วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

องค์ประกอบของพระพุทธศาสนา

  • ในมุมมองแรกประกอบด้วย ธรรมะ (ความจริงที่มีอยู่แล้วและพระพุทธเจ้าค้นพบและแสดงไว้) + พระวินัย (บัญญัติเพื่อความสันติสุข) โดยวินัยอุปมาเหมือนแก้วใส่น้ำดื่มและธรรมะอุปมาเหมือนน้ำในแก้วสำหรับดื่ม
  • ในอีกมุมมองหนึ่งพระพุทธศาสนาประกอบด้วย ปริยัติ (คือชื่อเรียกคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้), ปฎิบัติ (ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้), และปฏิเวธ (เป็นความรู้ทะลุตลอดที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป)

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระสูตรกับพระอภิธรรม

พระสูตรจะยึดบุคคลและเหตุการณ์เป็นหลัก ส่วนพระอภิธรรมจะเป็นหลักธรรมล้วนๆ หรืออาจคัดลอกมาจากพระสูตรบางบทที่ลึกซึ้งอยู่แล้วก็มี

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่ถูกต้อง

ไม่ได้หมายถึงการเพิกเฉยต่อสิ่งอันสมควรทุกอย่าง เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าหรือจีวรสกปรกที่ไม่ซักหรือแม้แต่ไม่สวมเสื้อผ้าโดยอ้างว่าไม่ยึดติด เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเพราะเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีต่อบุคคลรอบข้าง และแท้จริงความคิดเช่นนี้ถือเป็นการยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น ความไม่ยึดมั่นที่ถูกต้อง หมายถึง ไม่สุขทุกข์ไปกับสิ่งรอบข้าง แต่ยังคงต้องรักษาและปฎิบัติหน้าที่ตนเองให้ถูกให้ควร --ปอ.ปยุตโต

สรุปโดยผู้เรียบเรียงว่า "ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่ถูกต้องคือการไม่หลงไปยึดมั่นกับความไม่ยึดมั่นถือมั่น"

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

พระพุทธไม่ได้ศักดิ์สิทธิ

แต่ความศักดิ์สิทธิเกิดจากเทวดาที่ปกปักษ์คุ้มครองพระพุทธรูปนั้น--ปอ ปยุตโต

การเคารพ

มงคลสูตรกล่าวว่าบูชาคนที่ควรบูชา ซึ่งได้แก่ ผู้มีศีลหรือคุณธรรมมากกว่า และผู้มีบุญคุณ ทั้งนี้อายุไม่เกี่ยวข้อง เช่น อุบาสิกาที่สูงอายุสามารถไหว้พระสงฆ์ที่อายุน้อยได้เพราะความมีศีลมากกว่า นอกจากนี้ บางครั้งเราอาจไหว้หรือแสดงความเคารพด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งต่อบุคคลที่เราต้องการความเมตตากรุณาจากเขาผ่านความอ่อนน้อม

วัฒนธรรมไทยสอนให้เด็กไหว้ผู้ใหญ่เพราะถูกสอนต่อๆ กันมา ไม่ใช่ไหว้เพราะคิดพิจารณาแล้วด้วยปัญญาขัดกับหลักกาลามสูตร แต่ที่สอนให้ทำๆ กันเช่นนั้นเพราะในโลกโลกีย์ผู้น้อยมักต้องพึ่งผู้ใหญ่ จึงไหว้เพื่อหวังว่าจะได้รับการเมตตา นี่ไม่พิจารณาถึงการไหว้คนวัยเดียวกันที่ไหว้เพราะเป็นการทักทายกันหรือเพื่อให้เกียรติกันและกัน แต่ในโลกุตรซึ่งคือสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ เพราะไม่ใช่กฎเกณฑ์ที่สมมติกันเอง จะไม่ไหว้กันตามอายุ เช่น หากพระพุทธเจ้าไหว้ใครผู้นั้นจะเศียรหลุด แต่ไหว้กันที่ระดับคุณธรรม ซึ่งปกติผู้บวชก่อน พรรษามากกว่าก็จะมีระดับคุณธรรมสูงกว่านั่นเอง ในอีกกรณีหนึ่งที่ควรไหว้คือไหว้เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดาและพี่รวมถึงครูอาจารย์ หรือไหว้เพื่อขอบคุณในสิ่งของหรือน้ำใจความช่วยเหลือที่ได้รับ นอกจากนี้การไหว้ยังเป็นการขอคมาด้วย


ผลกรรมแห่งการเคารพบูชา

ในส่วนที่ไม่ใช่การไหว้ เช่น ภิกษุชรา กับ ภิกษุที่เป็นพระอรหันต์แต่ไม่ชรา พระพุทธเจ้าให้เลือกถวายอาสนะแก่ภิกษุชราก่อน

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันมาฆปูรณมีบูชา

"วันมาฆบูชา" เป็นวันที่ระลึกถึงวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์แก่มหาสังฆสันนิบาตในมณฑลวัดเวฬุวันมหาวิหาร ซึ่งในวันนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการคือ
  1. พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย
  2. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา
  3. พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ และได้อภิญญา 6
  4. วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
โอวาทปาฏิโมกข์ที่เป็นหัวใจพระพุทธศาสนาคือ การละชั่วทั้งปวง ทำดีทุกประการ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้วปราศจากกิเลส --ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/วันมาฆบูชา


18 กุมภาพันธ์ 2554 ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อกุศลและกุศลสามารถเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน

  • กุศลที่เป็นปัจจัยของอกุศล เช่น เมื่อทำบุญแล้วเกิดความเป็นตัวตนดูถูกผู้อื่นที่ไม่ทำบุญ
  • อกุศลที่เป็นปัจจัยของกุศล เช่น องคุลีมารได้ดวงตาเห็นธรรมตอนกำลังตามทำร้ายพระพุทธเจ้า อกุศลที่กำลังทำทำให้ฉุกคิดได้
--ดัดแปลงจากเทศนาธรรมของท่าน ปอ ปยุตโต

    วัฒนธรรมแสวงหาปัญญา

    ไทยเรามีวัฒนธรรมเมตตา ดังจะเห็นได้จากการต้อนรับชาวต่างชาติที่น่าประทับใจ แต่ยังขาดวัฒนธรรมแสวงหาปัญญา ซึ่งเกิดจากการฝึกให้เยาวชนคิดบ่อยๆ เช่น เหตุใดจึงต้องการซื้อของที่ร้องขอจากพ่อแม่ ซึ่งการจะคิดได้หรือการสร้างปัญญาต้องมีข้อมูลที่เกิดจากความจำได้เป็นพื้นฐาน เมื่อคิดเป็นก็ทำให้ระดับการเรียนรู้สูงขึ้น จากแค่จำได้ เป็นเข้าใจทะลุปุโปร่งแบบโยนิโสมนัสิการ นำไปสู่ระดับสอนให้คนอื่นเข้าใจได้ตามที่เราต้องการ และขั้นสูงสุดคือสามารถทำให้ผู้อื่นเชื่อได้--ปอ ปยุตโต

    วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

    ปวารณา

    หมายถึง การตักเตือนซึ่งกันและกันโดยฝ่ายถูกตักเตือนต้องไม่ถือโทษโกรธฝ่ายที่ตักเตือน ปกติพระสงฆ์จะทำการมหาปวารณากันในวันออกพรรษา--ว.วชิรเมธี

    หน้าที่

    ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตน ถ้าไม่ทำหน้าที่ของคนก็ิมิอาจถือว่าเป็นคน ไม่ทำหน้าที่ของครูก็ไม่ถือว่าเป็นครู เป็นต้น