Positioning :
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
Balanced Scorecard
Balanced Scorecard คือระบบการบริหารงานและประเมินผลทั่วทั้งองค์กร และไม่ใช่เฉพาะเป็นระบบการวัดผลเพียงอย่างเดียว แต่จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (vision) และแผนกลยุทธ์ (strategic plan) แล้วแปลผลลงไปสู่ทุกจุดขององค์กรเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายงานและแต่ละคน โดยระบบของ Balanced Scorecard จะเป็นการจัดหาแนวทางแก้ไขและปรับปรุงการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการทำงานภายในองค์กร และผลกระทบจากลูกค้าภายนอกองค์กร มานำมาปรับปรุงสร้างกลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพดีและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น เมื่อองค์กรได้ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบ Balanced Scorecard เต็มระบบแล้ว Balanced Scorecard จะช่วยปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ขององค์กรจากระบบ “การทำงานตามคำสั่งหรือสิ่งที่ได้เรียนรู้สืบทอดกันมา (academic exercise)” ไปสู่ระบบ “การร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวขององค์กร (nerve center of an enterprise)
Kaplan และ Norton ได้อธิบายถึงระบบ Balanced Scorecard ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่นี้ ดังนี้
“Balanced Scorecard จะยังคงคำนึงถึงมุมมองของการวัดผลทางการเงิน (financial measures) อยู่เหมือนเดิม แต่ผลลัพธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นจะบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรในช่วงที่ผ่านมา บอกถึงเรื่องราวของความสามารถกับอายุของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ แต่มันไม่ได้บอกถึงความสำเร็จขององค์กร ที่จะมีต่อผู้ลงทุนที่จะมาลงทุนระยะยาวโดยการซื้อหุ้นของบริษัท และความสัมพันธ์ของลูกค้า (customer relationships) แต่อย่างใด จะเห็นได้ว่าเพียงการวัดผลทางการเงินด้านเดียวไม่เพียงพอ แต่อย่างไรก็ตามมันก็ใช้เป็นแนวทางและการตีค่าของผลการประกอบการขององค์กร ใช้เป็นข้อมูลที่จะเพิ่มมูลค่าขององค์กรในอนาคตและสร้างแนวทางสำหรับ ลูกค้า (customers), ผู้ขายวัตถุดิบหรือสินค้า (suppliers), ลูกจ้าง (employees), การปฏิบัติงาน (processes), เทคโนโลยี (technology), และ การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ
Balance Scorecard จะทำให้เราได้เห็นภาพขององค์กรใน 4 มุมมอง และนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือวัดผล โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลและนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ มุมมองทั้ง 4 ดังกล่าว ประกอบด้วย
1. The Learning and Growth Perspective เป็นมุมมองด้านการเรียนรู้และการเติบโต เช่น การพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงาน, ความพึงพอใจของพนักงาน, การพัฒนาระบอำนวยความสะดวกในการทำงาน เป็นต้น =>เรามองว่าเป็นการพัฒนาต้นน้ำ
2. The Business Process Perspective เป็นมุมมองด้านกระบวนการทำงานภายในองค์กรเอง เช่น การคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ, การจัดโครงสร้างองค์กรที่มีประสิทธิภาพ, การประสานงานภายในองค์กร, การจัดการด้านสายงานผลิตที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น =>เรามองว่าเป็นการพัฒนากลางน้ำ
