วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)

การเลือกวิธีการวิจัยแบบใดไปใช้จึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้วิจัยว่าต้องการคำตอบลักษณะใด เช่น หากต้องการทราบสาเหตุการลาออกของพยาบาลก็ควรใช้การวิจัยเชิงคุณภาพอันได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึกมากกว่าการทำวิจัยแบบเชิงปริมาณ นอกจากนี้การประเมินการทำงานของโครงการฯก็อาจใช้การวิจัยเชิงคุณภาพได้ด้วย กล่าวโดยสรุปคือการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลแนวลึกซึ่งการศึกษาเชิงปริมาณไม่สามารถตอบได้


ตัวอย่างงานวิจัยเชิงคุณภาพ
1. การวิจัยเพื่อหาวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานจากการดูดเสมหะน้อยที่สุด งานวิจัยนี้ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกว่าผู้ป่วยมีความรู้สึกต่อขั้นตอนต่างๆเมื่อได้รับการดูดเสมหะอย่างไร การใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในกรณีนี้ทำให้ทราบถึงความรู้สึกในด้านลึกของผู้ป่วยต่อการรักษาดังกล่าว ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบการสำรวจไม่อาจเข้าถึงคำตอบที่แท้จริงของผู้ป่วยได้
2. การวิจัยเพื่อหาสาเหตุที่การควบคุมอุณหภูมิกายในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บต่อระบบประสาทไม่ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้ใช้ “Clinical model” และวิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม (participate observation) ผลงานวิจัยพบว่าสาเหตุที่อุณหภูมิร่างกายไม่ลดลง เนื่องจากผู้ป่วยไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ตอนกลางคืนผู้ป่วยมักถูกรบกวนจากพยาบาลที่เข้ามาวัดไข้ ทุกๆชั่วโมง ผลงานวิจัยนี้นำไปสู่การปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมในที่สุด
--คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส (8)

...
ที่ขยัน ขันแข็ง ในหน้าที่
ทุกแห่งมี ธรรมะ ข้อใหญ่ๆ
...
ดูให้ดี ธรรมะมี ที่การงาน
ทั้งที่วัด ที่บ้าน ย่านวิถี
ตามทุ่งนา ป่าเขา คราวทำดี
ก็อาจชี้ ให้เห็นธรรม ตามตัวคน
(เมื่อบกพร่อง ในหน้าที่ ไม่มีธรรม)

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส (7)

สติสัตว์ ตามบัญญัติ ว่า สมปฤดี
เพียงเท่านี้ มีกันได้ ไม่แปลกหนา
เพียงไม่เมา ไม่สอบ ไม่นิทรา
คนหรือปลา ก็มีได้ ไม่แปลกกัน

สติมนุษย์ สูงสุด กว่านั้นนัก
มีปัญญา อันประจักษ์ ประจวบมั่น
ระลึกอยู่ รู้สึกอยู่ และรู้ทัน
ไม่มีวัน ที่จะเกิด กิเลสมา

ระลึกได้ ทันที ที่มีอะไร
มาปรุงให้ เกิดจิต จริตบ้า
ว่าตัวกู หยุดอยู่ รู้ธรรมดา
นี้เรียกว่า สติของ มนุษย์แท้

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส (6)

ตอนเป็นเด็กๆ คุณก็อยาก ดี
ต่อมาไม่กี่ปี คุณกลายเป็นอยากดัง
ใครเตือนก็ไม่อยากฟัง คุณอยากเด่น
ไม่แคร์ใครเขาเขม่น คุณอยากโ่ด่ง
เริ่มรู้จักบิดพลิ้วคดโกง คุณอยากดื้อ
ต่อมาอีกไม่กี่มื้อ คุณอยากโดด
พระเจ้าไม่โปรด คุณก็ต้องอยากดับ
พระเจ้าไม่รับ ก็มีแต่นรกให้คุณด่ำ
ดอกเอ๋ย เจ้าดอกเวรกรรม
อะไรๆ ก็ไม่อยากจะทำ
ขอแต่ให้ได้ด่ำนรกเอยฯ

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส (5)

อันความดี มีเสนียด ทีความเด่น
มันกลายเป็น จุดยื้อแย่ง แห่งพวกหา
คนบ้าดี เห็นคนเด่น เป็นเสี้ยนตา
คนฤษยา มุ่งย่ำยี คนดีเกิน

อีกทางหนึ่ง ซึ่งหลีก ไม่ค่อยไหว
ยิ่งดีไป ก็ยิ่งให้ คนสรรเสริญ
มีคนมา กราบไหว้ หรืออัญเชิญ
ไม่น่าเพลิน มันรบกวน ไม่ชวนสบาย,

เหตุดังนั้น ท่านสอน ให้หลีกหนี
พ้นความชั่ว ความดี สิ้นทั้งหลาย
หรือทำจิต ให้สนิท ดุจดั่งตาย-
จากดี-ชั่ว ทั้งหลาย : ได้นิพพาน ฯ

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส (4)

เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา
จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่
เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู
ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย

จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว
อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย
เหมือนเที่ยวหาหนวดเต่าตายเปล่าเลย
ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง

ไม่นานนัก จักมี ดีประดัง
จนกระทั่ง ถึงมี ดีอย่างยิ่ง
เมื่อพ้นดี จะถึงที่ นิพพานจริง
นับเป็นสิ่ง ควรฝึกแน่ มองแต่ดี

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส (3)

