วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของเทคโนโลยี Blog ที่ฉันได้รับ

  1. Make my memory persistent and ubiquitous. Blog serves as my KB (Knowledge Base).
  2. Well-organized presentation of Blog encourages my analysis thinkings for the purpose of personal memorizing and future reuses.

Twitter

The microblog "Twitter" relies on the paradigm of Publish/Subscribe middlewares I've researched before. The only difference is that subscribers can also reply to publishers.

In comparison to other existing messaging systems, Twitter appears to be a truly asynchronous messaging mechanism. Unlike MSN, enabling asynchrony at infrastructure level but, at user level, most MSN users don't behave asynchronously during conversion resulting in anxiety of getting immediate replies.

The current hype of Twitter results in my own one at http://twitter.com/teparit

Someone said Facebook and Twitter are becoming "social utility" (สาธารณูปโภคเชิงสังคม)... Probably like Coffee, a "working utility".

ปัจจัยแห่งทุกข์

"ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ล้วนเป็นปัจจัยแห่งทุกข์ หาได้มีปัจจัยแห่งสุขไม่" รับฟังจากสถานีวิทยุสังฆทานธรรม

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กัณฑ์เทศน์ อาสาฬหบูชา


พระธรรมเทศนาวันอาสาฬหปุรณมีบูชา
วันอังคารที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร
หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ได้สองเดือนก็ได้ทรงแสดงปฐมเทศนาเรียกว่า ธรรมจักรกัปวัตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าโดยมีเนื้อความโดยสังเขปดังต่อไปนี้
ส่วนที่สุดสองอย่างที่ควรเลี่ยงได้แก่ โลกียสุขหรือความสุขทางโลกและการปฏิบัติตนอย่างเคร่งเครียด ทรมาน สองสิ่งนี้ถือเป็นสุดโต่งอันนำมาซึ่งความทุกข์ วิธีการดับทุกข์คือการเดินทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปา วิธีการเดินทางสายกลางคือการปฏิบัติอริยมรรคมีองค์แปด อันได้แก่ ปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ) พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) ระลึกชอบ (สัมมาสติ) ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ) ซึ่งมรรคมีองค์แปดนี้สามารถจัดกลุ่มสรุปลงเป็นศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อให้นำไปเป็นหลักปฏิบัติได้โดยง่ายขึ้น ศีลคือการดับทุกข์ทางกายและวาจา สมาธิเป็นการดับทุกข์อย่างหยาบทางใจซึ่งสามารถกระทำได้หลายวิธีเช่นการกำหนดลมหายใจทำให้ใจหยุดคิดในเรื่องที่นำมาซึ่งความทุกข์ แต่การดับทุกข์อย่างละเอียดต้องอาศัยปัญญาซึ่งสร้างได้ด้วยการมีสติ (การระลึกรู้หรือการสามารถกำหนดรู้ได้) สัมปชัญญะ (การรู้ทัน รู้ตระหนักหลังจากกำหนดรู้ได้แล้ว) เพื่อเจริญอนุปัสสนา หรือการตามดูกายและใจของตนบ่อยๆ จนเกิดเป็นวิปัสสนาซึ่งจะก่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง มิใช่รู้จำ ตัวอย่างการรู้แจ้งเช่น คนเป็นสิ่งสมมติแท้จริงเกิดจากการประชุมกันของธาตุทั้งสี่และจะดับสลายไปในอนาคต ไม่มีอะไรเป็นของเราแม้แต่ร่างกายมิเช่นนั้นเราต้องสั่งให้ร่างกายเราไม่แก่ไม่ตายได้ ปัญญารู้แจ้งคือแจ้งในอริยสัจจสี่อันได้แก่ ทุกข์หรือความไม่สบายกายไม่สบายใจ สมุทัยหรือเหตุแห่งการเกิดทุกข์ซึ่งก็คือกิเลสอันได้แก่ ความอยากในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความอยากเป็นอยากมีเช่นอยากเป็นที่หนึ่งจึงอยากให้คนอื่นมาอิจฉาว่าเราเหนือกว่า ความไม่อยากเป็นไม่อยากมีเช่นอยากให้คนที่เราเกลียดตายไปจากโลก นิโรธหรือความดับทุกข์ซึ่งเราควรทำนิโรธให้ชัดแจ้งว่าทุกข์สามารถดับได้ มรรคคืออริยมรรคมีองค์แปดอันเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ดังได้กล่าวข้างต้น
หลังจากปัญจวัคคีย์ทั้งห้าได้ฟังพระธรรมเทศนาไปพร้อมๆ กับพิจารณาตนแล้ว พระโกญฑัญญะ จึงได้เป็นพระโสดาบัน* และได้ขออุปสมบทกับพระพุทธเจ้า (เอหิภิกขุอุปสัมปทา) ทำเกิดมีพระรัตนไตรครบสามองค์โดยสมบูรณ์กล่าวคือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์รูปแรกของโลก พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโดยสรุปว่าสิ่งใดมีการเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมจะดับไปเป็นธรรมดาและจักเป็นเช่นนี้ตลอดไป
* ค้นคว้าเพิ่มเติม :
พระอริยบุคคล มี 4 ระดับคือ 1. พระโสดาบัน หมายถึงท่านที่ได้ละกิเลสได้ 3 อย่าง คือ ก. สันกายทิฐิ หมายถึงความเห็นร่างกายของตนว่าเป็นตัวเป็นตน แต่ผู้ละกิเลสจะเห็นว่าเป็นเพียงรูปธรรม นามธรรม ที่ไม่ยับยั้ง เปลี่ยนแปลงและแตกสลายไปในที่สุด ข. วิจิกิฉา คือความสงสัยว่าบาปบุญและผลบาปบุญมีหรือไม่มี คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดามารดามีหรือไม่มีผู้ละกิเลสจะเชื่อว่าบาปบุญ คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คุณบิดา มารดามีจริง ค. ลีลัพพตปรามาส ได้แก่ ความเชื่องมงาย จะทำอะไรจะปฏิบัติอะไรก็งมงายตามคนอื่น โดยไม่รู้ความมุ่งหมายของการกระทำนั้น ผู้ละกิเลสย่อมเข้าใจแจ่มแจ้งในการกระทำนั้น 2. พระสกิทาคามี ได้แก่ท่านที่ละกิเลสทั้ง 3 อย่าง แลบรรเทากิเลสอีก 3 อย่าง คือ ราคะความรู้สึกทางเพศ โทสะความขุ่นเคือง และโมหะความหลงให้เบาบางลงไม่รักง่ายโกรธง่ายไม่หลงง่าย ความรู้สึกดังกล่าวยังคงมีอยู่แต่ไม่รุนแรง 3. พระอนาคามี ได้แก่ท่านที่ละกิเลส 3 อย่าง และตัดหรือละกิเลสได้อีก 2 อย่าง คือ ราคะความรู้สึกทางเพศ และโทสะความ ขุ่นเคือง อริยบุคคลชั้นที่ 1 ละ 2 ยังมีบุตรภรรยาได้ ถ้าเป็นหนุ่มสาว ก็ยังแต่งงานตามประเพณีได้ แต่ถ้าท่านผู้ใดได้สาเร็จขั้นอนาคามี จะเลิกยุ่งเกี่ยวกับทางเพศเด็ดขาด อนาคามี จึงยังมีกิเลสเหลืออยู่อย่างหนึ่งซึ่งยังละไม่ได้ คือ โมหะ 4. พระอรหันต์ คือท่านที่ละกิเลสทุกชนิดได้เด็ดขาด เช่นพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์ ทั้งหลาย พระอริยบุคคลทั้ง 4 อย่างนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นพระภิกษุแต่อย่างเดียว บุคคลธรรมดาก็สามารถเป็นอริยบุคคลได้ หากปฏิบัติได้ตามหลักดังกล่าว