วันเสาร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2558

FPGA to ASIC

fpga เป็น general purpose programmable board based on ARM and Linux
fpga is used for prototyping. once the prototype is stable, the fpga is converted to asic to prevent fpga's sw copying (asic is difficult to copy).

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

Service innovation

คือการวิเคราะห์หาว่าอะไรคือ pain ความเจ็บปวดในการใช้บริการหนึ่งๆ และพยายามหาวิธีแก้ปัญหาความเจ็บปวดของผู้ใช้ในบริการดังกล่าวออกมาเป็นนวัตกรรมบริการ เช่น บริการเรียกแทกซี่อูเบอร์ Uber (a mobile-app-based transportation network also called Uber. The Uber app allows consumers to submit a trip request served by car owners), air ต้องล้างอยู่เรื่อง ก็คิดค้นแอร์ที่ไม่ต้องล้าง เหมือนแบตไม่ต้องเติมน้ำกลั่น
--ดร.มนู

การจดทะเบียนรถยนต์เกิน 7 ที่นั่งต้องมีที่จอดรถด้วย




วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

เดลฟาย (Delphi) VS Focus group

ทั้งเดลฟายและfocus group เป็นการทำวิจัยเชิงสำรวจ

เดลฟาย เป็นกระบวนการหาข้อสรุปของความคิดเห็นที่เป็นอิสระของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสอบถาม (รอบแรกปลายเปิด รอบสองสกัดคำตอบรอบแรกเป็นปลายปิดแบบ likert scale 1-5 รอบสามเอาคำตอบจากรอบสองมาจับด้วยหลักสถิติเบื้องต้น(มัธยฐานหรือค่าเฉลี่ยหรือหรือฐานนิยมของกลุ่ม และ interquatile range:IR หรือความสอดคล้องของความคิดของกลุ่มผู้ทรงฯ) เพื่อหาข้อสรุปของกลุ่มใส่เพิ่มลงในแบบสอบถามรอบสองพร้อมกับคำตอบเดิมของผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นกลายเป็นแบบสอบถามรอบสาม และส่งกลับไปสอบถามว่าเห็นด้วยกับคำตอบเดิมหรือข้อสรุปของกลุ่ม ถ้าไม่เห็นด้วยกับกลุ่มเหตุผลคืออะไร) จนได้ IR ที่แคบลงน้อยกว่า1.25 จึงยุติ เดลฟายเป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ มีจุดมุ่งหมายในการทำ generalization ตัวอย่างการใช้งานเช่นต้องการหาข้อสรุปว่าอะไรคือปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการออกข้อสอบปฏิบัติ อนึ่ง เดลฟายเป็นวิธีการรวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณด้วยหลักการทางสถิติมีการสอบทานหลายรอบจนกว่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์

focus group เป็นการใช้พิธีกร (moderator) สัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญพร้อมๆ กันและเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยถกประเด็นสำคัญในเชิงลึกเพื่อหาข้อสรุป Focus group เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายในการทำ specification แต่ไม่เหมาะกับกรณีต้องการข้อมูลผลลัพธ์เชิงสถิติ

ถ้าแค่ต้องการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นแต่ไม่ต้องการหาข้อสรุป เช่น เพื่อเสนอแนะแนวทาง หรือเพื่อหาแนวโน้มของเรื่องหนึ่งๆ ก็ใช้แบบสอบถามแจกไปหรือไปสอบสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม ไม่จำเป็นต้องทำเดลฟายหรือโฟกัสกรุ๊ป

วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2558

นิยามของ IoT

ภาคธุรกิจ จะหมายถึง a network of sensorized embedded systems

http://www.gartner.com/it-glossary/?s=iot

http://community.comsoc.org/blogs/alanweissberger/internet-things-iot-key-messages-part-2-idc-directions-2014-market-survey-abst


ภาควิจัย จะหมายถึง the Internet of sensorized embedded systems

http://theinstitute.ieee.org/static/special-report-the-internet-of-things

http://www.internet-of-things-research.eu/about_iot.htm

ITU's IoT definition (https://www.itu.int/en/ITU-T/gsi/iot/Pages/default.aspx) :
The Internet of Things (IoT) has been defined in Recommendation ITU-T Y.2060 (06/2012) as a global infrastructure for the information society, enabling advanced services by interconnecting (physical and virtual) things based on existing and evolving interoperable information and communication technologies.

Virtual Desktop Infrastructure (VDI)

A Virtual Desktop Infrastructure (VDI) is a desktop-oriented service that hosts user-desktop environments on remote servers and/or blade PCs. Users accessed the desktops over a network using a remote display protocol. A connection-brokering service connects users to their assigned desktop sessions. For users, this means they can access their desktop from any location, without having to use a single client device. Since the resources are centralized, users moving between work locations can still access the same desktop environment with their applications and data. For IT administrators, this means a more centralized, efficient client environment that is easier to maintain and able to respond more quickly to the changing needs of the user and business. --wikipedia

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

สัญโญชน์

ภิกษุทั้งหลาย ! สังโยชน์ ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่สิบประการอย่างไรเล่า ? สิบประการ คือ :-

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ สักกายทิฏฐิ=ความยึดถือว่ากายเป็นของตนวิจิกิจฉา=ความลังเลสงสัย, สีลัพพตปรามาส=การเชื่อในความขลัง ความศักดิสิทธิ การบันดาล, กามฉันทะ=ความพอใจในรูปรสกลิ่นเสียงสัมผัส, พยาบาท

เหล่านี้ คือ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 

อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?

