วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

Undergrads VS Graduates

Undergrads คือผู้เสพปัญญาที่ผู้อื่นสร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ
Graduates สร้า้งปัญญาที่มีคุณค่าให้ผู้อื่นเสพ

วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2553

หัวข้อวิจัยมาจากไหน

ตามหลักอริยสัจสี่
  1. ทุกข์ คือ เห็นปัญหา เช่น คอมพิวเตอร์ที่ถือไปบรรยายหนัก
  2. สมุทัย คือ หาเหตุแห่งทุกข์ เช่น เพราะข้อมูลรวมทั้งโปรแกรมสำหรับสาธิตติดตั้งอยู่ในคอมพิวเตอร์หมดและมีขนาดใหญ่
  3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เช่น ควรสร้าง Personal Cloud จะได้ไม่ต้องถือคอมพิวเตอร์ และไม่ต้องคัดลอกไฟล์ใส่แฟลชเมมโมรี่ไปติดตั้งที่เครื่องคอมฯประำจำห้องเรียน
  4. มรรค คือ วิธีดับทุกข์ เช่น วิธีสร้าง Personal Cloud

งานวิจัย เป็นอย่างไร แบบไหนถึงเรียกว่าเป็นงานวิจัยได้

บางคนสับสนไม่มั่นใจว่าสิ่งที่จะทำถือเป็นงานวิจัยได้หรือไม่ หรือเป็นเพียงการประดิษฐ์ทั่วไป ก่อนอื่น ควรทำความเข้าใจกับภาพรวมของสิ่งที่คิดขึ้นใหม่ต่างๆ นั่นคือ นวัตกรรม

นวัตกรรม (Innovation) คือ ปัญญา (วิจัย) หรือความคิด (จากการประดิษฐ์ ไม่รวมงานวรรณกรรม) ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นนามธรรม (ได้แก่ กระบวนการ, ทฤษฎี, สูตร, ความจริง) หรือรูปธรรม (ได้แก่ Hardware, Software ซึ่งรับรู้ได้ผ่านอายตนะทั้ง 5 ยกเว้นใจ) มีความใหม่ (Novelty) ที่ระดับปัญญา(กรณีเป็นงานวิจัย)หรือที่ระดับความคิด(ในกรณีการประดิษฐ์) และมีคุณประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ (Economic Impact) หรือเชิงสังคม (Social Impact)




















งานวิจัย (Research) คือ การค้นคว้าหาปัญญาหรือความจริงใหม่ (Finding, Research Contribution) ในวงการ (Area of Research) ที่มีประโยชน์แก่มนุษย์และธรรมชาติอย่างตั้งใจและพยายามอย่างมีระบบแบบแผนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (ดังนั้นการค้นพบปัญญาหรือความจริงใหม่ของโลกโดยบังเิอิญโดยไม่ตั้งใจหรือพยายามใดๆ จึงไม่ถือเป็นการวิจัย) ปัญญาจะถูกพิจารณาว่าใหม่หรือไม่ต้องทำการสำรวจงานวิจัยที่มีอยู่ก่อน (Literature Review) ผลของงานวิจัยจะก่อให้เกิดวิวัฒนาการขององค์ความรู้ในวงการซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของมวลมนุษยชาติ (Body of Human's Knowledge) และสามารถนำมาสร้างขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตจริงได้ งานวิจัยถือเป็นนวัตกรรมเสมอ

สิ่งประดิษฐ์ (Invention) คือ การดัดแปลงประยุกต์ใช้ปัญญา (ผลของงานวิจัย) หรือการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในการสร้างผลลัพธ์ใหม่ที่ประกอบขึ้นจากวัตถุในทางรูปธรรมหรือนามธรรมที่มีอยู่แล้ว และเป็นผลลัพธ์ที่มีคุณภาพหรือประสิทธิภาพที่ดีขึ้นใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน งานประดิษฐ์ที่สามารถสร้างประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ก็สามารถขอตรวจสอบเพื่อจดสิทธิบัตร

เทคโนโลยี (Technology) คือ สิ่งที่สร้างขึ้นจากผลของงานวิจัย อาจเป็นรูปธรรม เช่น LCD, UML หรือนามธรรม เช่น Modulation technique หรือทั้งสองแบบ เช่น ระบบ 3G

