนหนัก พอมารุ่นลูกเป็นรุ่นเรียนเบาๆ ไปเรื่อยๆ  พอเรียนเเบบนี้ไม่work(เนื่องจากผลการทดสอบในระดับนานาชาติคะเเนนประเทศญี่ปุ่นเป็นรองเกาหลีใต้ รองจีน รองสิงคโปร์ รองฮ่องกง รองไต้หวัน) ก็เปลี่ยนมาให้รุ่นหลังลูกเรียนหนักเรียนเข้มเหมือนเดิม   ล่าสุดผลจากTIMSS2011 International Results in Mathematics & Science ของชั้นประถม4เเละม.2 ญี่ปุ่นสามารถกลับมาอยู่ในกลุ่มTop5ได้


https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hana&month=12-2012&date=18&group=4&gblog=200








        เป็นที่ทราบกันว่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่นแข่งขันกันสูง ข้อสอบยาก และต้องสอบหลายวิชา มีทั้งข้อสอบกลางและข้อสอบเฉพาะที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งจัดสอบเพิ่ม ข้อสอบกลางคือการสอบเก็บคะแนนพร้อมกันทั่วประเทศประมาณกลางเดือนมกราคม และให้นักเรียนนำคะแนนไปยื่นต่อมหาวิทยาลัยที่เปิดรับตามเกณฑ์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยของรัฐ (แห่งชาติและท้องถิ่น) ส่วนข้อสอบเฉพาะคือข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเองต่างหากทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งแต่ละคณะมักออกข้อสอบเป็นเอกเทศ จึงมีแนวโน้มว่าจำนวนวิชาของการสอบก็จะเพิ่มตามจำนวนมหาวิทยาลัยและจำนวนคณะที่นักเรียนเลือก บางคนอาจต้องสอบถึง 10 กว่าวิชาถ้าเลือกหลายที่เผื่อพลาด

http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000018819

วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประชาสัมพันธ์ (Public relation: PR) VS. สื่อสารองค์กร (Corporate Communications)

  • งานด้าน PR เป็นการนำสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในองค์กรไปบอกกล่าวต่อกลุ่มเป้าหมายภายนอก ดังนั้นยุทธศาสตร์ที่ใช้จะมุ่งประเด็นไปที่กลุ่มเป้าหมายและการตลาดภายนอก
  • ในขณะที่งานสื่อสารองค์กรนั้น นอกจากจะมุ่งเน้นการสื่อสารและการสร้างความเข้าในกับส่วนสารธารณะทั้งภายในและภายนอก มุ่งเน้นความเข้าใจถึงความมีตัวตันและความเป็นไปขององค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก
(Reference: http://saichol-c.blogspot.com/2014/06/when-pr-is-replaced-by-corporate.html)

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Middleware

A software framework that provides a runtime environment beneath application and atop nw os, realizes distribution transparency, resolves heterogeity, and facilitates nw communication and the coordination of distributed components.

Object-oriented framework

  • OO framework = components + design patterns
  • A set of components working together so they address a number of problems based on design patterns.