วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

คนลำบาก

คนที่่เอาความสุขไปผูกติดกับวัตถุภายนอกเป็นคนลำบาก อยู่ยาก เพราะต้องมีวัตถุนั้นอยู่กับตัวจึงมีความสุข--ปอ ปยุตโต

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

มนุษย์ต่างดาวในพระพุทธศาสนา

จากหนังสือ ซอกตู้พระไตรปิฏก ที่เล่าถึงภพภูมิต่าง ๆ (จากการบรรยายของท่านอาจารย์วิชิต ธรรมรังษี เรื่องภพภูมิต่าง ๆ ประกอบการบรรยายพระอภิธัมมัตสังคหะ ปริเฉทที่ ๕ วิถีมุตตสังคหวิภาค ในหมวดที่ ๑ ภูมิจตุกะ)


1) อุตตรกุรุทวีป อายุขัย ๑,๐๐๐ ปี มีความเป็นอยู่สุขสบายมาก เพราะเกิดด้วยอำนาจบุญอันแรง คือ ทำบุญแก่กล้ามาก แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ข้าวก็ไม่ต้องปลูก(เมล็ดใหญ่มาก ๆ เมล็ดเดียวอิ่ม) เมื่อเด็ดไป ก็งอกขึ้นมาในวันรุ่งขึ้น ไม่ต้องปรุง ที่นั้นมีหินชนิดหนึ่ง กลางวันให้ความร้อน นำไปปรุงอาหารได้ กลางคืนให้ความสว่าง ใบหน้าของเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดหมด เมื่อจุติจากอุตตรกุรุทวีปจะปฏิสนธิเป็นเทวดาหรือไม่ก็นางฟ้าไปเป็นภูมิรองรับแน่นอนเลย ในชั้นจาตุมหาราชิกาและดาวดึงส์ ๒ ชั้นเท่านั้น เพราะบุญที่ทำไว้นี่แรงมาก แล้วอยู่ที่นั่นมีโมหะ แต่ไม่มีโอกาสทำบาป เมื่อหมดบุญจากเทวดา ส่วนใหญ่จะไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เพราะชีวิตที่เป็นอยู่เป็นโมหะตลอด คนที่นี้ความเป็นอยู่สุขสบาย เพราะว่าเกิดด้วยอำนาจบุญอันแรง คือทำบุญแก่กล้ามาก แต่เป็นบุญที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เช่น ทำบุญสร้างโบสถ์คนเดียวไม่ยอมให้ใครร่วมเลย


2)บุพเพวิทหทวีป อายุขัย ๗๐๐ ปี ใบหน้ารูปทรงบาตรหน้าตัด ชีวิตความเป็นอยู่ต้องดิ้นรน มีแต่ภูเขา ส่วนใหญ่เป็นกลางคืนและมืดมากเนื่องจากได้รับแสงอาทิตย์ค่อนข้างน้อย ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สมสู่กันตลอดเวลา ออกลูกแฝดและเสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่ ตายจากที่นี้จะไปนรกเสียมาก เพราะการเกิดได้ที่บุพพวิเทหทวีปนี่มีปัญญาพอดี แต่เป็นปัญญาทางโลก คือนักวิจัย นักค้นคว้า แล้วก็ไม่มีบุญ เพราะพวกนี้เห็นไหม การทำนี่มันจะต้องทุ่มเทชีวิตอยู่ในห้องวิจัย โอกาสจะแสวงหาบุญก็ไม่มี


3)อมรโคยานทวีป ไม่มีบุญแล้วก็ไม่มีปัญญา ความเป็นอยู่แบบป่าเถื่อน ชอบกินของสด ๆ คาว ๆ ชอบกินเนื้อคน ไม่กินเนื้อสัตว์อื่น ออกลูกแล้วกินลูกตัวเองเป็นอาหาร บางคนต้องหลบหนีไปออกลูกบนเขา สองพวกนี้ คือมนุษย์ในบุพพวิเทหทวีป และ อปรโคยานทวีป ในพระไตรปิฏกไม่ได้อธิบายมากมาย เพราะว่าไม่เป็นเรื่องน่านิยม อุตตรกุรุทวีปนี่เป็นเรื่องน่าศึกษาเพราะไปด้วยบุญและมีโอกาสไปเป็นเทวดา และเผื่อตั้งตนไว้ชอบ ไปเจออาจารย์ดีมันก็มีโอกาสเปลี่ยนจริต ส่วนอีก ๒ ทวีปนั้นมีโมหจริตและวิตกจริตเสียมาก ไม่มีโอกาสที่จะแก้ไข ห่างไกลรัศมีพระธรรม ถึงมีโอกาสเกิดในชมพูทวีป ตอนพระพุทธเจ้าประกาสศาสนาก็จะเป็นพวกเดียรถีย์หรือไม่ก็นิยตมิจฉาทิฏฐิเสียมาก