-----
“การวิจัย” หมายความว่า การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลองอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ความรู้ใหม่ หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี แนวทางในการปฏิบัติเพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อสร้างนวัตกรรมอันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
“นวัตกรรม” หมายความว่า ผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์ บริการ กรรมวิธีที่เกี่ยวกับการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร ระบบบริหารจัดการ การบริหารการเงิน ธุรกิจ การตลาด หรือในการอื่นใด ทั้งนี้ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้ในวงกว้างทั้งในเชิงพาณิชย์และสาธารณะ
ที่มา : พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562

Computer Science VS. Computer Engineering VS. IT/ICT VS. IS

Computer Science Areas (B.Sc.)
  1. Theoretical computer science e.g. Mathematical logic Automata theory, Number theory, Graph theory, Type theory, Category theory, Computational geometry, Quantum computing theory
  2. Theory of computation e.g. computability theory, computational complexity theory
  3. Algorithms and data structures e.g. Analysis of algorithms, Algorithms, Data structures
  4. Programming methodology and languages e.g. Compilers, Programming languages
  5. Computer elements and architecture e.g. Digital logic, Microarchitecture, Multiprocessing
  6. Numerical and symbolic computation e.g. Bioinformatics, Cognitive Science, Computational chemistry, Computational neuroscience, Computational physics, Numerical algorithms, Symbolic mathematics
  7. Applied Computer Science e.g. Operating systems, Computer networks, Computer graphics, Computer vision, Databases, Information retrieval, Computer security, Artificial intelligence, Robotics Human–Computer interaction, Ubiquitous computing, Software engineering
Computer Engineering (B.Eng.)
AKA. Electronic and Computer Engineering , or Computer Systems Engineering, is a discipline that combines both Electronic Engineering and Computer Science. Computer engineers usually have training in electronic engineering, software design and hardware-software integration instead of only software engineering or electronic engineering. Computer engineers are involved in many aspects of computing, from the design of individual microprocessors, personal computers, and supercomputers, to circuit design. 

--Wikipedia.org

IT/ICT (B.Sc.)
= Computer science + Communication (telecommunication & data networking) + Management [+ E-Business]

IT, as an academic discipline, is concerned with issues related to advocating for users and meeting their needs within an organizational and societal context through the selection, creation, application, integration and administration of computing technologies. The academic discipline of IT include programming, networking, human-computer interaction, databases, multimedia and web systems.--Curriculum Guidelines by ACM-IEEE

IS (Info. System) --Curriculum Guidelines by ACM-IEEE
"Compared to IT, IS focuses on info aspect of IT. IT emphasizes on the technology itself more than on the info it conveys." A set of core courses common to all Information Systems programs. The seven core courses are:

1. Foundations of Information Systems
2. Data and Information Management
3. Enterprise Architecture
4. IT Infrastructure
5. IS Project Management
6. Systems Analysis and Design
7. IS Strategy, Management, and Acquisition

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

ตามกระแสตะวันตกตะวันออก

การตกเป็นทาสวัตถุนิยมเปรียบเหมือนว่ายน้ำตามฝรั่งไปยังอีกขอบฝั่งซึ่งเป็นกระแสตะวันตก พอถึงฝั่งนั้นพบว่าไม่มีอะไร ไม่สามารถตอบได้ว่าอะไรคือแก่นคือความสุขของชีวิต ฝรั่งจึงเริ่มว่ายมายังอีกขอบฝั่งตามกระแสตะวันออกเริ่มศึกษาหลักจิตวิญญาณของชาวตะวันออกกันมากขึ้น ส่วนเราก็ว่ายตามเขากลับมามองของดีใกล้ตัวที่มีมาตั้งนานแล้วแต่ไม่เห็นคุณค่า

การตามกระแสแบบผู้มีปัญญาคือต้องตามที่เหตุ ไม่ใช่ที่ผล เป็นนักทำเหตุไม่ใช่นักเสพผล ต้องต่อยอดจากความเจริญที่รับเข้ามาแต่ไม่จมอยู่กับความเจริญนั้น--ปอ ปยุตโต

ดาบกับฝักดาบ

ปัญญาทางโลกเหมือนดาบ
ปัญญาทางธรรมเหมือนฝักดาบ ช่วยควบคุมให้นำดาบไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ไม่ไปทำร้ายคนอื่น

