วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554
อุปกิเลส 16
กิเลส หรือเครื่องเศร้าหมองของจิต มีตัวหลักอยู่ 3 ตัว คือ
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหนเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
--http://www.oknation.net/blog/Nirvana-Thailand/2008/10/10/entry-1
- โลภะ คือ ความโลภ ความอยากได้ ความเพลิดเพลินยินดี ความยึดเหนี่ยวทางใจ
- โทสะ คือ ความโกรธ ความขัดเคืองใจ ความเศร้า ความเสียใจ ความกลัว ความทุกข์ทางใจทั้งหลาย
- โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้ธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง อวิชชา
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมเหล่าไหนเป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต [คือ]
- อภิชฌาวิสมโลภะ [ละโมบไม่สม่ำเสมอ คือความเพ่งเล็ง] (คืออยากได้ของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน โดยไม่ถูกทำนองคลองธรรม - ธัมมโชติ)
- โทสะ [พยาบาท ปองร้ายเขา]
- โกธะ [โกรธ]
- อุปนาหะ [ผูกโกรธไว้ มีโอกาสเมื่อไหร่เอาคืน]
- มักขะ [ลบหลู่คุณท่าน ไม่รู้จักบุญคุณคน]
- ปลาสะ [ยกตนเทียบเท่า ไม่รู้ที่สูงที่ต่ำ] (คือการตีเสมอผู้อื่น คิดว่าเราก็แน่เหมือนกัน - ธัมมโชติ)
- อิสสา [ริษยา]
- มัจฉริยะ [ตระหนี่ ไม่ใช้แม้ในสิ่งจำเป็น]
- มายา [มารยา เจ้าเล่ห์]
- สาเฐยยะ [โอ้อวด] (คือการพูดยกตนด้วยสิ่งที่ไม่เป็นจริง - ธัมมโชติ)
- ถัมถะ [หัวดื้อ ว่านอนสอนยาก ยึดความคิดตัวเองมากจนเกิดปัญหาเมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น]
- สารัมภะ [แข่งชิงดีชิงเด่น]
- มานะ [ถือตัว สำคัญว่าตนสูงยิ่งใหญ่]
- อติมานะ [ดูหมิ่นผู้อื่นว่าต้อยต่ำ ไม่เก่ง น่าเกลียด]
- มทะ [มัวเมากับรูป รส กลิ่น เสียง อบายมุข]
- ปมาทะ [เลินเล่อ] (ความประมาท ความเผลอ ความขาดสติ - ธัมมโชติ)
--http://www.oknation.net/blog/Nirvana-Thailand/2008/10/10/entry-1
วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554
การปล่อยวาง
คือไม่ทุกข์ไปกับสิ่งไม่ชอบใจ แต่ไม่ได้หมายความว่านิ่งเฉยวางทุกอย่างไม่พยายามทำอะไรทั้งสิ้น ที่ถูกคือต้องพยายามทำให้ดีให้ถูกให้ควรที่สุด จากนั้นหากผลไม่เป็นไปตามต้องการต้องปล่อยวางไม่ไปทุกข์กับมัน
วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554
เหตุใดบรรพชิตไม่ควรเป็นคนรับใช้ของคนอื่น
พระพุทธเจ้าสอนว่าบรรพชิตไม่ควรเป็นคนรับใช้ของคนอื่นเพราะไม่เหมาะสมและอาจโดนสั่งให้ทำกรรมชั่ว
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นผู้มีศีลหรือปัญญา
- มีศีลหรือไม่ รู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน
- มีปัญญาหรือไม่ รู้ได้ด้วยการสนทนากัน
วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554
สิ่งรบกวนขณะเจริญภาวนา
เช่น ขณะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิแล้วได้ยินเสียงหรือมีลมมากระทบ จิตน้อมไปฟังเสียงหรือรู้ลมแล้ว ให้ไปกำหนดรู้ว่ามีเสียงมากระทบหูหรือลมกระทบผิว อย่าบังคับจิตให้มาอยู่ที่การเดินหรือลมหายใจ มิเช่นนั้นจะไม่ใช่วิปัสสนา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)