3. The Customer Perspective เป็นมุมมองด้านลูกค้า เช่น ความพึงพอของลูกค้า, ภาพลักษณ์, กระบวนการด้านการตลาด, การจัดการด้านลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น =>เรามองว่าเป็นการพัฒนาปลายน้ำ
4. The Financial Perspective เป็นมุมมองด้านการเงิน เช่น การเพิ่มรายได้, ประสิทธิภาพในการผลิตที่มีต้นทุนต่ำและมีการสูญเสียระหว่างผลิตน้อย, การหาแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ เป็นต้น =>เรามองว่าเป็นการพัฒนา return จากปลายน่ำกลับสู่ต้นน้ำ
Balance Scorecard (BSC) นั้นได้รับการพัฒนามาโดยตลอด ทำให้ภาพของ BSC จากเพียงเครื่องมือที่ถูกใช้เพื่อวัดและประเมินผลองค์กร ไปสู่การเป็นเครื่องมือเชิงระบบสำหรับการวางแผนและบริหารยุทธศาสตร์ (Strategic Planning) โดยผู้พัฒนาเครื่องมือนี้ (Norton และ Kaplan) ยืนยันหนักแน่นว่า ความสมดุล (Balance) ในการพัฒนาองค์กรนั้น สามารถวัด และประเมินได้จากการมองผ่านมุมมองของระบบการวัดและประเมินผลใน 4 ด้านหลัก คือ
- มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective; F)
- มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective; C)
- มุมมองด้านการดำเนินการภายใน (Internal Perspective; I)
- มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาการ (Learning and Growth; L)
ดังนั้น BSC จึงเป็นเสมือนเครื่องมือหรือกลไกในการวางแผนและบริหารกลยุทธ์ที่มีการกำหนดมุมมองทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนาองค์กร จนบรรลุแผนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ในที่สุด
มุมมองทุกด้านจะมีวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรเป็นศูนย์กลาง และในแต่ละด้านจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบคือ
- วัตถุประสงค์ (Objective) คือสิ่งที่องค์กรมุ่งหวังหรือต้องการที่จะบรรลุในแต่ละด้าน
- ตัวชี้วัด (Measures หรือ Key Performance Indicators)คือ ตัวชี้วัดของวัตถุประสงค์ในแต่ละด้าน และตัวชี้วัดเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละด้านหรือไม่
- เป้าหมาย (Target)คือ เป้าหมายหรือตัวเลขที่องค์กรต้องการจะบรรลุในตัวชี้วัดแต่ละประการ
- แผนงาน โครงการ หรือ กิจกรรม (Initiatives) ที่องค์กรจะจัดทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น โดยในขั้นนี้ยังไม่ใช่แผนปฏิบัติการที่จะทำ แต่เป็นเพียงแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม เบื้องต้นที่ต้องทำเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
คำว่าสมดุล (Balance) ใน BSC หมายถึงอะไร
ด้วยเหตุที่หลายครั้งผู้พัฒนาและติดตั้ง BSC ในแต่ละองค์กรนั้น มุ่งแต่จะพยายามเติมเต็มมุมมองการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน (C-L-I-F) เท่านั้น โดยละเลยประเด็นที่ว่า แม้ว่าจะทำให้ทั้ง4 มุมมองนั้นครบถ้วน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ความสมดุลตามความมุ่งหมายของ BSC จะเกิดขึ้นได้ ความสมดุลนี้พึงต้องระลึกไว้อยู่เสมอในขณะพัฒนาและติดตั้ง BSC ว่าความสมดุลตามความมุ่งมาดคาดหมายของ BSC คือ ความสมดุล (Balance) ระหว่าง
- จุดมุ่งหมาย (Objective) : ระยะสั้นและระยะยาว (Short - and Long - Term)
- การวัดผล (Measure) : ทางด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน (Financial and Non-Financial)