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

นักศึกษาจบใหม่

ที่เรียนเก่งจบสถาบันมีชื่อ มักอยากแสดงออก แต่เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ อาจหุนหันพลันแล่นและผิดพลาดได้ง่าย จึงต้องมีหัวหน้ามีผู้มีประสบการณ์ช่วยควบคุมดูแล--หลวงพ่อสนอง วัดสังฆทานธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2553

ประกาศ กทช. เรื่อง การใช้ความถี่วิทยุสำหรับอุปกรณ์สื่อสารระยะสั้น ย่านความถี่ 5 GHz

มีใจความว่า 5GHz มี nonlicense freqnecy band ทำให้สามารถใช้ IEEE802.11n-2009 ที่ย่านความถี่ 5GHz ได้โดยไม่ต้องขอ license จาก กทช มีผลตั้งแต่ 3 สิงหาคม 2550 เป็นต้นไป (http://www.ntc.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=4069&Itemid=185)

IEEE 802.11n has been published officially.

  • Previous one mostly used on the market is Draft 2.0. 
  • On 29 October 2009, IEEE has published "IEEE Std 802.11n-2009". (http://ieeexplore.ieee.org/search/wrapper.jsp?arnumber=5307322)

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

นักคณิตศาสตร์การประกันภัย

  • ในต่างประเทศ เป็นอาชีพที่ติดอันดับต้นๆ เทียบเท่ากับหมอและทนายความ เนื่องจากบริษัทประกันในต่างประเทศเป็นแหล่งระดมเิงินที่ใหญ่กว่าธนาคารเสียอีก
  • คนญีปุ่นนิยมทำประกันบำนาญ ซึ่งบริษัทที่ให้บริการต้องรับภาระค่อนข้างสูงเนื่องจากชาวญีปุ่นอายุยืน
  • มหาวิทยาลัยจุฬาฯ กำลังเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์สาขาใหม่ นักคณิตศาสตร์ประกันภัย งานของอาชีพนี้คือการศึกษาสาเหตุและฤดูการของการเกิดความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมายเพื่อคำนวณเบี้ยประกันที่เหมาะสม เป็นต้น
--สถานีวิทยุจุฬาฯ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

วิสุงคามสีมา

วัดต้องมีพระอุโบสถ มีพระจำวัด และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจากทางราชการโดยประกาศลงราชกิจจานุเบกษา ถ้ายังไม่ได้รับพระราชทานจะเรียกว่า สำนักสงฆ์ ยังไม่ใช่วัดอย่างเป็นทางการ แต่ชาวบ้านจะนิยมเรียกว่า วัด หรือ วัดป่า เลย

วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

กาลามสูตร ๑๐

อย่าปลงใจเชื่อทันที
  1. ด้วยการฟังตามกันมา
  2. ด้วยการถือสืบๆ กันมา
  3. ด้วยการเล่าลือ
  4. ด้วยการอ้างตำรา
  5. ด้วยตรรก (คิดคำนวณด้วยการสุ่มเดา)
  6. ด้วยการอนุมาน (การคาดคะเนตามหลักเหตุผลแวดล้อม)
  7. ด้วยการตรึกตามอาการ (คำว่า ตรึก หมายถึงนึกขึ้นได้ ต่างกับคำว่า ตรอง ซึ่งหมายความว่าพิจารณา)
  8. เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
  9. เพราะมองเห็นผู้ถ่ายทอดมีรูปลักษณะน่าเชื่อถือ
  10. เพราะนับถือว่าท่านเป็นครูของเรา แต่ไม่ได้หมายความว่าให้รับฟังคำสอนของครู เพียงแต่ไม่ให้ปลงใจเชื่อก่อนน้อมนำคำสอนไปพิสูจน์ด้วยตนเอง
เมื่อได้รับคำสอนใดมา ให้พิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่าถ้าทำให้อกุศลเจริญ ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าทำให้กุศลเจริญ ก็ให้รับมาปฏิบัติต่อไป

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

บุญญกริยาวัตถุ 10 (สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ)