คือ รูปราคะอรูปราคะมานะอุทธัจจอวิชชา

เหล่านี้คือ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ.

 

ภิกษุ ทั้งหลาย เหล่านี้แล สังโยชน์ ๑๐ ประการ.

คู่มือโสดาบัน หน้า ๑๒๗  

(ไทย) ทสก. อํ.  ๒๔/๑๖/๑๓

(บาลี) ทสก. อํ.  ๒๔/๑๘/๑๓

สังโยชน์ในอริยบุคคล

[๘๖] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมที่เยี่ยม คือ” 

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคล คือ

พระผู้มีพระภาคทรงทราบบุคคล ด้วยมนสิการโดยชอบเฉพาะพระองค์ว่า

บุคคลนั้น เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมในกาลเบื้องหน้าเพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป 

บุคคลนั้น เป็นสกทาคามี (กลับมาคราวเดียว) จะมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะทำสังโยชน์ ๓ อย่างให้สิ้นไป และเพราะ มีราคะ โทสะ โมหะ เบาบางน้อยลง … 

บุคคลนั้น เป็นโอปปาติกะอานาคามี (ไม่ต้องกลับมาอีก) จะปรินิพพานในภพนั้น เพราะทำสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่างให้สิ้นไป 

บุคคลนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ …

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! นี้เป็นธรรมที่เยี่ยม ในฝ่ายวิมุตติญาณของบุคคลอื่น …”

[๙๒ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! 

เมื่อข้าพระองค์   ถูกเขาถามอย่างนี้  ตอบอย่างนี้ จะนับว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว แลหรือไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง   แลหรือชื่อว่าแก้ไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม แลหรือทั้งการโต้ตอบอันมีเหตุอย่างไรๆ มิได้มาถึงสถานะอันควรติเตียน แลหรือ ? …” 

ถูกแล้ว สารีบุตร ! เมื่อเธอถูกเขาถามอย่างนี้ แก้อย่างนี้ นับว่า เป็นผู้กล่าวตามที่เรากล่าวแล้วทีเดียว ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง ชื่อว่า   กล่าวไปตามธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการโต้ตอบ อันมีเหตุอย่างไรๆ ก็มิได้มาถึงสถานะ อันควรติเตียน    

(ไทย) ปาที๑๑/๘๓/๘๖. 

(บาลี) ปาที๑๑/๑๑๗/๘๖.

อานิสงส์ของการทรงจำคำพระศาสดาได้

สรุป แม้หลงลืมสติขณะตายหรือไม่มีโอกาสทำอานาปานสติตอนตาย จะเกิดเป็นเทวดา และบรรลุธรรมได้ในภพเทวดานั้น บรรลุธรรมคือเป็นโสดาบันขึ้นไป

http://faq.watnapp.com/th/practice/84-new-practice/94-01-01-0060
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืมเมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ     
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ (ตอนตาย)

ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อม ไม่ปรากฏแก่เธอผู้มี ความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่าเสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่าเสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ     
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อมแสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่าในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้น ย่อมบรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์ เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่าเสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่าเสียงสังข์ทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิอันบุคคลพึงหวังได้ ฯ      
อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตรก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิดทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้นฤทุกข์ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกันบางครั้งบางคราวในที่บางแห่ง สหายคนหนึ่งพึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราระลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน
ดูกร ภิกษุทั้งหลายนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจแทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ อันบุคคลพึงหวังได้ ฯ
(ภาษาไทย) จตุกฺก. อํ.  ๒๑/๑๗๘/๑๙๑

อานิสงส์แห่งอานาปานสติ ๗ ประการ

สรุป ขั้นต่ำคือละสังโยชน์ห้าได้เป็นพระอนาคามีและจะบรรลุหลังจากไปเป็นพรหมชั้นสูงสุด
สรุปเพิ่มเติมจาก Youtube: สมถและวิปัสนา ในส่วนของ สมถ คือการรู้ลมหายใจ ถ้าทำสมถขณะตายจะไปเป็นเทวดาปุถุชนยังไม่บรรลุ ส่วน วิปัสนา คือเห็นเกิดดับของขันธ์ต่างๆ ถ้าทำวิปัสนาขณะตายจะบรรลุได้

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติอันบุคคลเจริญ กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ ภิกษุไปแล้วสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตาม นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ
ตั้งกายตรง ดำรง
สติเฉพาะหน้า เธอนั้น มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก :

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว,
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว;

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น,
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจออก”;

เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิต
ให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่
หายใจออก”;
เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


เธอย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจเข้า”,
ว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ หายใจออก”;


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.