เขาจะดี กว่าเรา ช่วยเขาเถิด
มันจะเกิด ผลดี กว่าที่หวง
ไว้ดีเด่น แต่เรา เฝ้าประท้วง
โลกยิ่งกลวง จากความดี ดีอะไร

รีบช่วยให้ แต่ละคน ดีกว่าเรา
โลกจะเพรา เพริศพริ้ง และยิ่งใหญ่
ดาดด้วยธรรม อุปัททวะ ก็ละไกล
ริษยาใคร เท่ากับขุด โลกทรุดลง

จงเมตตา มุทิตา อารีเถิด
จะไม่เกิด กิเลสเผา เราเป็นผง
เห็นแก่โลก ยิ่งกว่าตน นั่นคนตรง
คนคดหลง ดีแต่ตัว มัวข่วคน

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส (2)

เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง

ถ้ารู้หยั่ง อดีต อนาคต
ปัจจุบัน จะถูกหมด สิ้นทั้งผอง
ยิ่งขันตี เมตตา มาประคอง
จะยิ่งมอง อย่างถูกควร ถ้วนทุกพันธุ์

ในโลกนี้ ไม่มี อะไรเที่ยง
เหมือนมันเหวี่ยง ซ้ายขวาเขว อยู่เหหัน
รู้จักหน่วง ถูกที่กลาง วางดุลย์พลัน
จะพ้นอัน ตรายรอด ตลอดไป

มองแต่แง่ดีเถิด ปฏิทินธรรม 2553 คำกลอนพุทธทาส

อย่าไปเสียเวลามองหาคนที่ไม่มีด้านเสีย เพราะไม่มีในโลกนี้

ถ้าทำอะไร ด้วยใจ ว่างจาก กู
แม่ด่าอยู่ ก็กลายเป็นเช่นคำสอน
ใครด่ามา กลายเป็นเย็น ไม่เป็นร้อน
ใครจะข้อน มาเท่าไร ไม่ถูกตนฯ

จึงไม่ต้องร้อนใจดั่งไฟผลาญ
ไม่เดือดพล่าน จุกแน่น แสนสับสน
ไม่กลุ้มใจ จนไม่กล้า ดูหน้าคน
ที่อลวน พัลวัน มันมี กู

แม้พากเพียร เรียนธรรม หรือพูดธรรม
เผยแผ่ธรรม ก็สูญเปล่า เอาข้างกู
ก่อนทำอะไร ให้นึกถาม บรมครู
อย่าอวดรู้ มัวแต่อ้าง แม่นางตนฯ

Method vs. Methodology

Methodology refers to more than a simple set of methods, rather it refers to the rationale and the philosophical assumptions that underlie a particular study. -- Wikipedia.org

ระดับความสำคัญของหัวข้อวิจัยที่เสนอ

  • ระดับ(อริยสัจสี่)ทุกข์ คือ ศึกษาสภาพปัญหาที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับทุนวิจัยน้อย
  • ระดับสมุทัย คือ ศึกษาสาเหตุของปัญหา จะได้รับทุนวิจัยมากกว่าหัวข้อวิจัยระดับทุกข์
  • ระดับนิโรธและมรรค คือ วิจัยวิธีแก้ปัญหา จะได้รับทุนวิจัยสูงสุด
--ศ.ดร.สุวิมล ว่องวานิช คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ

วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

นกที่เป็นสัญลักษณ์ของความรัก

คือนกเงือก เพราะทั้งชีวิตจะมีคู่เพียงตัวเดียวแม้คู่จะตายไปก็จะไม่มีคู่ใหม่อีก นอกจากนี้นกเงือกยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การเปิดหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยในไทย

พรบ การศึกษาแห่งชาติ ให้อำนาจสภามหาวิทยาลัยของแต่ละมหาวิทยาลัยในการอนุมัติหลักสูตรใหม่ในสถาบันตนได้ แต่ต้องให้ สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) รับทราบ มิเช่นนั้นบัณฑิตที่จบไปสมัครงานกับหน่วยงานราชการ, สภาวิชาชีพในแต่ละแขนงเช่น สภาการพยาบาล, สภาวิศวกร และ กพ.จะรับรองการเทียบวุฒิให้ไม่ได้ สามารถตรวจสอบการรับรองหลักสูตรของมหาลัยต่างๆ โดย สกอ ได้ที่ www.mua.go.th/knowing
--CUradio

บวชศีลจาริณี

คือการบวชด้วยการนุ่งขาว ใส่ขาว รักษาศีล ๘ รับประทานอาหารมังสะวิรัติ เพื่ออบรมธรรมะ และเจริญภาวนา สร้างบุญบารมี เป็นระยะเวลา ๗ วัน ๕ วัน ๓ วัน เป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Extreme Programming (XP)

A software development methodology which is intended to improve software quality and responsiveness to changing customer requirements. It advocates frequent "releases" in short development cycles, which is intended to improve productivity and introduce checkpoints where new customer requirements can be added.

Pros: In traditional system development methods (such as SSADM or the waterfall model) the requirements for the system are determined at the beginning of the development project and often fixed from that point on. This means that the cost of changing the requirements at a later stage (a common feature of software engineering projects) will be high. Like other agile software development methods, Extreme Programming attempts to reduce the cost of change by having multiple short development cycles, rather than one long one.

Cons: Critics have noted several potential drawbacks, including problems with unstable requirements, no documented compromises of user conflicts, and lack of an overall design spec or document.