ข้อ ๔. อปจายนมัย อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรมรวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกันทั้งในความคิด ความเชื่อและวิถีปฏิบัติของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ บุคคลผู้ใหญ่ต้องมีคุณสมบัติอันดีทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้องและเราเคารพเพื่ออนุโมทนาในคุณงามความดีในทางโลกหรือทางธรรมอันถูกต้องของผู้นี้ การอ่อนน้อมถ่อมตนจัดเป็นบุญเพราะจิตใจไม่แข็งกระด้าง แต่การอ่อนน้อมนั้นต้องอ่อนน้อมต่อบุคคลที่ควรอ่อนน้อม ถ้าไปอ่อนน้อมหรือบูชาคนที่ไม่ควรบูชา ก็จะเกิดโทษแทนที่จะเกิดคุณ คนที่ควรอ่อนน้อมท่านเรียกว่า วุฑฒบุคคล ซึ่งมีอยู่ ๓ ประเภท คือ
๑.วัยวุฑฒะ คือ คนที่แก่กว่าเรา อายุมากกว่าเรา เช่น พี่ ป้า น้า อา ผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า
๒.ชาติวุฑฒะ คือ คนที่มีชาติกำเนิดสูงกว่าเรา คือ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา แม้จะมีอายุน้อยกว่าเรา แต่ชาติตระกูลสูงก็ควรแสดงความเคารพ เพราะเป็นไปเพื่อความเจริญ
๓.คุณวุฑฒะ คือ คนที่มีคุณธรรมสูงกว่าเรา เช่น พระภิกษุสามเณร แม้จะอายุน้อยกว่าเราก็ควรนอบน้อมถ่อมตนต่อท่าน เพราะท่านมีคุณธรรม คือศีลสูงกว่าเรา หรือคนที่มีบุญคุณต่อเรา เช่น พ่อแม่ หรือครูอาจารย์ เพราะท่านมีคุณต่อเรา หรือสังคม
การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อวุฑฒบุคคล ๓ ประเภทดังกล่าวมาแล้ว ด้วยการกราบไหว้ ลุกรับ หรือพูดจาแสดงสัมมาคาระวะ หรือให้เกียรติต่อท่านเป็นต้น จัดเป็นการทำบุญประการหนึ่งในพระพุทธศาสนา ย่อมได้รับความสุขความเจริญในชีวิตได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
   อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ
พร ๔ ประการ คือ อายุ ๑ ผิวพรรณผ่องใส ๑ การมีความสุขใจ ๑ การมีกำลังกายกำลังใจ ๑ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้มีการกราบไหว้เป็นปกติ ประพฤติน้อมน้อมต่อวุฑฒบุคคล (ผู้ใหญ่) อยู่เป็นนิตย์
คำอ่าน=อะ-ภิ-วา-ทะ-นะ-สี-ลิส-สะ-นิจ-จัง-วุฑ-ฒา-ปะ-จา-ยิ-โน-จัต-ตา-โร-ธัม-มา-วัฑ-ฒัน-ติ-อา-ยุ-วัณ-โณ--สุ-ขัง-พะ-ลัง ฯ


































สรุป ไหว้ผู้มีคุณธรรม(ศีล)สูงกว่าเรา ไหว้ผู้ใหญ่ในวงศ์ตระกูล ไหว้ครูอาจารย์ ไหว้ราชวงศ์ อ่อนน้อมต่อผู็้มีอายุมากกว่า เหล่านี้เป็นการอนุโมทนาคุณทางโลก(รวมทั้งบุญคุณ)หรือคุณทางธรรม ไม่สมควรไหว้หรือแสดงเคารพต่อบุคคลใดก็ตามที่รู้ชัดว่าไร้คุณธรรมและไม่เคยสร้างบุญคุณใดไว้กับเรา ผู้มีศีลน้อยกว่าควรเคารพผู้มีศีลมากกว่า ผู้มีศีลเท่ากันเช่นพระภิกษุจะเคารพกันที่จำนวนพรรษาของการอุปสมบท หรือระดับธรรมที่บรรลุ เช่น พระโสดาบันเคารพพระอรหันต์ซึ่งเคารพพระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นลำดับๆ

ข้อ ๕. เวยยาวัจจมัย หรือ ไวยาวัจจมัย ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกาย เพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้าน