4) ชมพูทวีป (หนังสือ พระพุทธเจ้าองค์ใหม่ที่จะตรัสรู้ต่อจาก "เจ้าชายสิทธัตถะ" ได้อ้างอิง อมตรสธารา อรรถกถาอนาคตวงศ์ รจนาโดย พระอุปติสสะเถระ พระอรรถกถาจารย์ แห่งลังกาทวีป อธิบายว่า) เป็นทวีปเดียวใน ๔ ทวีปที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเลือกลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอายุขัยของมนุษย์ในชมพูทวีปมีกำหนดไม่แน่นอน มนุษย์ในชมพูทวีปนี้ จึงไม่ประมาทมากนัก พอที่พระพุทธเจ้าจะแสดงพระธรรมเทสนาสั่งสอนให้ตรัสรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ในทวีปอื่นที่เหลืออีก ๓ ทวีป คือ มนุษย์ในบุพพวิเทหทวีป มีอายุยืนได้ ๑๐๐ ปีจึงตาย มนุษย์ในอมรโคยานทวีปมีอายุยืนได้ ๔๐๐ ปีจึงตาย มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีป มีอายุยืนได้ ๑,๐๐๐ ปีจึงตาย และเหตุที่มนุษย์ทั้ง ๓ ทวีปนี้ มีอายุยืนและมีกำหนดแน่นอนเพราะมนุษย์ทั้งหลายมีปกติรักษาศีล ๕ อยู่เสมอ ชมพูทวีปตั้งอยู่ในมหาสมุทรโสณสาคร ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ มีทวีปเป็นเกาะใหญ่ มีสัณฐานเป็นรูปเรือนเกวียนหรือรูปไข่ ใบหน้าของมนุษย์ในทวีปนี้ ก็เป็นรูปไข่ด้วย ทวีปนี้มีไม้ชมพู หรือ ไม้หว้า เป็นไม้ประจำทวีป เหตุนี้จึงเรียกว่า “ชมพูทวีป”

ระยะทาง ระยะเวลาในพุทธศาสนา

  • 20 วา เป็น 1 เส้น 400 เส้น เป็น 1 โยชน์ ดังนั้น 1 โยชน์เท่ากับ 16 กม.
  • 1 อสงไข คืออ ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเถ้าร่างกายของผู้นั้นกองถมกันสูง 1 โยชน์
  • อายุของโลกรอบหนึ่ง (โลกเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) เท่ากับระยะเวลาหนึ่งกัปล์ หรือ กัลป์  คือระยะเวลาที่ใช้ในการนำเมล็ดผักกาดใส่ในหลุมขนาด กว้าง ยาว ลึก  ๑ โยชน์  ทุกๆ ๑๐๐ ปี
  • 1 อสงไข เท่ากับ 10^140 กัปล์

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

ความเพียรชอบ

คือการมีสติ ทำให้ไ่ม่มีกิเลส ไม่มีความอยากได้มรรคผลนิพพาน จึงละอกุศลได้

การตั้งสติที่เป็นกุศล

เฝ้าดูจิต กำลังโกรธก็เห็นว่าโกรธ แต่อย่าไปเกลี่ยดจิตที่กำลังโกรธ อย่าไปอยากให้จิตที่กำลังโกรธหายไป เช่นนี้จิตจึงไ่ม่ขุ่นมัวและผ่องใสขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

อามิสบูชา

อามิสบูชา แปลว่า บูชาด้วยสิ่งของ เช่น
  • ธูปสามดอกใช้บูชาพระพุทธ
  • เทียนบูชาพระธรรม
  • ดอกไม้บูชาพระสงฆ์

สิ่งพึงกระทำเมื่อไปร่วมงานศพ

  1. ปลงชีวิต
  2. ไหว้ศพด้วยธูปหนึ่งดอกเพื่อขออโหสิกรรม สิ่งใดที่เคยล่วงเกินไปทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม