วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หลักปกครอง

วัฒนธรรมตะวันตกลดอัตตาในตัวผู้ใหญ่ แต่ในสังคมเอเชียควรใช้วิถีพุทธคือผู้น้อยเคารพผู้ใหญ่ แล้วผู้ใหญ่จะเอ็นดูผู้น้อย ผู้ใหญ่ย่อมเมตตาต่อผู้น้อยที่ว่านอนสอนง่าย เหินห่างจากคนหัวดื้อว่ายากสอนยากเป็นธรรมดา เมื่อผู้น้อยผิด ผู้ใหญ่ตักเตือนแนะนำพร่ำสอนด้วยรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวเข้าถึงผู้น้อยจนไม่มีช่องว่างเป็นอุบายสำคัญในการปกครอง ผู้ใหญ่สุภาพอ่อนโยน ผู้น้อยก็จะเป็นไปตามที่ละเล็กละน้อย การถ่ายเทนิสัยใจคอนี้เปรียบเหมือนคนจูงม้าเป็นคนขาเขยกจูงม้าไปกินน้ำกินหญ้าทุกวัน ยังทำให้ม้อเป็นม้าขาเกไปได้ ผู้น้อยก็ต้องรู้จักประจบ(คือการมีน้ำใจกับผู้ใหญ่)แต่ไม่สอพลอ(เลียแข้งเลียขาด้วยราคะ)
   ผู้ใหญ่หรือผู้นำที่ดียังต้องรู้ใจของคนอื่นโดยถือเอาใจตนเป็นหลักเปรียบเทียบเสมอ เช่น
  • เราอยากสบาย เขาก็อยากสบาย 
  • เราอยากได้เงิน เขาก็อยากได้เงิน 
  • เราไม่อยากเดือนร้อน เขาก็ไม่อยากเดือดร้อน 
  • เราอยากอย่างไร เขาก็อยากอย่างนั้น 
ดังนั้นควรหาวิธีการเพื่อมิให้ไปขัดกับความต้องการเขา รู้จักผูกใจด้วยสังคหวัตถุสี่ ถ้ายังครองใจกันไม่ได้ด้วยแตกต่างกันในความประพฤติก็ดีความเห็นก็ดี ยากที่จะคล้อยตามเห็นดีเห็นงามกับเรา ต้องเพิ่มเติมคุณสมบัติให้ทัดเทียมกันก่อนด้วย
  1. ให้มีความปราถนาดีต่อกัน
  2. ให้ปรับปรุงความประพฤติให้เข้ากัน
  3. ให้มีความคิดเห็นลงกันด้วยเหตุผล
มิตรสหายหมู่คณะที่มีลักษณะเช่นนี้ทัดเทียมกัน จะเป็นสื่อสัมพันธ์ให้เข้าถึงจิตใจกันและกัน ทำให้กลุ่มสามัคคี มีกำลัง รวมกันเราอยู่ แยกกันเราตาย แยกกันเพราะไม่เสริมสร้างคุณสมบัติให้ทัดเทียมกันดังกล่าวมานี้แล

หลักการเรียน สุ จิ ปุ ริ

  1. สุตะ การฟัง
  2. จินตะ ฟังแล้วคิด
  3. ปุจฉา ถาม
  4. ลิขิต บันทึกเพื่อความจำ
--"อธิบายธรรมในนวโกวาท"

คุณของพรหมวิหาร 4

พรหมวิหารสี่ ประกอบด้วย
  1. เมตตา ความรักใคร่ปราถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข แก้ความโกรธพยาบาท
  2. กรุณา ความสงสารปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
  3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ทำให้สังคมยังมีความดีส่วนรวมปรากฎ ไม่ถูกขัดแข้งขัดขา ช่วยแก้ความอิจฉาริษยา
  4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจหรือเสียใจเมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ วางเฉยด้วยปัญญา เช่น เห็นงูกำลังกินเขียด จะกรุณาตีงูช่วยเขียดก็ไม่ยุติธรรมกับงู จะมุทิตาดีใจที่งูได้อาหารก็ไม่ยุติธรรมกับเขียด จึงควรถืออุเบกขา (สรุปถ้าทำ 1-3 ไม่ได้ ให้ทำ 4)
พรหมวิหารสี่ยังช่วยกำจัดความลำเอียง ตั้งอยู่ในความเ็ป็นธรรม ความลำเอียงหรืออคติสี่ ประกอบด้วย
  1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน
  2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน
  3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
  4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
--"อธิบายธรรมในนวโกวาท"

    ธรรมะอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกันและกัน

    สังคหวัตถุสี่ เป็นหลักสังคมสงเคราะห์ เป็นหลักการผู้ใจกัน ประกอบด้วย
    1. ทาน ให้ปันสิ่งของแก่ผู้ที่สมควร
    2. ปิยวาจา เจรจาที่อ่อนหวาน
    3. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ช่วยเหลือกัน
    4. สมานัตตตา ความเป็นคนมีตนเสมอไม่ถือตัว และวางตนให้เหมาะสม
    --"อธิบายธรรมในนวโกวาท"

      วิธีรวย

      1. ซื้อสินทรัพย์ อย่าซื้อหนี้สิน รถยนต์คือหนี้สิน ยกเว้นนำมาใช้หารายได้อย่างคุ้มค่าเป็นล่ำเป็นสันก็จะกลายเป็นสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ที่คุ้มต้นทุน
      2. ควบคุมกระแสเงินสดให้เป็น รายได้->รายจ่าย->สินทรัพย์->รายได้->รายจ่าย->สินทรัพย์->so on ไม่ควรเป็น รายได้->รายจ่าย->หนี้สิน 
      3. ไม่ติดกับดักการทำงานหนักแล้วไม่รวย
      4. เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมการสร้างรายได้จาก do more get more เป็นปรัชญา Do Less Get More
      5. ถ้าไม่มีเวลาหรือไม่ชำนาญไม่ควรเล่นหุ้นเอง ควรใช้กองทุนรวม
      6. ทำลายความกลัวการสูญเสียเงินที่หามายากลำบาก ไม่มีคนประสบความสำเร็จคนไหนไม่เคยล้มเหลว ปรับแนวคิด high risk high return ให้เป็นสายกลางโดยยอม take risk บ้างแต่ในระดับที่ยอมรับได้หากพลาดพลั้ง เริ่มต้นเรียนรู้ด้วยก้าวเล็กๆ ก่อน
      7. กู้เงินในวงเงินที่แท้จริงเรายังรับภาระได้มาซื้อสินทรัพย์เช่นอสังหาฯ เพื่อขายในราคาที่คุ้มกับดอกเบี้ยเงินกู้ ช่วยรักษากระแสเงินสดเราไว้ใช้ต่อได้ แน่นอนว่าต้องเป็นสินทรัพย์ที่ดีและซื้อในจังหวะที่ดีเห็นโอกาสชัดเจน
      8. ใช้ประโยชน์จากนโยบายภาษี บริษัทเสียภาษีที่คิดจากรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคา แต่ลูกจ้างเสียภาษีจากรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย
      9. สร้างวิสัยทัศน์แห่งการมีอิสรภาพทางการเงิน (= มีทั้งเงินและเวลาใช้เงิน ไม่ใช่มีแต่เงิน) (Financial freedom):
        • นักลงทุน (Invester) ใช้เงินทำงานแทน นิยมลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ การลงทุนเป็นไปเพื่อขยายสินทรัพย์
        • เจ้าของกิจการ (Business owner) ใช้คนทำงานแทน ความสำเร็จเกิดจากการเพิ่มคนทำให้เราทำงานน้อยลง มีเวลาพักผ่อนส่วนตัวมากขึ้ัน ในขณะเดียวกันก็ยังมีรายได้โดยไม่ต้องทำเอง
        • ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัว (Self-employed) คือคนที่ทำงานหนักเพื่อให้ตนเองรวยโดย ใช้ตัวเองทำงาน เป็นผู้เห็นโอกาสในการทำกำไร แต่ถ้าคุณหยุดงานก็หยุด ไม่มีเวลาใช้เงินที่หามาได้อย่างเต็มที่ จึงไม่ใช่หนทางแห่งการสร้างอิสรภาพทางการเงิน
        • ลูกจ้าง (Employee) คือคนที่ทำงานหนักเพื่อให้คนอื่นรวย เป็นผลิตผลจากมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทางที่เป็นเลิศ หรือมุ่งเน้นการผลิตลูกจ้าง การเป็นลูกจ้างข้อดีคือไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงสูง ข้อเสียคือหากไม่สามารถทำงานได้ด้วยเหตุผลใดๆ ก็จะทำให้รายได้ก็จะขาด

      วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

      คุณลักษณะบางประการของ พระธรรม

      • สันทิฏฐิโก : เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
      • ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ : เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน เปรียบเหมือนใครรู้จักเกลือเค็มก็ต้องกินเสียก่อน จะไปถามท่านผู้อื่นว่ารสเค็มเป็นอย่างไรก็ไม่มีวันเข้าใจ
      --สวดมนต์แปลแบบสวนโมกข์ บทธัมมาภิถุติ

      อยู่ด้วยปัญญา ปัญหาไม่มี (สคส 2553 วัดชลประทานฯ)

      ความปล่อยวาง ไม่ใช่ขี้เกียจ ไม่ทำงานทำการ แต่เกี่ยวข้องกับอะไรด้วยปัญญา ไม่หลงมัวเมา ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่จะทำให้เราเกิดความทุกข์ความเดือดร้อนใจ ให้เข้าใจว่าธรรมดามันเป็นอย่างนี้ หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง

      คอยเตือนใจอยู่เสมอว่าการทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนเป็นบาป ควรคิดพูดทำแต่เรื่องที่ดีคนอื่นสบายใจ เผลอๆ มารมันเข้ามารบกวนจิตใจ ให้เราคิดผิด พูดผิด ทำผิดไปบ้าง ก็ให้มีสติรู้ทัน มีปัญญารู้เท่าต่อสิ่งนั้นว่ามันแซงขึ้นมา พอรู้เท่าทัน ความชั่วนั้นก็หยุดแซงทันทีเพราะใจเรานั้นคิดได้ทีละอย่างในช่วงเวลาหนึ่งๆ

      ผู้อยู่ด้วยความรัก ผู้นั้นอยู่กับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ใดอยู่ด้วยความเกลียด ผู้นั้นอยู่กับผีกับมาร อยู่กับพระมีความสุขความเจริญ อยู่กับผีมีความทุกข์ความเดือนร้อน

      พ่อแม่อย่าปลูกฝังความกลัวผีให้เด็ก ต้องอธิบายว่า ผี คือความชั่ว ถ้าหนูดื้อนี่เรียกว่ามีผีอยู่ในตัว ความชั่วคือผี ความดีคือพระ กบว น่าจะพิจารณาไม่อนุญาตให้ฉายหนังประเภทนี้ เพราะเป็นการเพาะนิสัยขี้ขลาดในเรื่องไม่เป็นเรื่อง กลัวเรื่อยไปไม่จบไม่สิ้น ไม่มีประโยชน์ ไม่มีปัญญาเมื่อใดก็ยังกลัวอยู่เมื่อนั้น

      --ดัดแปลงจากพระธรรมเทศนาของหลวงปู่ปัญญาฯ

      การนำหลักธรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันควรอยู่บนทางสายกลาง

      จากประสบการณ์ส่วนตัว เห็นว่าไม่ควรให้สุดโต่งเกินไป ควรปรับใ้ช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และความจำเป็น ให้เราและการงานเราอยู่รอดได้ เช่น การไม่คบคนพาล แต่หากคนพาลคือผู้ร่วมงาน เราก็ยังจำเป็นต้องคบค้าสมาคมเพื่อให้งานเดินได้ หรือฆราวาสจะทำตัวสันโดษเกินไปไม่คบหาเพื่อนฝูงก็ไม่ควร

      พระธรรมวินัยหลายข้อพระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นเพื่อไม่ให้ขัดกับความรู้สึกหรือธรรมเนี่ยมปฏิบัติของชาวบ้านหากมิใช่เรื่องเลยร้าย ทั้งนี้เพื่อคงไว้ซึ่งความศรัทธาทำให้เผยแผ่พระธรรมได้

      เลิกให้เงินขอทาน

      เพราะเป็นการส่งเสริมวงจรอกุศล ตราบใดที่ยังมีคนให้ทาน ตราบนั้นคนจะยังถูกจับไปทำให้พิการเพื่อมาเป็นขอทานขอเงินเรา ลองคิดดูหากคนนั้นเป็นบุคคลที่เรารักจะรู้สึกอย่างไร (ดังเรื่องเล่า ภรรยาหายตัวไปในอินโดฯ มาพบอีกทีถูกตัดแขนกลายเป็นขอทานไปเสียแล้ว) เพราะฉะนั้นเลิกเถิด หยุดคิดเข้าข้างตัวเองว่าทำบุญแล้วไม่ต้องคิดอะไรเราเป็นสุขจากการทำทานก็พอ ควรคิดให้รอบด้านถึงผลกระทบเชิงสังคมในระยะยาว เราและโดยเฉพาะลูกหลานเรายังต้องอยู่ในสังคมนี้ต่อไป จึงควรช่วยกันจรรโลงสังคม หยุดสร้างบุญและบาปโดยรู้เท่าไม่ถึงการ ยิ่งขอทานที่ไม่พิการ (หลวงปู่ปัญญานันทภิกขุเรียกว่าพวกสิ้นคิดเพราะคิดไม่ออกแล้วว่าจะหาเลี้ยงตัวเองอย่างไรทั้งที่ยังมีมือมีเท้าครบ) ถ้าสังเกตได้ว่าว่าเงินที่ได้ไปอาจจะนำไปซื้อเหล้าดื่มก็ยิ่งไม่ควรให้

      วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

      รางวัลรามอน แมกไซไซ หรือ รางวัลแมกไซไซ (Ramon Magsaysay Award)

      ก่อตั้งขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติแก่นายรามอน แมกไซไซ อดีตประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ และเพื่อเป็นแบบอย่างอันดีงามของการอุทิศตนทำงานบริการประชาชนในสังคมประชาธิปไตย เป็นรางวัลแก่บุคคลและนิติบุคคลในเอเชีย ที่ประสบความสำเร็จอันดียิ่งในแต่ละสาขา
      • บริการรัฐกิจ (Government Service)
      • บริการสาธารณะ (Public Service)
      • ผู้นำชุมชน (Community Leadership)
      • วารสารศาสตร์,วรรณกรรม และศิลปะการสื่อสารเชิงสร้างสรรค์ (Journalism, Literature and Creative Communication arts)
      • สันติภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ (Peace and International Understanding)
      • ผู้นำในภาวะฉุกเฉิน (Emergent Leadership)
      รางวัลแมกไซไซนั้น ถือเสมือนหนึ่งรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพของเอเชียเลยทีเดียว

      ทำดีไม่ต้องดูฤกษ์

      "ทำดีไม่ต้องดูฤกษ์ ทำเมื่อไรดีเมื่อนั้น" -- พระธรรมโมลี เจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์

      ระดับของสมรรถภาพทางด้านความรู้ความคิด (Cognitive Domain)

      พุทธิพิสัย (cognitive domain) ของคนประกอบด้วยความรู้ตามระดับต่าง ๆ รวม 6 ระดับ มาจาก Bloom's Taxonomy ซึ่งอาจพิจารณาจากระดับความรู้ในขั้นพื้นฐานไปสู่ระดับของความรู้ในระดับที่สูงขึ้นไปดังต่อไปนี้

      1. ความรู้ (Knowledge) เป็นการทำงานขั้นต่ำสุดของสมอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เน้นถึงการจำ เน้นคำถาม WHAT โดยไม่มีการประยุกต์ใช้ เช่น เมืองหลวงของไทยชื่ออะไร
      2. ความเข้าใจ (Comprehension) เน้นคำถาม WHY เป็นความสามารถในการแปลความหมาย หรือการขยายความสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
      3. การนำไปใช้ (Application) เป็นการนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ของสมองเพื่อแก้ปัญหา ทดลอง คำนวณ  ทำให้สมบูรณ์ ตรวจสอบ หรือค้นพบ   โดยให้ ใช้ข้อมูล ใช้กฎ ใช้ทฤษฎี แสดง คำนวณ ทดสอบ แก้ปัญหา ค้นหา เปลี่ยน ขยายความ
      4. การวิเคราะห์ (Analysis) เป็นการใช้สมองซีกซ้ายเป็นหลัก เป็นการคิดเชิงลึก จำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แจกแจงรายละเอียดของส่วนประกอบเหล่านั้น เพื่อหาความสัมพันธ์ จัดโครงสร้างความสัมพันธ์ หรือเพื่อรู้ความแตกต่าง เปรียบเทียบความเหมือนความต่าง ข้อดี ข้อเสีย
      5. การประเมิน (Evaluation) เป็นการคิดตัดสินใจ ตัดสินเกี่ยวกับความคิด ค่านิยม ผลงาน คำตอบ วิธีการและเนื้อหาสาระเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยใช้ข้อมูลเปรียบเทียบกับมาตรฐานหรือเกณฑ์ (criteria) เป็นทักษะการคิดชั้นสูง โดยให้ เปรียบเทียบ หาคุณค่า จัดลำดับ สร้างทางเลือก สนับสนุน สรุปความ เป็นทักษะการคิดขั้นสูงเพราะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ การนำไปปรับใช้ การวิเคราะห์เข้ามาพิจารณาประกอบกันเพื่อทำการประเมิน
      6. การสังเคราะห์ (Synthesis) เป็นความสามารถในการรวบรวมส่วนประกอบย่อย ๆ หรือส่วนใหญ่ ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เป็นเรื่องราวอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังเคราะห์จะมีลักษณะของการเป็นกระบวนการรวบรวมเนื้อหาสาระของเรื่องต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างที่ยังไม่ชัดเจนขึ้นมาก่อน นั่นคือการร้อยเรียงเพื่อสรุป การสังเคราะห์ยังเป็นการคิดใหม่ ประดิษฐ์สิ่งใหม่ จากการรวบรวมส่วนประกอบย่อยจนกลายเป็นสิ่งใหม่ที่มีเอกลักษณ์และคุณสมบัติต่างไปจากเดิม หรือคิดสร้างแนวคิดใหม่ โดยให้ สร้างใหม่ จัดระเบียบ ทำให้เป็นรูปแบบทั่วไป –หาสูตร วางแผน เขียนใหม่ในรูปอื่น 
      การศึกษาในระดับ ป.ตรี จะเน้นข้อ 1-3 เพื่อสร้างทักษะในการประกอบวิชาชีพและพื้นฐานความรู้ภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ป.โท จะเน้นข้อ 1-4 ป.เอก เน้นข้อ 6 ส่วนข้อ 5 เกิดกับผู้มีประสบการณ์ข้อ 4 มาก

        ราคาน้ำมันที่ต่างกันของแต่ละปั๊ม

        คำถาม: ทำไมราคาน้ำมันของสถานีบริการมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย อยากทราบว่า อะไรเป็นปัจจัยหลักในการที่สถานีน้ำมันใช้ในการกำหนดราคาต่อผู้บริโภค
        คำตอบ:การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันหน้าสถานี ถูกปรับเปลี่ยนโดยบริษัทน้ำมันต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามกลไกราคาน้ำมันตลาดของโลกที่มีนัยสำคัญ การแข่งขันของแต่ละท้องถิ่น บวกกับราคาขนส่งไปยังแต่ละสถานี ซึ่งส่วนใหญ่ บริษัทน้ำมันทั่วไปจะใช้อัตราขนส่งที่กำหนดโดยสำนักงานพลังงานแห่งชาติ --http://www.ptit.org/