- ดัชนีชี้วัด (Indicator) : เพื่อการติดตามและการผลักดัน (lagging and Leading)
- มุมมอง (Perspective) : ภายในและภายนอก (Internal and External)
ซึ่งแน่นอนว่า หาก BSC ที่ทำการพัฒนาขึ้นและใช้ในองค์กร ไม่ได้พยายามทำให้เกิดความสมดุลดังกล่าวข้างต้น ก็ย่อมคาดหวังผลประโยชน์จากการทำ BSC ไม่ได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
แผนที่กลยุทธ์(Strategy Map) และ BSC
สิ่งที่คนในองค์กรจะเข้าใจเป้าหมายขององค์กรได้ง่าย ก็คือการ สร้าง map หรือ road map ที่แสดงเป็นขั้นตอนหรือเส้นทางที่จะดำเนินงาน ซึ่งแผนการดำเนินงานขององค์กรภาวะที่มีข้อจำกัดและมีการแข่งขัน จึงต้องเป้นแผนที่กลยุทธ์ หรือแผนยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของมุมมองทั้ง 4 และความสมดุลทั้ง 4 BSC ยังให้ความสำคัญต่อความเชื่อมโยงมุมมอง (Perspective) โดยนำเสนอใน 2 รูปแบบคือ
แผนที่กลยุทธ์(Strategy Map) และ BSC
สิ่งที่คนในองค์กรจะเข้าใจเป้าหมายขององค์กรได้ง่าย ก็คือการ สร้าง map หรือ road map ที่แสดงเป็นขั้นตอนหรือเส้นทางที่จะดำเนินงาน ซึ่งแผนการดำเนินงานขององค์กรภาวะที่มีข้อจำกัดและมีการแข่งขัน จึงต้องเป้นแผนที่กลยุทธ์ หรือแผนยุทธศาสตร์ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของมุมมองทั้ง 4 และความสมดุลทั้ง 4 BSC ยังให้ความสำคัญต่อความเชื่อมโยงมุมมอง (Perspective) โดยนำเสนอใน 2 รูปแบบคือ
แบบความสัมพันธ์ (Relation)
แบบลำดับความสำคัญ (Priority)
ทำไมองค์กรจึงจำเป็นต้องมีการนำ Balanced Scorecard มาใช้
จากผลการสำรวจบริษัทในประเทศสหรัฐฯ ของ CFO Magazine เมื่อปี 1990 พบว่า มีเพียง 10% เท่านั้นที่องค์กรประสบความสำเร็จด้านการใช้แผนกลยุทธ์ ทั้งนี้องค์กรส่วนใหญ่พบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ดังนี้
1. The Vision Barrier (อุปสรรคด้านวิสัยทัศน์) มีพนักงานที่เข้าใจถึงแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ตนเองทำงานอยู่เพียง 5%
2. The People Barrier (อุปสรรคด้านบุคลากร) พบว่ามีพนักงานระดับผู้จัดการเพียง 25% ที่ให้ความสำคัญและบริหารงานตามแผนกลยุทธ์
3. The Resource Barrier (อุปสรรคด้านทรัพยากร) พบว่ามีจำนวนองค์กรถึง 60% ที่ไม่ได้บริหารงบประมาณให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
4. The Management Barrier (อุปสรรคด้านการจัดการ) มีผู้บริหารองค์กรมากถึง 85% ที่ให้เวลาในการประชุมสนทนาในเรื่องแผนกลยุทธ์น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อเดือน
จากอุปสรรคข้างต้น เกิดจากบุคลากรในทุกระดับไม่เข้าใจ หรือมองเห็นภาพของแผนกลยุทธ์ขององค์กร ดังนั้นการทำงานจึงไม่สอดคล้องกับแผน ซึ่งในส่วนนี้เองที่ BSC จะช่วยให้ผู้บริหารได้มองเห็นภาพและเส้นทางที่กำหนดไว้ในแผนได้ชัดเจน บุคลากรทุกคนสามารถรับรู้ถึงกิจกรรมที่ตนเองจะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ส่วนระยะการพัฒนารูปแบบของ Balanced Scorecard สำหรับแต่ละองค์กร ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร แต่โดยทั่ว ๆ ไป ถ้าองค์กรนั้นมีการเขียนแผนธุรกิจอยู่เดิมแล้ว ก็อาจจะใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 6 เดือน
ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการใช้ Balanced Scorecard
- ช่วยให้มองเห็นวิสัยทัศน์ขององค์กรได้ชัดเจน
- ได้รับการความเห็นชอบและยอมรับจากผู้บริหารทุกระดับ ทำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติงานได้สอดคล้องกันตามแผน