ข้ออื่นๆ ได้แก่
๑.  ทานมัย บุญสำเร็จจากการให้วัตถุเพื่อสงเคราะห์หรือบูชาแก่ผู้อื่น องค์ทานที่จะทำนั้นต้องได้มาด้วยความบริสุทธิ์ องค์ทานนั้นต้องมีประโยชน์กับปฏิคาหกหรือผู้รับ ปฏิคาหกหรือผู้รับต้องเป็นบุคคลที่สมควร
๒.  ศีลมัย บุญสำเร็จจากการงดเว้นจากทุจริต หรือประพฤติสุจริตทางกาย  วาจา การกินอาหารต้องพิจารณาว่ากินเพื่อดำรงชีวิตอยู่ การแต่งกายต้องพิจารณาว่าแต่งกายเพื่อป้องกันอุณหภูมิร้อนเย็น และป้องกันความอุจาดลามก ที่อยู่อาศัยจะต้องพิจารณาว่าเพื่อป้องกันแดดป้องกันฝน การกินยารักษาโรคต้องพิจารณาว่าเพื่อบำบัดทุกขเวทนาให้ลดน้อยถอยลง
๓.  ภาวนามัย บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส (สมถภาวนา) และการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสทั้งปวง(วิปัสสนาภาวนา) ภาวนาควรถูกต้องในพระธรรมของพุทธศาสนา
๖.  ปัตติทานมัย บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว
๗.  ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จจากการยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว
๘.  ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จจากการฟังพระสัทธรรม
๙.  ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การกระทำความเห็นให้ตรงถูกต้องตามความเป็นจริง "ละความชั่ว ทำดี ทำใจให้บริสุทธิ์"

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ย่อสงเคราะห์ลงเหลือบุญกิริยาวัตถุ 3 คือ ทานมัย ศีลมัย และภาวนามัยเท่านั้นก็ได้ เพราะปัตติทานและปัตตานุโมนา  เกี่ยวข้องกับเรื่องของการให้ จึงสงเคราะห์เป็นทานมัย ส่วนอปจายนะและเวยยาวัจจะเกี่ยวข้องกับการประพฤติทางกาย วาจาจึงสงเคราะห์เป็นศีลมัย ธัมมัสสวนะ และธัมมเทสนาก็เป็นเหตุ ให้เกิดปัญญา จึงสงเคราะห์เป็นภาวนามัย  ส่วนทิฏฐุชุกรรมสงเคราะห์ ได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา เพราะเมื่อมีความเห็นตรง ย่อมเป็นปัจจัยให้กุศลขั้นอื่นเจริญไพบูลย์ และมีผลมีอานิสงส์มาก


เมื่อนักศึกษาเกิดวิกล

ความฉลาด ของคุณ เกินมากมี
จนใช้มัน ผิดที่ จึงมีเปล่า
ด้วยสร้างเรื่อง ยุ่งใจ ให้มิเบา
นี่คือเขลา เมาฉลาด อนาถใจ

รู้ธรรมชาติ ศาสตร ยังน้อยนัก
เกิดสำลัก ว่ารู้หมด มันคดใหญ่
คิดว่าถูก มันกลับบิด ผิดไปไกล
จากเท่าไร ไม่รู้โล่ง โปร่งกมล

มองผู้เฒ่า ว่าโง่เง่า เต่าล้านปี
เพราะดีกรี ไม่ประจักษ์ สักเส้นขน
ความฉลาด ของคุณกลับ สัปดน
ไปอลวน ทำแต่ที่ ผีโห่ฮาฯ
--พุทธทาส

การศึกษา ยุคใหม่

โลกยุคนี้ มีศึกษา กันท่าไหน
ยุวชน รุ่นใหม่ ได้คลุ้มคลั่ง
บ้างติดยา เสพติด เป็นติดตัง
บ้างก็ฝัง หัวสุม ลุ่มหลงกาม

บ้างดูหมิ่น พ่อแม่ ไม่มีคุณ
บ้างก็เห็น ว่าบุญ เป็นเรื่องพล่าม
บ้างลุ่มหลง เฟลิ๊ต-ฟรี เป็นดีงาม
บ้างประณาม ศาสนา ว่าบ้าบอ

บ้างไปเป็น ฮิปปี้ มีหลายชนิด
บ้างทวงอิส- ระพ้น จนเหลือขอ
บ้างที่มี ดีกรีมาก โฮกฮากพอ
โลกเราหนอ ให้ศึกษา กันเท่าไร?
--พุทธทาส

โลกรอด เพราะ กตัญญู

...
อนึ่งคน ต่อคน ทุกคนนี้
ล้วนแต่มี คุณต่อกัน นั้นลึกใหญ่
มองให้ดี ที่ความจริง สิ่งช่วยให้
โลกรอดได้ เพราะทุกหมู่ รู้คุณกัน
...
--พุทธทาส

