ได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2536 โดยการรวมตัวของกลุ่มสมาชิกสมาคมอุตสาหกรรม ICT ด้านต่างๆ ดังนี้
1. สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (TCT)
2. สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์(CAT)
3. สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย(ATCI)
4. สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(ATSI)
5. สมาคมเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ(INA)
6. สมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทย(ATCM)
7. สมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (TSEP)
8. สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA)
9. สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย(TAGGA)
10. สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย ( ELAT )
11. สมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์เกมไทย ( TGA )
12. สมาคมดิจิทอลคอนเทนท์ไทย ( DCAT )
โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการพัฒนาบุคลากรที่ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และประชาชนทั่วไปให้มีความรู้ความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554
แรงขับและแรงต้าน Cloud computing
Off-premise cloud: economical cost saving + scalability
VERSUS
On-premise cloud: security+IT personal resistance due to control&job loss
VERSUS
On-premise cloud: security+IT personal resistance due to control&job loss
การพูดเพื่อไม่สร้างประโยชน์
พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย
ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
--หลวงปู่ทวด
ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
--หลวงปู่ทวด
วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การแปลหนังสือภาษาอังกฤษ
สำหรับตำราวิชาการถ้าแปลคำต่อคำเพื่อคงไว้ซึ่งลีลาการใช้คำพูดของต้นฉบับอาจจะทำให้อ่านยาก ควรพยายามแปลให้อ่านรู้เรื่องโดยเกลาประโยคใหม่ตามความจำเป็น ชื่อเฉพาะก็เขียนคำอ่านเป็นภาษาไทยและใส่ภาษาอังกฤษไว้ในวงเล็บ การใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตฯ ก็ต้องรู้จักอลุ่มอล่วยทั้งหมดทั้งปวงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการอ่านได้นั่นเอง
วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ความหมายของ"ธรรมะ"
1.ธรรมชาติ คือ สิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามธรรมดา เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ต้นไป สัตว์ เหล็ก คอมพิวเตอร์
2.ธรรมดา คือ ความเป็นจริงของธรรมชาติหรือความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น ต้นไม้เกิดจากเมล็ดหรือการต่อกิ่งโตด้วยปุ๋ยอากาศแสงแดดและน้ำ มนุษย์เกิดขึ้นมาก็ต้องตายในที่สุด เหล็กที่อุณภูมิห้องจะมีสภาพเป็นของแข็ง คำว่าสัจธรรมมักเป็นคำพ้องของคำว่าธรรมชาติและบางครั้งของธรรมดา
3.ธรรมจริยา คือ มนุษย์เป็นธรรมชาติและอยู่ภายใต้กฎธรรมดา มนุษย์ที่ต้องการชีวิตที่ดีก็ต้องปฏิบัติถูกต้องสอดคล้องกับธรรมชาติและธรรมดานั่นคือข้อพึงปฏิบัติของมนุษย์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติและธรรมดาเพื่อให้ได้ประโยชน์ เช่น การใช้ไฟซึ่งเป็นธรรมชาิติและเกิดจากเชื้อเพลิงและมีความร้อนซึ่งเป็นธรรมดา เมื่อนำมาใช้หุงข้าวโดยไม่ลวกตนเองก็คือข้อปฏิบัติที่เรียกว่าธรรมจริยา หน้าที่ ศีล สมาธิ ปัญญา ล้วนเป็นธรรมจริยา
4.ธรรมเทศนา คือ ความจริงที่มีอยู่แล้วถูกค้นพบโดยพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนต่างๆ ที่เป็นสื่อไปถึงความหมายของธรรมะใน 3 ความหมายแรก
--ปอ.ปยุตโต
2.ธรรมดา คือ ความเป็นจริงของธรรมชาติหรือความเป็นไปของธรรมชาติ เช่น ต้นไม้เกิดจากเมล็ดหรือการต่อกิ่งโตด้วยปุ๋ยอากาศแสงแดดและน้ำ มนุษย์เกิดขึ้นมาก็ต้องตายในที่สุด เหล็กที่อุณภูมิห้องจะมีสภาพเป็นของแข็ง คำว่าสัจธรรมมักเป็นคำพ้องของคำว่าธรรมชาติและบางครั้งของธรรมดา
3.ธรรมจริยา คือ มนุษย์เป็นธรรมชาติและอยู่ภายใต้กฎธรรมดา มนุษย์ที่ต้องการชีวิตที่ดีก็ต้องปฏิบัติถูกต้องสอดคล้องกับธรรมชาติและธรรมดานั่นคือข้อพึงปฏิบัติของมนุษย์ที่สอดคล้องกับธรรมชาติและธรรมดาเพื่อให้ได้ประโยชน์ เช่น การใช้ไฟซึ่งเป็นธรรมชาิติและเกิดจากเชื้อเพลิงและมีความร้อนซึ่งเป็นธรรมดา เมื่อนำมาใช้หุงข้าวโดยไม่ลวกตนเองก็คือข้อปฏิบัติที่เรียกว่าธรรมจริยา หน้าที่ ศีล สมาธิ ปัญญา ล้วนเป็นธรรมจริยา