- ใช้เป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการทำงานทั่วทั้งองค์กร
- ช่วยให้มีการจัดแบ่งงบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ สำหรับแต่ละกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม
- เป็นการรวมแผนกลยุทธ์ของทุกหน่วยงานเข้ามาไว้ด้วยกัน ด้วยแผนธุรกิจขององค์กร ทำให้แผนกลยุทธ์ทั้งหมดมีความสอดคล้องกัน
- สามารถวัดผลได้ทั้งลักษณะเป็นทีมและตัวบุคคล
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เดินไปตามความฝันของคุณ อย่ายอมให้ใครขโมยมันไปได้
จากบทความเรื่อง "Follow your Dreams"
เด็กชายอายุ 16 ปี คนหนึ่ง ชื่อว่ามอนตี้
ซึ่งคุณครูสั่งให้เขียนเรียงความเรื่อง " โตขึ้นอยากเป็นอะไร "
มอนตี้ก็เขียนบรรยายไป 7 หน้ากระดาษถึงความฝันของเขา
ที่จะเป็นเจ้าของคอกม้า พร้อมด้วยบ้านพื้นที่ 4,000 ตารางฟุต
บนเนื้อที่ 200 เอเคอร์
เขาบรรยายพร้อมกับวาดแผนผังแสดงรายละเอียดไว้ทุกๆ ส่วน
แต่เมื่อเขานำไปส่ง กลับได้คะแนน " F "
และคุณครูเรียกให้ไปพบหลังเลิกเรียน
หลังเลิกเรียน มอนตี้ ก็เข้าไปพบคุณครู
และถามว่าทำไมเรียงความของเขาจึงได้ " F "
ก็ได้รับคำตอบว่าสิ่งที่เขาเขียนนั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เพราะมันต้องใช้เงินมากมาย
เกินกว่าฐานะของครอบครัวของมอนตี้จะสามารถทำได้
แม้ว่ามอนตี้จะชี้แจงให้ฟังว่ามันเป็นแค่ความฝันของเขา
แต่คุณครูไม่รับฟัง และขอให้มอนตี้ไปเขียนเรียงความมาใหม่
โดยขอให้เขียนถึงเรื่องที่มันพอจะเป็นไปได้บ้าง แล้วจะแก้คะแนนให้
มอนตี้ก็กลับบ้าน และนำปัญหานี้ไปปรึกษากับพ่อของเขา
ซึ่งพ่อของเขาก็ให้คำตอบว่า " เรื่องนี้พ่อคงช่วยอะไรลูกไม่ได้
มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกเอง แต่พ่อมีความรู้สึกบางอย่างว่า
การตัดสินใจของลูกครั้งนี้ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ต่ออนาคตของลูกอย่างแน่นอน"
มอนตี้ ใคร่ครวญกับเรื่องนี้อยู่เป็นสัปดาห์
ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจได้ เขานำเรียงความเรื่องเดิมไปส่งคุณครู
พร้อมกับพูดว่า " ให้คะแนน F กับผมก็แล้วกัน
ผมจะรักษาความฝันของผมไว้ "
มอนตี้เล่าเรื่องนี้ให้กับผู้มาเยือนเขาฟังพร้อมกล่าวว่า
"ที่ผมเล่าเรื่องนี้ให้พวกคุณฟัง เพราะว่าขณะนี้
คุณกำลังนั่งอยู่หน้าเตาผิงในบ้านพื้นที่ 4,000 ตารางฟุต
ซึ่งตั้งอยู่กลางคอกม้าเนื้อที่ 200 เอเคอร์
และเรียงความ 7 หน้ากระดาษนั้นได้ใส่กรอบเรียงอยู่เหนือเตาผิงนี้"
และเขาได้เล่าต่อว่า " สิ่งที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ
ในฤดูร้อนเมื่อสองปีที่แล้วคุณครูคนเดิมพาเด็กนักเรียน 30 คน
มาพักค้างแรมที่นี่เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
ก่อนจากไปท่านพูดกับผมว่า มอนตี้ สมัยครูเป็นครูของเธอ
ครูคงเป็นนักขโมยความฝัน ครูเสียใจนะที่
ครูได้ขโมยความฝันของเด็กๆ ไปตั้งมากมาย
แต่ครูก็ดีใจที่เธอไม่ยอมให้ครูขโมยความฝันของเธอ"
*****************************
อย่าปล่อยให้น้ำลายราคาถูก
มาทำลายความฝันราคาแพงของเราไป
และอย่าเอาแต่ฝัน ลงมือทำให้เป็นจริงด้วย
เด็กชายอายุ 16 ปี คนหนึ่ง ชื่อว่ามอนตี้
ซึ่งคุณครูสั่งให้เขียนเรียงความเรื่อง " โตขึ้นอยากเป็นอะไร "
มอนตี้ก็เขียนบรรยายไป 7 หน้ากระดาษถึงความฝันของเขา
ที่จะเป็นเจ้าของคอกม้า พร้อมด้วยบ้านพื้นที่ 4,000 ตารางฟุต
บนเนื้อที่ 200 เอเคอร์
เขาบรรยายพร้อมกับวาดแผนผังแสดงรายละเอียดไว้ทุกๆ ส่วน