ภิกษุ ทั้งหลาย. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว
อยู่อย่างนี้ ผลอานิสงส์ ๗ ประการ

ย่อมเป็นสิ่งที่หวังได้.

ผลอานิสงส์ ๗ ประการ เป็นอย่างไรเล่า ?
ผลอานิสงส์ ๗ ประการ คือ :-

๑. การบรรลุอรหัตตผลทันทีในปัจจุบันนี้.
๒. ถ้าไม่เช่นนั้น ย่อมบรรลุอรหัตตผลในกาลแห่งมรณะ.
๓. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอันตราปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ถึงกึ่ง =>ในภพที่เป็นอนาคามีแล้วเพราะละสัญโญชน์5ได้แล้ว ดูโพสต์ 
สังโยชน์ในอริยบุคคล 07/03/58).
๔. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอุปหัจจปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานเมื่อใกล้จะสิ้นอายุ).
๕. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมากนัก).
๖. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายี (ผู้จะปรินิพพานโดยต้องใช้ความเพียรมาก).
๗. ถ้าไม่เช่นนั้น เพราะสิ้นโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕
ย่อมเป็นอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี (ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ คือพรหมชั้นสูงสุด).

ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ผลอานิสงส์ ๗ ประการ
เหล่านี้ ย่อมหวังได้ ดังนี้.

ทุติยผลสูตร มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๗/๑๓๑๔ - ๑๓๑๖.

กษุ ท. ! อานาปานสติ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ภิกษุ ท. ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้วอยู่อย่างนี้
ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ ; คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่าถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี.
มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๖ - ๓๙๗/๑๓๑๑ -- ๑๓๑๓.

อานิสงส์ของการได้ยินได้ฟังพุทธวจนขณะตาย

สรุป ขณะตายถ้าได้ฟังหรือนึกถึงพระสูตรที่ท่องได้คล่องด้วยตนเอง (แม้จะมีความเจ็บปวดมากก็ต้องพยายามตั้งใจฟังพระสูตรให้ได้)ถ้ายังละสังโยชน์ห้าไม่ได้ก็จะละได้และเป็นอนาคามีคือเกิดเป็นชาติสุดท้าย และเมื่อตายแล้วผิวพรรณจะผุดผ่อง แต่ถ้าละสังโยชน์5ได้ก่อนอยู่แล้วและนึกถึงพระสูตรได้ขณะตาย ก็จะเข้าสู่นิพพาน:

http://faq.watnapp.com/th/other/86-daily-life/417-05-02-0038

ดูกรอานนท์  อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้  ๖ ประการเป็นไฉน

ดูกร อานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น  ดูกรอานนท์  นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ    

อีก ประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕  ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น  ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

        อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕  ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ฯ     

ดูกร อานนท์ จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่ เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

        อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น  ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ

        อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต และย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร  ๖ ประการนี้แล ฯ

(ภาษาไทย) ปญฺจก. อํ.  ๒๒/๓๔๓/๓๒๗  คลิกดูพระสูตร

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

อายุสัตว์นรกแต่ละขุม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อาจอยู่ภิกษุ แล้วได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เปรียบเหมือน หนึ่งเกวียนเมล็ดงาของชนชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ ขารี (1 เกวียน) เมื่อล่วงไปแสนปี บุรุษนำ เอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งออกจากเกวียนนั้น 

ดูกรภิกษุ เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น พึงถึงความสิ้นไปหมดไปโดยทำนองนี้ เร็วกว่านั่นยังไม่ถึงหนึ่งอัพพุทะในนรกเลย

ภิกษุทั้งหลาย !

๒๐ อัพพุทนรก เป็น       ๑ นิรัพพุทนรก

๒๐ นิรัพพุทนรก เป็น     ๑ อัพพนรก

๒๐ อัพพนรก เป็น         ๑ อหหนรก

๒๐ อหหนรก เป็น          ๑ อฏฏนรก

๒๐ อฏฏนรก เป็น          ๑ กุมุทนรก

๒๐ กุมุทนรก เป็น          ๑ โสคันธิกนรก

๒๐ โสคันธิกนรก เป็น    ๑ อุปลกนรก

๒๐ อุปลกนรก เป็น        ๑ ปุณฑรีกนรก

๒๐ ปุณฑรีกนรก เป็น    ๑ ปทุมนรก

อย่างนี้ ก็โกกาลิกภิกษุอุบัติในปทุมนรก เพราะจิตคิดอาฆาตใน      สารีบุตรและโมคคัลลานะ.

หนังสือภพภูมิ หน้า ๘๙

(ไทย) ทสก.อํ. ๒๔/๑๔๗/๘๙ 

(บาลี) ทสก.อํ. ๒๔/๑๘๑/๘๙