วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Enterprise Architecture (EA)

A discipline to align business and IT. Its motivation is that organizations were finding that increasingly expensive and complex IT systems are not meeting business needs. Principle and components of EA are shown here.


วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Neuro Fuzzy

ANFIS (Adaptive Neuro Fuzzy Inference System) เกิดจากการหลอมรวม 2 แนวคิดดังนี้

1. Fuzzy ใช้ในการตัดสินใจโดยการประมาณ (คือเป็น estimator ซึ่งเป็นการเลียนแบบการตัดสินใจบนความรู้สึกของมนุษย์) ทำให้มีค่าจริงเท็จได้หลายค่าระหว่าง 0 กับ 1 (เช่น partial truth นอกเหนือจาก completely truth,1 และ completely false,0) การตัดสินใจจะใช้ fuzzy rules ที่อยู่ในรูปแบบ if-then ช่วย โดยที่ในเงื่อนไข if ประกอบด้วยค่าระหว่าง 0 & 1 ได้ เช่น อุ่นมาก อุ่นกลาง ร้อนน้อย

เมื่อใดควรใช้ Fuzzy เมื่อการตัดสินใจเป็นแบบ estimation (i.e., fuzzy rules e.g. ถ้าอุณภูมิสูงและโวลต์สูงก็เข้าโหมดการชาร์ตแบบ slow)

ในการเอา fuzzy system ไปใช้กับ exact values ต้องใช้ fuzzifier และ defuzzifier ช่วย
- Fuzzifier decides how the crisp input will be converted into a fuzzy input to be used by the inference engine. ตัวอย่าง fuzzifier เช่น singleton fuzzifier,Gaussian fuzzifier, Triangular fuzzifier (A(u) = (1- |u1-u1*|/b1)*…* (1- |un-un*|/bn) โดยที่ u คือค่าที่จะถูก fuzzified).
- Defuzzifier decides how to convert the fuzzy result from the inference engine back into a crisp value.

ในกรณีที่ fuzzy rules มีตัวแปรในเงื่อนไข if ที่ต้องใช้ในการตัดสินใจเป็นจำนวนมาก จะทำให้ fuzzy rules ซับซ้อนมาก จึงใช้ MLP มาช่วย โดยนำตัวแปรเงื่อนไขเหล่านั้นป้อนเข้า MLP ให้ช่วยเรียนรู้สร้าง fuzzy rules ให้ และช่วยตัดสินใจให้ว่า then อะไร

2. การนำ Neural network ซึ่งมีความสามารถในการเป็น universal approximator มาบูรณาการเข้าไปทำให้สามารถสร้าง fuzzy rules ที่ซับซ้อน (เช่น nonlinear rules) ได้ทุกรูปแบบครอบจักรวาล (จึงเรียกว่า universal) ได้อย่างอัตโนมัติจากตัวอย่างข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ในอดีต
ผลลัพธ์คือ neuro fuzzy ที่มีความสามารถในการเป็น universal estimator ซึ่งเหมาะในการนำไปใช้ตัดสินใจหลายสิ่งที่เกี่ยวกับธรรมชาติที่ไม่ใช่โลกแห่ง digital ที่มีแค่ 0 กับ 1

Original paper of ANFIS is proposed by Prof. Jyh-Shing Roger Jang

Data mining introduction

ไม่ได้มุ่งเน้นการเรียกดูข้อมูลด้วยเงื่อนไขต่างๆ แบบ SQL (+where clause) แต่มีวัตถุประสงค์การใช้งานต่อไปนี้
  • Automatic discovery of patterns
  • Prediction of likely outcomes
  • Creation of actionable information
  • Focus on large data sets and databases
สรุปคือใช้หาแบบอย่างหรือพยากรณ์โดยอาศัยแบบอย่างที่ค้นพบจากหลายฐานข้อมูล
(Ref.: https://docs.oracle.com/cd/B28359_01/datamine.111/b28129/process.htm#CHDFGCIJ)

ขั้นตอนการทำ data mining โปรดดู http://webdocs.cs.ualberta.ca/~zaiane/courses/cmput690/notes/Chapter1/

Data mining big picture diagram
http://www.saedsayad.com/data_mining_map.htm

























วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

มาตรการ QE ญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ใช้มาตรการ QE ในปี 2001 ถึง 2006

ต่อมาปี 2014 ใช้อีกครั้งเพื่อพยายามสร้างภาวะเงินเฟ้อเพราะปัจจุบันประสบปัญหาเงินฝืด ของถูก และจะถูกลงเรื่อยๆ ลูกค้าจึงไม่รีบซื้อของ ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย

การใช้มาตรการ QE เป็นการพิมพ์ธนบัตรเพิ่มเพื่อไปซื้อตราสารหนี้ของเอกชน ทำให้เงินในระบบมีมากขึ้น ช่วยป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยแต่ช่วยเงินเฟ้อไม่ค่อยได้

ปัจจุบันญีปุ่นเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 5% เป็น 8% เพราะช่วยแก้หนี้สาธารณะที่ประเทศมีอยู่เยอะมาก