แต่เมื่อเขานำไปส่ง กลับได้คะแนน " F "
และคุณครูเรียกให้ไปพบหลังเลิกเรียน
หลังเลิกเรียน มอนตี้ ก็เข้าไปพบคุณครู
และถามว่าทำไมเรียงความของเขาจึงได้ " F "
ก็ได้รับคำตอบว่าสิ่งที่เขาเขียนนั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เพราะมันต้องใช้เงินมากมาย
เกินกว่าฐานะของครอบครัวของมอนตี้จะสามารถทำได้
แม้ว่ามอนตี้จะชี้แจงให้ฟังว่ามันเป็นแค่ความฝันของเขา
แต่คุณครูไม่รับฟัง และขอให้มอนตี้ไปเขียนเรียงความมาใหม่
โดยขอให้เขียนถึงเรื่องที่มันพอจะเป็นไปได้บ้าง แล้วจะแก้คะแนนให้
มอนตี้ก็กลับบ้าน และนำปัญหานี้ไปปรึกษากับพ่อของเขา
ซึ่งพ่อของเขาก็ให้คำตอบว่า " เรื่องนี้พ่อคงช่วยอะไรลูกไม่ได้
มันขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของลูกเอง แต่พ่อมีความรู้สึกบางอย่างว่า
การตัดสินใจของลูกครั้งนี้ จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ
ต่ออนาคตของลูกอย่างแน่นอน"
มอนตี้ ใคร่ครวญกับเรื่องนี้อยู่เป็นสัปดาห์
ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจได้ เขานำเรียงความเรื่องเดิมไปส่งคุณครู
พร้อมกับพูดว่า " ให้คะแนน F กับผมก็แล้วกัน
ผมจะรักษาความฝันของผมไว้ "
มอนตี้เล่าเรื่องนี้ให้กับผู้มาเยือนเขาฟังพร้อมกล่าวว่า
"ที่ผมเล่าเรื่องนี้ให้พวกคุณฟัง เพราะว่าขณะนี้
คุณกำลังนั่งอยู่หน้าเตาผิงในบ้านพื้นที่ 4,000 ตารางฟุต
ซึ่งตั้งอยู่กลางคอกม้าเนื้อที่ 200 เอเคอร์
และเรียงความ 7 หน้ากระดาษนั้นได้ใส่กรอบเรียงอยู่เหนือเตาผิงนี้"
และเขาได้เล่าต่อว่า " สิ่งที่ดีที่สุดของเรื่องนี้ก็คือ
ในฤดูร้อนเมื่อสองปีที่แล้วคุณครูคนเดิมพาเด็กนักเรียน 30 คน
มาพักค้างแรมที่นี่เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์
ก่อนจากไปท่านพูดกับผมว่า มอนตี้ สมัยครูเป็นครูของเธอ
ครูคงเป็นนักขโมยความฝัน ครูเสียใจนะที่
ครูได้ขโมยความฝันของเด็กๆ ไปตั้งมากมาย
แต่ครูก็ดีใจที่เธอไม่ยอมให้ครูขโมยความฝันของเธอ"
*****************************
อย่าปล่อยให้น้ำลายราคาถูก
มาทำลายความฝันราคาแพงของเราไป
และอย่าเอาแต่ฝัน ลงมือทำให้เป็นจริงด้วย
ความดัดจริตของสังคมไทย
1. คนดี = คนที่แต่งตัวดี
คนเลว = คนที่แต่งตัวไม่ดี
คนเลว = คนที่แต่งตัวไม่ดี
2. คนทำงานเก่ง แต่นำเสนอไม่เก่ง = ไม่เก่ง
คนทำงานไม่เก่ง แต่นำเสนอเก่ง = เก่ง
คนทำงานไม่เก่ง แต่นำเสนอเก่ง = เก่ง
3. คนที่พูดมากกว่าทำ = คนฉลาด
คนที่ทำมากกว่าพูด = คนโง่
คนที่ทำมากกว่าพูด = คนโง่
4. คนพูดเก่ง = คนเก่ง
คนฟังเก่ง = คนไม่เก่ง
คนฟังเก่ง = คนไม่เก่ง
5. คนดี = คนรวย มีคนนับหน้าถือตา
คนไม่ดี = คนจน ไม่น่านับถือ
คนไม่ดี = คนจน ไม่น่านับถือ
6. คนจบ ดร. = ฉลาด
คนจบ ป.4 = โง่
คนจบ ป.4 = โง่
7. พูดภาษาอังกฤษได้ แต่ทำงานไม่เป็น
= ผู้บริหาร เงินเดือนสูง
= ผู้บริหาร เงินเดือนสูง
พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่ทำงานเก่ง
= พนักงานระดับล่าง เงินเดือนน้อย
= พนักงานระดับล่าง เงินเดือนน้อย
8. จบปริญญาจากเมืองนอก = เก่ง
จบปริญญาในเมืองไทย = ธรรมดา
จบปริญญาในเมืองไทย = ธรรมดา
9. ขับรถหรู แต่ยังอยู่ห้องเช่า = รวย
นั่งรถเมล์ แต่มีบ้านของตัวเอง = จน
นั่งรถเมล์ แต่มีบ้านของตัวเอง = จน
10. ใช้ iPhone รุ่นล่าสุด = คนรวย
ใช้มือถือตกรุ่น = คนจน
ใช้มือถือตกรุ่น = คนจน
ก็เพราะแบบนี้ คนสมัยนี้จึงแยกไม่ออกว่า ” อะไรดี อะไรเลว ”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)