4.ธรรมเทศนา คือ ความจริงที่มีอยู่แล้วถูกค้นพบโดยพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนต่างๆ ที่เป็นสื่อไปถึงความหมายของธรรมะใน 3 ความหมายแรก
--ปอ.ปยุตโต
ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบโดยสมบูรณ์
คนจนเห็นคนรวยมีทุนมาแต่กำเนิด ถ้าคนรวยทำ 1 คนจนที่มีโยนิโสมนัสสิการก็จะต้องทำให้มากกว่า 1 --ปอ.ปยุตโต
สร้างความสุขในการทำงาน
ให้มองการทำงานเป็นการฝึกพัฒนาตน เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ต้องฝึก งานยิ่งยากยิ่งได้ฝึกมาก สนุกกับการเรียนรู้จากการทำงาน(คิดได้แบบนี้ก็เกิดวิริยะหรือความเพียร เกิดขันติคืออดทนเพื่อแ้ก้ปัญหาให้ได้ เกิดสมาธิเพราะชอบงานที่ทำเพราะเห็นประโยชน์ของงานและถูกกับนิสัย และเกิดปัญญาคือเห็นชัดแจ้งในวิธีการแก้ปัญหา) เห็นความแตกต่างในคน บางคนเข้ามาแบบสว่าง บางคนเข้ามาแบบมืด--ปอ.ปยุตโต
วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554
คาถาเวลานอนไม่หลับ
หายใจเข้าออกภาวนาว่า"หลับก็ช่างไม่หลับก็ช่าง" แม้ไม่หลับพอรุ่งเช้าก็ไม่เครียดเพราะถือว่าได้พักใจแล้วแม้กายอาจไม่พัก--ปอ.ปยุตโต
เหตุปัจจัย
สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย ต้องการผลอย่างไรก็ต้องสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้องของผลนั้นๆ
ปัญญาและทรัพย์
พระพุทธเจ้าตรัสว่าปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ ผู้มีทรัพทย์แต่ขาดปัญญาจะรักษาทรัพทย์ไว้ไม่ได้ ตรงกันข้าม ผู้มีปัญญาแต่ไม่มีทรัพทย์สามารถหาทรัพย์ได้
ทรัพย์ยิ่งใช้ยิ่งหมด ปัญญายิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม
ทรัพย์สินเงินทองเป็นเครื่องเอื้อความสุขแต่มิใช่เป็นเครื่องประกันความสุข
ทรัพย์ยิ่งใช้ยิ่งหมด ปัญญายิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม
ทรัพย์สินเงินทองเป็นเครื่องเอื้อความสุขแต่มิใช่เป็นเครื่องประกันความสุข
การตอบแทนพระคุณพ่อแม่ที่ถูกต้อง
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้ให้บิดามารดาขี่ไว้บนบ่าเลี้ยงดูท่านอย่างดีจนสิ้นชีพก็ยังไม่ใช่ถือว่าเป็นการตอบแทนพระคุณท่าน การตอบแทนพระคุณท่านที่ถูกต้องคือการทำให้บิดามารดาให้เกิดศรัทธา ศีล จาคะ(เสียสละบำเพ็ญประโยชน์) และปัญญา(เข้าใจหลักธรรม) โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554
โรคสมาธิสั้น
หรือ ADHD (Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ลักษณะพฤติกรรมของเด็กที่สมาธิเสียไป อยู่ไม่นิ่ง สามารถสังเกตได้ 3 ลักษณะ คือ 1. สมาธิสั้น ไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิได้นาน เช่น อ่านหนังสือ วาดภาพ 2. อยู่ไม่นิ่ง ซุกซน ซึ่งจะสร้างปัญหาในการดูแลให้กับพ่อ แม่ ครู 3. หุนหันพลันแล่น ซึ่งเกิดจากเด็กไม่มีสมาธิ จึงแสดงพฤติกรรมไปโดยไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ อยากทำอะไรก็จะทำเลย และหากโดนขัดใจ ก็จะแสดงพฤติกรรมหงุดหงิด และจะเกิดเป็นปัญหากับคนรอบข้างตามมาเพราะความไม่เข้าใจ ซึ่งการวินิจฉัยจะต้องดูหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน ไม่สามารถสรุปได้เลยเพียงแค่ดูอาการ 3 ประการนี้ ควรสังเกตอาการและตัดสินใจในช่วงวัยประถมจะเหมาะสมที่สุด หากเป็นในช่วงวัยอนุบาล ความซุกซนอยู่ไม่นิ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ
โรคสมาธิสั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ส่วนระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับว่ามีเรื่องอื่นแทรกซ้อนหรือไม่เพราะบางรายพบโรคอื่นโดยเฉพาะโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ไม่สามารถเขียนได้ หรือเรียนรู้ช้า บางรายจึงต้องแก้ไขปัญหาหลายๆอย่างไปพร้อมกัน นอกจากยาแล้วอาจต้องใช้การปรับพฤติกรรมร่วมด้วย--ไทยรัฐ
โรคสมาธิสั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่ควรได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องโดยการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง ส่วนระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับว่ามีเรื่องอื่นแทรกซ้อนหรือไม่เพราะบางรายพบโรคอื่นโดยเฉพาะโรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) ไม่สามารถเขียนได้ หรือเรียนรู้ช้า บางรายจึงต้องแก้ไขปัญหาหลายๆอย่างไปพร้อมกัน นอกจากยาแล้วอาจต้องใช้การปรับพฤติกรรมร่วมด้วย--ไทยรัฐ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)