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

ธรรมะสำหรับคู่สมรส

คู่สมรสที่เหมาะสมกันต้องมี ศรัทธา, ศีล, จาคะ (การเสียสละ) และปัญญาที่เสมอเหมือนกัน จึงอยู่กันยืด

วิบากกรรมระดับต่างๆ ของวิทยาทาน

  • ตอบอย่างเต็มใจเมื่อมีคนถาม: หากตอบให้กระจ่างเป็นที่เข้าใจได้ วิบากจะเป็นผู้มีปัญญาระดับแก้ข้อสงสัยให้ตนเองได้ เช่นเด็กที่เรียนสอบผ่านด้วยการอ่านหนังสือเอง ไม่ต้องให้ใครช่วย
  • พยายามสอนแม้ไม่มีคนถาม: คือเห็นใครกำลังเก้ๆกังๆก็อาสาเข้าไปช่วยเอง หรือเพื่อนๆขอให้ติววิชาก็ร่ายยาวแบบมีต้นมีปลายเรียบเรียงอย่างดี หากสอนจนวิชาความรู้เข้าไปอยู่ในหัวคนอื่นได้ ช่วยให้เขาสอบผ่าน หรือช่วยให้เขาประกอบวิชาชีพอย่างมีคุณภาพสูงขึ้น วิบากจะเป็นผู้มีปัญญาสว่างไสว แบบที่มักเรียกกันว่า ‘ไบรท์’ เป็นพิเศษ ประเภทท็อปวิชาต่างๆ หรือได้ที่หนึ่งเป็นประจำ
  • ชอบสอนให้จำ: ถ้าบังคับให้นักเรียนท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง วิบากจะเป็นผู้มีปัญญาแบบคิดอะไรชั้นเดียว จดจำแบบลอกตามคนอื่นอย่างเดียว ไม่กล้าคิดเองเพราะกลัวผิด แต่หากสอนให้จำแบบมีอุบายวิธีดีๆ วิบากจะเป็นผู้มีปัญญาแบบเรียนรู้ตามคนอื่นด้วยทางลัด
  • ชอบสอนให้คิด: คือนิยมให้องค์ความรู้ไปกว้างๆ แล้วสอนให้เชื่อมโยง สอนด้วยเจตนาจะจุดประกายความคิดใหม่ๆให้นักเรียน สอนให้คิดเองเป็น อย่างนี้วิบากจะเป็นผู้มีปัญญาแบบคิดอะไรได้ซับซ้อน มีไอเดียริเริ่มใหม่ๆได้ด้วยตนเอง เวลามองโลก เวลาคิดเกี่ยวกับโลก จะต่างจากคนอื่นอย่างเห็นได้ชัด
ระดับความกว้างของการเผยแพร่ความรู้ เช่น
  • ระดับครอบครัว: เช่นพ่อแม่สอนลูกๆ วิบากจะเป็นผู้ไม่ขาดแคลนผู้ให้ปัญญา ขอให้สังเกตเด็กบางคนที่น่าสงสาร ถามใครไม่ค่อยมีคนว่างให้คำตอบ หรือได้คำตอบที่ไม่จุใจ ไม่อิ่มในความรู้ อันนี้ก็มีกรณีที่เคยเป็นพ่อแม่คนแล้วไม่ค่อยอบรมเลี้ยงดู ไม่ค่อยเห็นความสำคัญในการให้คำตอบกับลูกๆ
  • ระดับโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย: คือครูบาอาจารย์นั่นเอง ถ้าหากมีเจตนาดี มีความหวังว่าจะให้วิชาเต็มกำลัง มีความกระตือรือร้นเสมอต้นเสมอปลาย สอนนักเรียนให้จบออกไปหลายต่อหลายรุ่น วิบากจะเป็นผู้มีบุคลิกทรงภูมิแบบคงแก่เรียน และหากในชาติที่เสวยวิบากนั้นไม่เป็นคนเหลวไหล ก็จะเป็นผู้มีปัญญาลึก มีปัญญากว้างขวาง รับรู้ได้มากกว่าคนธรรมดา คิดได้มากกว่าคนธรรมดา
  • ระดับประเทศ: อย่างเช่นวิทยากรรายการที่ให้ความรู้และมีคนติดตามดูด้วยความสนใจมากๆ หากมีวิธีพูดให้คนส่วนใหญ่เข้าอกเข้าใจ วิบากจะเป็นผู้มีสิทธิ์ชนะการแข่งขันระดับประเทศ อย่างเช่นเด็กที่สอบเอนทรานซ์ได้ที่หนึ่ง มีชื่อเสียงเป็นเกียรติประวัติ เป็นต้น
  • ระดับโลก: อย่างเช่นผู้ที่เขียนตำราเรียนซึ่งใช้กันหลายต่อหลายมหาวิทยาลัยของแทบทุกประเทศ วิบากจะเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลกบางอย่าง เช่นถ้าในชาติที่เสวยวิบากนั้นอยากทำงานวิจัยซึ่งต้องอาศัยปัญญาอันล้ำลึก ก็อาจมีคนเล็งเห็นประโยชน์และมอบรางวัลโนเบลให้ นอกจากนี้พวกนักวิทยาศาสตร์ที่เกิดมาอยากไขความลับของโลกและจักรวาลให้เป็นที่เปิดเผยกระจ่างแจ้งแก่ชาวโลก ก็มักได้เกิดใหม่มีนิสัยเดิมๆ อย่างเช่นนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบหลักความจริงอันยิ่งใหญ่ บางคนเกิดใหม่อีกทีพบความจริงยิ่งใหญ่กว่า และอาจหักล้างการค้นพบของตนเองในชาติก่อนก็ได้
วิทยาทานที่ให้เดี๋ยวเดียวกับให้ตลอดชีวิตนั้นต่างกัน ข้างต้นจะกล่าวเฉพาะวิทยาทานแบบที่ให้จนติดเป็นนิสัยไปตลอดชีวิต และจะได้รับผลของวิทยาทานในกาลต่อๆไปเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามระดับของตน

--"เสียดายคำตายไม่ได้อ่าน" ดังตฤณ

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

กฏแห่งกรรมและนรกสวรรค์เป็นกฎสากล

และมีเหมือนกันสำหรับทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น ถึงแม้มีศาสนาที่ต่างกัน หรือไม่มีศาสนาก็ตาม
อุปมาเหมือนเหล็กเผาไฟที่่ทุกคนบนโลกจับแล้วรู้สึกร้อนเหมือนกันฉันใด กฎแห่งกรรมก็บังคับใช้กับคนทุกคนเฉกเช่นเดียวกันฉันนั้น

มองทุกข์ให้เห็น จึงเป็นสุข

  • พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ว่าในโลกนี้ไม่มีความสุข มันมีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น พระพุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์เป็นเรื่องที่ดับได้และสอนวิธีดับทุกข์ อันนี้เป็นสัจจะ เป็นความจริงที่มีอยู่ในโลก
  • เราไม่ต้องการให้มันแก่มันก็แก่ ไม่ให้หายมันก็หาย อยากให้อยู่อย่างนั้น อยู่ๆ มันก็เสียไป แตกไป หายไป นี่เกิดความทุกข์เพราะเราไปคิดว่าสิ่งนั้นเป็นของเรา เกิดตัวกูของกูขึ้น เดิมมันก็เป็นทุกข์อยู่ตามสภาพอย่างหนึ่งแล้ว ไปยึดถือเข้าอีก เป็นทุกข์ซ้อนทุกข์
  • ผู้ไม่รู้ ไม่เข้าใจหลักแห่งความจริง เวลาพลัดพรากจากของรัก มองไปที่ที่มันเคยมี มันไม่มี ก็ทุกข์ เพราะไม่รู้ว่ามันต้องเป็นอย่างนั้น ธรรมดามันเป็นอย่างนั้น "ความไม่มี" มันเป็นของเดิม "ความมี" มันมาทีหลัง เราไม่ได้นึกว่าความไม่มีมันของเดิม แต่ไปนึกถึงความมีอยู่ตลอดเวลา ควรเขียนติดไว้ที่สิ่งของบ้างก็ได้ "วันนี้เจ้าอยู่กับฉัน พรุ่งนี้มันไม่แน่" วันไหนมันหายไป ก็พูดว่า กูว่าแล้ว ว่ามันจะหายสักวันหนึ่ง เตรียมตัวต้อนรับสถานการณ์ ว่ามันจะต้องหายสักวันหนึ่ง จะได้สบายใจ
  • ความทุกข์เป็นเหมือนน้ำร้อน เราคิดใ้ห้มันเป็นทุกข์ก็เหมือนเอาน้ำร้อนมาราดตัว เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น ให้พยายามคิดว่า "ดีแล้ว" "พอแล้ว" หรือ "เท่านี้ก็ดีถมไปแล้ว" อย่างนี้ก็สบายใจ ไม่ใช่พอได้ก็ดีใจเกิดใจฟูขึ้น พอไม่ได้ก็แฟบลงไป ควรทำความพอใจในสิ่งที่มันเกิดขึ้น นึกว่า "ธรรมดา...มันเป็นเช่นนั้นเอง" ตถตา แปลว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เมื่อรู้เท่าทันก็รู้จักวาง พักผ่อนทางใจ
--ปัญญานันทภิกขุ (ความสุขนิรันดร์)

ความสุข (ในการทำงาน)

  • ความสุขนั้นคือความพอใจ ถ้าความพอใจโง่ ก็สุขโง่ ความพอใจหลอกลวงก็สุขหลอกลวง ความพอใจแท้จริงก็สุขแท้จริง
  • ไอ้ความหวังนั้นน่ะ พอไปหวังเข้ามันก็ผิดหวังนะ ลองไปหวังอะไรเข้าสิ มันผิดหวังทันที มันไม่ได้ตามที่หวัง ก็คือไปหวังให้มันผิดหวัง ไปหวังให้มันโง่
  • ไม่้ต้องหวัง ทำ ทำ ทำ ทำให้ดีที่สุด ไม่ต้องหวัง นี่เรียกว่าศิลปะสูงสุด เป็นยอดของศิลปะแห่งการทำงาน
  • สันโดษ แปลว่า ยินดีด้วยสิ่งที่มีอยู่ การทำความยินดีด้วยสิ่งที่มีอยู่นั้นทำอย่างไร ขอยกตัวอย่างชาวนาคนหนึ่งขุดดินอยู่กลางแดดกลางฝนกลางยุงกลางริ้น ซึ่งเขาจะต้องขุดดินไม่น้อยกว่าหลายหมื่นหลายแสนครั้งกว่าจะเสร็จ เมื่อเขาขุดไปครั้งหนึ่ง ถ้าเขาเป็นคนสันโดษ เขาจะนึกว่ามันเสร็จไปครั้งหนึ่ง เขาอิ่มอกอิ่มใจในงานที่เสร็จไปหนึ่งครั้งในแสนครั้ง เมื่อขุดไปสองครั้ง เขาก็อิ่มใจว่าเสร็จไปสองครั้ง เช่นนี้เรื่อยไป พออกพอใจ ยินดีในงานที่ทำเสร็จไปเท่านั้น และอิ่มอกอิ่มใจยิ่งขึ้นทุกทีจนกว่าจะเสร็จ แต่ถ้าชาวนาไม่สันโดษ ขุดดินไปหนึ่งครั้งจะโมโหหนึ่งครั้ง เพราะว่ามันต้องขุดตั้งแสนครั้ง ความท้อใจเกิดขึ้นตั้งแต่ขุดดินครั้งแรก ขุดครั้งที่สองก็เกิดโมโหเพราะต้องขุดอีกตั้งแสนครั้ง ครั้งที่สามก็โมโหอีก เช่นนี้เรื่อยไป เขาจึงตกนรกทั้งเป็นโดยอาการโมโห โดยอาการไม่สมัครใจที่จะทำงาน ไม่ยินดีในงานของตนเท่าที่ตนทำอยู่หรือทำเสร็จแล้ว เขาก็จะหันเหทิ้งงานนั้นโดยง่าย เมื่อไปทำงานอย่างอื่นก็อย่างเดียวกันอีก ในที่สุดจะต้องเลิกทำงานหันไปเป็นขโมยแทน นี่คือโทษของการไม่มีสันโดษ
  • เศรษฐี หมายถึง ผู้ที่ประเสริญที่สุด กล่าวคือ ผลิตมาก กินแต่พอดี เหลือช่วยผู้อื่น
  • นรกที่แท้จริง คือความรู้สึกอิดหนาระอาใจตัวเองจนยกมือไหว้ตัวเองไม่ลง ตรงกันข้ามจากสวรรค์ คือความรู้สึกพอใจตัวเอง จนยกมือไหว้ตัวเองได้อย่างชื่นใจ ที่นี่และเดี๋ยวนี้
--พุทธทาสภิกขุ (หนังสือความสุขนิรันดร์)